วันพุธ ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
บทความพิเศษ : เดินหน้า‘กรมการขนส่งทางราง’

บทความพิเศษ : เดินหน้า‘กรมการขนส่งทางราง’

วันจันทร์ ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2562, 06.00 น.
Tag : กรมการขนส่งทางราง
  •  

เป็นหน่วยงานใหม่ที่ต้องจับตามองกับ กรมการขนส่งทางราง หลังจากเมื่อ 14 เม.ย. 2562 ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พ.ร.บ.ปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2562 โดยใน มาตรา 3 ระบุว่า ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (4/1) ของมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 “(4/1) กรมการขนส่งทางราง” นอกจากนี้ในมาตรา 4-6 มีสาระสำคัญว่าด้วยการโอนอำนาจหน้าที่ บุคลากร ทรัพย์สินและหนี้สินต่างๆ ของ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ที่เกี่ยวกับระบบราง ไปที่กรมการขนส่งทางราง

ที่มาที่ไปของกรมใหม่นี้ ท้าย พ.ร.บ.ระบุว่า “เนื่องจากการขนส่งทางรางมีบทบาทสำคัญกับการเชื่อมโยงระบบคมนาคมขนส่งของประเทศ แต่โดยที่การบริหารจัดการด้านการขนส่งทางรางของประเทศยังไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบ และยังไม่มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลให้ระบบขนส่งทางรางทั้งประเทศมีมาตรฐานเดียวกัน ดังนั้น เพื่อให้การเสนอแนะนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงานและการกำกับดูแลเป็นไปตามมาตรฐาน


รวมทั้งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางรางของประเทศให้สามารถแข่งขันและเชื่อมต่อกับการขนส่งรูปแบบอื่นและประเทศเพื่อนบ้านได้ สมควรยกฐานะสำนักงานโครงการพัฒนาระบบราง สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม โดยจัดตั้งเป็นกรมการขนส่งทางรางขึ้นในกระทรวงคมนาคม เพื่อให้การบริการจัดการด้านการขนส่งทางรางมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น”

ในเวลาต่อมา 28 พ.ค. 2562 สนข. ร่วมกับ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) จัดการประชุม “โครงการศึกษาระบบกำกับดูแลกิจการขนส่งทางรางสำหรับประเทศไทย เรื่อง บทบาทของกรมการขนส่งทางราง” ที่ รร.พูลแมน บางกอก คิง เพาเวอร์ ซอยรางน้ำ กรุงเทพฯ เกี่ยวกับ “(ร่าง) พ.ร.บ.การขนส่งทางราง พ.ศ. ...” ซึ่งทาง คณะกรรมการกฤษฎีกา กำลังพิจารณา โดยมีหลายประเด็น อาทิ

1.หน่วยงานผู้รับผิดชอบ ที่ผ่านมาการขนส่งระบบรางในประเทศไทยมีผู้เกี่ยวข้อง 2 หน่วยงานรัฐวิสาหกิจหลักคือ “การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)-การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)” นอกจากนี้บางส่วนยังเกี่ยวพันกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เช่น กรุงเทพมหานคร (กทม.) ที่มีรถไฟฟ้าของเอกชนอย่าง “บีทีเอส (BTS)” ให้บริการ ร่วมกับทั้งรถไฟฟ้า-รถไฟใต้ดินของ รฟม. “รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิ้งค์ (ARL)” และรถไฟของ ร.ฟ.ท. ซึ่งการกำหนดอัตราค่าโดยสารนั้นไม่อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน

2.กฎหมายเกี่ยวกับระบบขนส่งทางรางไม่มีการปรับปรุงแก้ไขมานานมาก ประเทศไทยนั้นมี พ.ร.บ.การจัดวางการรถไฟและทางหลวง พ.ศ.2464 ซึ่งกล่าวถึงข้อบังคับด้านการก่อสร้างและบำรุงทาง การบรรทุกสิ่งของความปลอดภัย และการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รถไฟ แต่ก็เป็นกฎหมายเก่าใช้มาแล้วถึง 98 ปี จึงต้องปรับแก้ให้สอดคล้องกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป

3.บทบาทหน้าที่ของกรมการขนส่งทางราง มีตั้งแต่ 3.1 เป็นเจ้าภาพวางแผนระบบขนส่งทางรางของประเทศไทย ทั้งโครงการที่รัฐส่วนกลางริเริ่มตั้งแต่การวางแผนพัฒนา การสำรวจพื้นที่ ศึกษาแนวทางพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงโครงการขนส่งทางรางที่ อปท. เสนอด้วย 3.2 ดูแลมาตรฐานความปลอดภัย ทั้งการก่อสร้างราง ตัวรถไฟที่นำมาให้บริการ พนักงานที่เกี่ยวข้อง เช่น คนขับรถไฟ และการประกอบกิจการของผู้ให้บริการ 3.3 ดูแลด้านอัตราค่าบริการต่างๆ เช่น ค่าขนส่ง ค่าโดยสาร ค่าใช้ประโยชน์จากรางและทรัพย์สินที่จำเป็น และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

3.4 กำกับดูแล ทั้งการอนุญาตโครงการที่เอกชนและ อปท. เสนอ ติดตามตรวจสอบการดำเนินงานของผู้ได้รับใบอนุญาต หน่วยงานของรัฐ รวมถึง อปท. และ 3.5 ประสานงาน ทั้งระหว่างหน่วยงานของรัฐ เพื่อให้เป็นไปตามแผนพัฒนาการขนส่งทางรางที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ และระหว่างหน่วยงานระบบรางในประเทศกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกันในต่างประเทศ รวมถึงส่งเสริมและสนับสนุนการประกอบกิจการขนส่งทางราง

4.ประเภทใบอนุญาต ร่างกฎหมายที่กำลังอยู่ในชั้นกฤษฎีกา แยกใบอนุญาตออกเป็น 3 ประเภทคือใบอนุญาตประกอบกิจการวางระบบราง ใบอนุญาตเดินรถ และใบอนุญาตทั้งวางระบบรางและเดินรถ 5.เปิดช่องให้ท้องถิ่นมีบทบาท เรียงตามลำดับคือท้องถิ่นเสนอโครงการต่ออธิบดีกรมการขนส่งทางราง จากนั้นกรมฯ ศึกษาโครงการ ส่งต่อไปให้คณะกรรมการนโยบายขนส่งทางราง หากได้รับการอนุมัติ ทางกรม จะมอบหมายให้คณะกรรมการจัดระบบจราจรทางบกดำเนินการ

โดยหลังจากนี้จะมีการรับฟังความคิดเห็นอีก 4 ครั้ง ในเดือนมิ.ย. 2562 1 ครั้ง เดือนก.ค. 2562 1 ครั้ง เดือน ก.ย. 2562 2 ครั้ง และเดือนพ.ย. 2562 1 ครั้ง รายงานการรับฟังความคิดเห็นจะแล้วเสร็จภายในเดือนมี.ค. 2563!!!

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

'แสน นากา'เผย'แม่ยังไม่รู้เรื่อง' เตรียมรวมญาติแจ้งข่าว'เสก'จำคุก กลัวแม่ช็อค!

เปิด 3 ปรากฏการณ์คดี‘ฮั้วสว.’ ลาก‘ภูมิใจไทย’เป็นหมู่บ้านกระสุนตก

ซุ่มยิงชุดคุ้มครองครู-นร. จนท.เจ็บ 1 นาย 'รพ.ยะลา'รับบริจาคเลือดช่วย อส.ที่ถูกยิง

สุดแปลก! แมวเปอร์เซียกาฟิว คลอดลูก 2 หัว แต่น่าเสียดายน้องตายแล้ว

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved