พิธีสู่ขวัญ หรือบางครั้งอาจเรียกว่า “พิธีบายศรี” หรือ “บายศรีสู่ขวัญ” เป็นหนึ่งในประเพณีที่สำคัญและสืบทอดกันมาแต่ดั้งเดิมของชาวอีสาน ประเพณีสู่ขวัญนี้ มีให้เห็นกันแทบทุกโอกาส โดย
ชาวอีสานเชื่อว่าเป็นประเพณีเรียกขวัญให้มาอยู่กับตัวช่วยเรียกสิ่งที่ดีเข้ามา และปัดเป่าขจัดสิ่งที่ไม่ดีออกจากตัว พิธีสู่ขวัญ จึงเป็นได้ทั้งการแสดงความชื่นชมยินดี และเป็นการปลอบใจให้เจ้าของขวัญ
“ขวัญ” อีกความหมายหนึ่ง คือ ขน หรือผมที่ขึ้นเวียนเป็นก้นหอย พิธีสู่ขวัญเป็นพิธีเก่าแก่ของชาวไทย และมักพบบ่อยในแถบพื้นที่ภาคอีสาน โดยการทำพิธีสู่ขวัญอาจทำได้ถึง 2 วิธีพร้อมกัน คือวิธีทางพุทธศาสนาและวิธีทางพราหมณ์ โดยในพิธีจะมีองค์ประกอบสำคัญ คือ พาขวัญหรือพานบายศรี การสวดหรือการสูตรขวัญ การเชิญขวัญ การผูกแขนหรือข้อมือ เพื่อเป็นการให้ขวัญให้พร ตามความเชื่อทางประเพณีที่ศักดิ์สิทธิ์
ด้วยเหตุนี้ ภายหลังจากกรณีข้อถกเถียงเรื่องการก่อสร้างโรงงานน้ำตาลโครงการมิตรอำนาจเจริญและโรงไฟฟ้าชีวมวลจากชานอ้อยที่เป็นธุรกิจต่อเนื่อง เพราะมีทั้งกลุ่มคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยเป็นความเห็นต่างที่เกิดขึ้นภายในชุมชน เนื่องจากกังวลด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่อาจจะตามมา แต่หลังจากการหารือ ชี้แจงข้อมูลจนได้ข้อสรุป เกี่ยวกับการตั้งโรงงานน้ำตาลว่าเป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย รวมถึงการสื่อสารชี้แจง ทำความเข้าใจกับชุมชนด้วยข้อมูลที่ถูกต้องครอบคลุมทุกด้าน ตั้งแต่โอกาสทางเศรษฐกิจของชุมชนและรายได้ของครัวเรือนที่จะเพิ่มมากขึ้น เมื่อมีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มาก่อสร้างในพื้นที่ ดังนั้น เมื่อเกิดข้อสรุปที่มีความลงตัว ประเพณีการบายศรีสู่ขวัญ เพื่อเชื่อมความสุข ความสัมพันธ์อันดีจึงเกิดขึ้น ส่งผลให้เป็นศูนย์รวมของเกษตรกรที่เรียกขวัญและกำลังใจกลับคืนมาสู่คนในพื้นที่อีกครั้งหนึ่ง
พยอม สินวรณ์ ตัวแทนชาวไร่อ้อยจังหวัดอำนาจเจริญ เผยว่า “ดีใจมากที่ลูกชายได้กลับมาทำงานใกล้บ้าน เขาไม่ต้องออกไปลำบากนอกพื้นที่ให้คนที่บ้านต้องคอยเป็นห่วงแล้ว ทางโรงงานน้ำตาลฯ รับลูกชายเข้าทำงานตั้งแต่ยังก่อสร้างไม่เสร็จทุกวันนี้ครอบครัวเราได้กลับมาอยู่พร้อมหน้ากันอีกครั้ง ทำให้พ่อแก่แม่เฒ่าอย่างเราอบอุ่น และมีความสุขมาก ก็อยากให้โรงงานเขาสร้างเสร็จเร็วๆ ลูกหลานเราจะได้ไม่ต้องไปไหนไกล”
พุทธพงค์ สายชารี ชาวบ้านนาดอกไม้ติดกับบ้านน้ำปลีก จังหวัดอำนาจเจริญ กล่าวว่า “เคยไปดูงานที่โรงงานน้ำตาลจังหวัดกาฬสินธุ์และจังหวัดเลยในเครือกลุ่มมิตรผล ร่วมกับชุมชนในพื้นที่ ซึ่งเมื่อไปดูมาแล้วเราก็สบายใจ เห็นแล้วว่าโรงงานทุกวันนี้เขาพัฒนาไปมาก เขามีแผนการดำเนินงานตามขั้นตอน ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและชุมชน อะไรไม่ดีก็ยอมรับและปรับปรุงแก้ไขให้ไม่มีปัญหา เราเห็นแล้วก็อยากให้บ้านเราเจริญเหมือนกับจังหวัดที่ไปดูงานมา”
นับว่าเป็นนิมิตหมายที่ดีซึ่งจะเกิดขึ้นกับกลุ่มเกษตรกรชาวไร่อ้อยและชาวชุมชนในเขตจังหวัดอำนาจเจริญ-จังหวัดยโสธร ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นของขวัญ และกำลังใจ บนพื้นที่ที่ชาวบ้านเป็นเจ้าของ เพื่อวิถีชีวิตที่ดียิ่งกว่าเดิม
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี