วันอังคาร ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
LIFE&HEALTH : ทำอย่างไรเมื่อลูกติดมือถือ

LIFE&HEALTH : ทำอย่างไรเมื่อลูกติดมือถือ

วันพุธ ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2562, 06.00 น.
Tag : ทำอย่างไรเมื่อลูกติดมือถือ
  •  

ในยุคที่โทรศัพท์มือถือหรือสมาร์ทโฟนได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันที่เป็นได้มากกว่าการติดต่อสื่อสาร ในยุคของโลกเทคโนโลยีและโซเชียลเนตเวิร์กนี้พ่อแม่ยุคใหม่หวังจะใช้แทนของเล่นหรือสื่อการเรียนรู้ให้ลูก ทำให้หลายๆ คนติดกันอย่างงอมแงมไม่ใช่เพียงผู้ใหญ่ แต่เด็กเล็กๆบางคน ที่มักหมกมุ่นอยู่กับการเล่นเกมหรือดูคลิปในยูทูบ รวมถึงใช้แอพพลิเคชั่นต่างๆ อย่างจดจ่อ และไม่สนใจสิ่งอื่นรอบตัว

ข้อมูลจาก รศ.พญ.ทิพวรรณหรรษคุณาชัย กุมารแพทย์ด้านพัฒนาการเด็ก เปิดเผยว่า แม้ว่าโทรศัพท์มือถือเหล่านี้สามารถให้ทั้งความรู้และความบันเทิง แต่หากปล่อยให้เด็กอยู่กับหน้าจอนานเกินไปจนกลายเป็นเด็กติดมือถือ หรือ โมโนโฟเบีย (Momophobia) ซึ่งไม่เพียงแต่จะส่งผลกระทบต่อการทำกิจวัตรประจำวันของเด็กเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อปัญหาสุขภาพ พัฒนาการ พฤติกรรมตามมาทั้งในระยะสั้นและระยะยาว


เช็คพฤติกรรมลูกติดสมาร์ทโฟน

ในฐานะพ่อแม่เคยเช็คพฤติกรรมลูกๆบ้างหรือไม่ ว่าเข้าข่าย “ติดจอเกินพอดี” ให้สังเกตว่าลูกๆ ของคุณมีอาการดังต่อไปนี้หรือไม่ เช่น หมกมุ่นอยู่กับสมาร์ทโฟน แท็บเลต วันละหลายๆ ชั่วโมงโดยไม่สนใจคนที่อยู่รอบข้าง แยกตัวจากสังคม เลิกทำกิจกรรมอื่นๆ ที่น่าสนใจ มีพฤติกรรมก้าวร้าวและไม่สามารถควบคุมตัวเองให้หยุดเล่นได้ หากไม่ได้เล่นก็จะกระวนกระวาย กระสับกระส่าย หงุดหงิดอารมณ์เสีย โมโหรุนแรง ทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น หรือมีอาการต่อต้านแบบอื่นๆ และต้องใช้เวลาเล่นมือถือนานขึ้นเรื่อยๆ จึงจะพอใจ ที่สำคัญคือมีพฤติกรรมแย่ลง

หากลูกติดมือถือส่งผลกระทบ

สุขภาพร่างกายและปัญหาการนอน สัญญาณมือถือเป็นคลื่นวิทยุ ซึ่งส่งผลสมองเด็กได้มากกว่าผู้ใหญ่ถึงร้อยละ 60 และ “อาจเป็นสารก่อมะเร็ง” ในสมองเด็กที่มีการเจริญพัฒนาอย่างรวดเร็ว แสงสว่างจากมือถือส่งผลกระทบต่อสารเมลาโทนิน ซึ่งทำให้มีปัญหานอนไม่หลับ เข้านอนไม่ตรงเวลาและระยะเวลาการนอนหลับไม่เพียงพอหากใช้มือถือในช่วงเวลาที่ควรนอนหลับพักผ่อน ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้และพฤติกรรมตามมา

ปัญหาการเจริญเติบโตไม่สมวัย อาจอ้วนเกินไปจากการรับประทานอาหาร เครื่องดื่มหรือขนมขบเคี้ยวไปเรื่อยๆ ขณะเล่นมือถือและขาดการออกกำลังกาย หรือผอมเกินไปจากการเล่นมือถือเพลินจนไม่มีเวลาหรือไม่อยากรับประทานอาหาร

พัฒนาการล่าช้า โดยเฉพาะปัญหาพัฒนาการด้านภาษาล่าช้าเนื่องจากมือถือเป็นการสื่อสารทางเดียว หรือพูดเลียนแบบภาษาการ์ตูน ขาดการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นทำให้มีปัญหาการปรับตัว โดยเฉพาะในเด็กอายุน้อยกว่า 6 ปี ขาดพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อและประสาทสัมผัส ซึ่งเกิดการเรียนรู้จากการทำกิจกรรมที่ต้องมีการเคลื่อนไหวอย่างคล่องแคล่ว ประสานกับประสาทสัมผัสด้านต่างๆ

ปัญหาพฤติกรรม ก้าวร้าว เอาแต่ใจตนเอง รอคอยไม่ได้เนื่องจากหน้าจอมือถือมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลาและตอบสนองอย่างรวดเร็ว แพ้ไม่เป็นจากการเล่นเกมที่ต้องการแต่จะเอาชนะด้วยคะแนนสูงๆ

ปัญหาการเรียน เมื่อลูกสนใจเนื้อหาความบันเทิงและใช้เวลากับมือถือมากกว่าความรับผิดชอบทำการบ้านหรือทบทวนบทเรียน ทำให้ผลการเรียนแย่ลง

5 เคล็ดลับหยุดลูกติดมือถือ

อย่าปล่อยให้ลูกติดมือถือแล้วค่อยแก้บอกเลยว่า “ยาก” เราจึงควรสร้างพฤติกรรมที่ช่วยให้ลูกไม่ติดมือถือจะดีกว่า เริ่มจาก...

กำหนดเวลาให้ชัดเจน เมื่อหมดเวลาที่ลูกจะดูหน้าจอได้แล้ว ลูกก็ต้องเลิกดู เลิกเล่นอย่างที่ตกลงกันไว้ เช่น ให้ลูกเล่นเกมหรืออินเตอร์เนตหลังจากทำการบ้านเสร็จเรียบร้อย ไม่อนุญาตให้นำโทรศัพท์ ไอแพด เข้านอน และกำหนดเวลาไม่ให้อยู่หน้าจอนานเกินไป อาทิ เล่นได้ไม่เกินวันละ 1 ชั่วโมง หรือในแต่ละวันลูกจะเล่นได้ช่วงไหนบ้าง ที่สำคัญคุณพ่อคุณแม่ต้องทำตามอย่างเคร่งครัดและยึดถือกับสิ่งที่ตกลงกันไว้ตั้งแต่แรก

พ่อแม่ควรเป็นแบบอย่างที่ดีการที่พ่อ-แม่จะเลี้ยงลูกให้ดีได้ในยุคดิจิทัล คุณควรมีวินัยในตัวเองก่อนหากคุณใช้สมาร์ทโฟนและแท็บเลตล่อตาล่อใจคุณลูกทุกวี่ทุกวัน เช่น เล่นโทรศัพท์จนดึกดื่นหามรุ่งหามค่ำ ติดเกมต่างๆ ให้ลูกเห็น นอกจากจะเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีให้แก่ลูกแล้ว ยังส่งทำให้คุณมีเวลาในการดูแลเอาใจใส่ลูกน้อยลงอีกด้วย

สอดส่อง..ดูแล คุณต้องทำหน้าที่เป็นเหมือนพี่เลี้ยงให้กับลูก โดยการสื่อสารพูดคุยกันจะได้ตามลูกให้ทันและรู้ว่ากิจกรรม online ของลูกมีอะไรบ้าง ขณะเดียวกันคุณควรเลือกสรรสิ่งที่ลูกจะดูหรือเล่น ว่าสิ่งไหนเหมาะและไม่ทำให้เกิดโทษ เช่น การดูยูทูบและเกมบางอย่างอาจไม่เหมาะสมกับการเรียนรู้ตามวัยของเด็กเนื่องจากมีถ้อยคำและภาพที่รุนแรง น่ากลัว เป็นต้น

เวลาของครอบครัว เชื่อไหมว่าการให้ลูกทำกิจกรรมอื่นร่วมกับคุณมีผลดีในระยะยาว คุณควรจัดตารางเวลาสำหรับการใช้เวลาร่วมกันกับลูก ได้พูดคุยกัน สร้างความรักความสัมพันธ์ในครอบครัว เช่น ไปออกกำลังกายด้วยกันทุกวันอาทิตย์ อ่านหนังสือให้ฟังก่อนนอน หรือใช้เวลาร่วมกันทำกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัย

จัดสมดุลของกิจกรรม ลูกควรได้เล่นและร่วมกิจกรรมที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ออกไปเล่นกลางแจ้งทำกิจกรรมตามวัย เช่น วาดรูป ระบายสีเล่นต่อภาพ รวมถึงการได้เล่นกับเด็กทั้งต่างวัยและวัยเดียวกัน เพื่อให้ลูกได้เรียนรู้การมีปฏิสัมพันธ์ การปรับตัวในสังคม มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่สมดุล

สำหรับเด็กแล้วเครื่องมือสื่อสารล้วนเป็นดาบสองคมซึ่งมีทั้งประโยชน์และโทษที่คาดไม่ถึง ก่อนจะยื่นสมาร์ทโฟน หรือแท็บเลตให้แก่ลูกจงคิดว่าลูกของคุณพร้อมที่จะใช้มันอย่างเหมาะสมหรือไม่ และหากคุณสามารถควบคุมดูแลและสอนให้เขาให้รู้จักแบ่งเวลาได้ เด็กก็จะเติบโตมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย พัฒนาการทางอารมณ์และจิตใจที่สมบูรณ์ต่อไป

ผศ.(พิเศษ)ดร.อภิสิทธิ์ ฉัตรทนานนท์

ประธานมูลนิธิคุณแม่คุณภาพ

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

‘แก้รธน.’ติดหล่ม!‘ศาลรัฐธรรมนูญ’รอความเห็นผู้เชี่ยวชาญ ก่อนวินิจฉัยปมทำ‘ประชามติ’

'ภูมิธรรม-ทวี'ลุ้นต่อ! ศาล รธน. รอความเห็น-เอกสาร กกต.ปม สว. ฟ้องแทรกแซงสอบฮั้ว

ย้ายค่ายเบอร์เดิม! 'ธีรศิลป์'เปิดตัวร่วมทัพแบงค็อก

'มดดำ คชาภา'โพสต์ซึ้งให้กำลังใจ'อุ๊งอิ๊งค์' ลั่นไม่ว่าเกิดอะไรขึ้นจะอยู่ข้างๆน้องเสมอ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved