วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
LIFE&HEALTH : ทำอย่างไรให้ลูกรักเป็น...เด็กสร้างสรรค์

LIFE&HEALTH : ทำอย่างไรให้ลูกรักเป็น...เด็กสร้างสรรค์

วันพุธ ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2562, 06.00 น.
Tag : LIFE&HEALTH
  •  

ในยุคที่สังคมไทยมีการแข่งขันที่สูงขึ้นโดยเฉพาะในเมืองใหญ่ต่างๆทำให้ใครๆ ก็อยากให้ลูกมีสุขภาพดีเติบโตแข็งแรงสมวัยรวมทั้งยังมีความฉลาดล้ำ มีความคิดสร้างสรรค์เป็นเลิศ ซึ่งว่ากันว่าความรู้และทักษะต่างๆ สามารถเรียนรู้ได้ส่วนความคิดสร้างสรรค์ของเด็กจะเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับพัฒนาการและการเจริญเติบโตทางสติปัญญา ทั้งนี้ต้องดูแลเรื่องอาหารและโภชนาการต่างๆให้หลากหลายในปริมาณเหมาะสมในแต่ละช่วงวัยตั้งแต่อยู่ในครรภ์จนเติบโตในแต่ละช่วงวัย

ข้อมูลจาก รศ.พญ.ทิพวรรณ หรรษคุณาชัย กุมารแพทย์ด้านพัฒนาการเด็ก เปิดเผยว่า ถ้าพ่อแม่อยากให้ลูกเป็นนักคิดซึ่งเป็นพื้นฐานของการเป็นเด็กฉลาด สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ด้วยตัวเองจะต้องรู้จักส่งเสริมและพัฒนาทักษะการคิดให้ลูกตั้งแต่เยาว์วัย เพราะการคิดเปรียบเสมือนแบบฝึกหัดหรืออาหารชนิดหนึ่งของสมองที่ยิ่งได้ใช้มากเท่าไร เส้นใยประสาทก็จะยิ่งเจริญเติบโตมีกระบวนการคิดวิเคราะห์ที่รวดเร็วและเต็มประสิทธิภาพ


ถึงเวลาแล้วที่คุณจะต้องเตรียมความพร้อมและฝึกฝนลูกให้เป็นนักคิดที่ดี ส่วนจะมีขั้นตอนและวิธีการอย่างไรบ้างนั้นเราไปเรียนรู้พร้อมๆ กัน

1.เปิดโอกาสให้ลูกได้คิดและตัดสินใจ

พื้นฐานสำคัญที่สุดในการสร้างลูกให้เป็น หนูน้อยสร้างสรรค์ คือการเปิดโอกาสให้ลูกได้ลองคิดและปล่อยให้เขาได้ทำสิ่งใหม่ๆ ที่ไม่เคยทำมาก่อนด้วยตนเอง โดยที่ไม่ได้ถูกบังคับหรือตีกรอบความคิดให้ต้องทำตาม ถือเป็นการกระตุ้นให้ลูกคิด กล้าแสดงออก และบ่มเพาะพลังแห่งการสร้างสรรค์ในตัวลูกได้เป็นอย่างดี แต่ทั้งนี้พ่อและแม่ต้องทำเพียงแค่ยืนอยู่ข้างๆ คอยให้คำปรึกษาเมื่อลูกต้องการเท่านั้น อย่าตำหนิ ลงโทษ หรือตัดสินผิดถูก เพราะจะทำให้ลูกกลัวผิด ไม่กล้าคิด ซึ่งเป็นการปิดกั้นจินตนาการของลูก เมื่อบรรยากาศการเรียนรู้เป็นไปอย่างอิสระ ลูกก็จะเป็นเด็กที่มั่นใจ กล้าวางแผน กล้าลงมือทำ และสนุกกับกิจกรรมนั้นมากขึ้น

2.เปลี่ยนข้อสงสัยเป็นคำตอบที่สร้างสรรค์

เมื่อลูกถึงวัยเป็นเจ้าหนูทำไม ถามทุกอย่างที่ขวางหน้า คุณควรถือโอกาสนี้ส่งเสริมการเรียนรู้ของลูกด้วยการตอบคำถาม และฝึกให้เขาต่อยอดความคิด ด้วยการปลูกฝังการเป็นเด็กช่างคิด ช่างสงสัย และรู้จักค้นหาคำตอบ เพื่อช่วยกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นให้เกิดเป็นความคิดที่สร้างสรรค์ โดยบางครั้งคุณอาจจะตั้งคำถามลูกกลับไปบ้าง หรือหากิจกรรมสนุกๆ ให้ลูกได้ต่อยอดความคิด เช่น การวาดรูป เพื่อต่อยอดคำถามให้ลูกได้เล่า ได้ลองแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ลูกก็จะได้เรียนรู้ว่าทุกคำถามมีคำตอบและภูมิใจที่ได้แสดงความคิดเห็นให้คุณฟัง

3.ต่อยอดความคิดจากสิ่งรอบตัว

พ่อและแม่สามารถกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ของลูกได้จากการพาเขาไปสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวที่หลากหลาย เช่น ไปสวนสัตว์ พิพิธภัณฑ์ ท่องเที่ยวตามธรรมชาติดูงานศิลปะ หรือเพียงแค่พาเขาออกไปเดินเล่นตามสวนสาธารณะ เพราะการเปลี่ยนสถานที่ทำกิจกรรมประจำวันนอกจากทำให้เขาได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ จากการสังเกต ซักถามในสิ่งที่สงสัยจนได้คำตอบแล้ว ยังสร้างแรงบันดาลใจให้ลูกรู้สึกตื่นเต้น อยากค้นหาและได้ประสบการณ์ที่แตกต่างมากขึ้นถือเป็นการฝึกจินตนาการและต่อยอดการเรียนรู้แบบไม่สิ้นสุด

4.ตั้งคำถามกระตุ้นจินตนาการ

พ่อแม่ต้องให้ความสำคัญกับการให้ลูกได้คิดเอง โดยการตั้งคำถามให้ลูกเกิดความอยากรู้ อยากเห็น และอยากค้นคว้าเพิ่มเติม โดยการใช้คำถามประเภท ทำไม? อย่างไร? ที่ไหน? เพื่อให้ลูกได้แสดงความคิดเห็นได้มากกว่าคำที่มีคำตอบเพียงแค่ถูกหรือผิด ใช่หรือไม่ใช่ เท่านั้น ถือเป็นการเปิดโอกาสให้ลูกได้สื่อออกมาถึงพลังความคิดและทักษะการแก้ปัญหา โดยการปล่อยให้ลูกได้ตอบคำถามและแสดงความคิดอย่างเต็มที่ อย่าปิดกั้นความคิด และรับฟังทุกคำตอบที่ลูกบอก โดยมีคุณเป็นผู้ให้ข้อมูลที่ถูกต้องเพิ่มเติม

5.ต้องได้ลองลงมือทำ

เพราะการเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือการลงมือปฏิบัติด้วยตัวเอง ดังนั้นนอกจากจะเปิดช่องให้ลูกได้คิดแล้ว พ่อแม่ควรเปิดโอกาสให้ลูกได้มีโอกาสลงมือทำสิ่งต่างๆ รวมถึงการเล่น หรือทำกิจกรรมใหม่ๆ อยู่ตลอด แม้จะต้องใช้เวลานานและไม่ตรงเป๊ะตามแบบที่มันควรจะเป็น แต่นั่นเป็นส่วนที่ทำให้ลูกคุณมีกระบวนการคิด การหาเหตุและผลกับสถานการณ์ตรงหน้า ซึ่งจะทำให้ลูกได้เรียนรู้และได้ประสบการณ์ที่แตกต่างมากขึ้น ในกรณีที่กิจกรรมนั้นไม่อาจทำให้สำเร็จได้ด้วยตนเองหรืออาจไม่ปลอดภัย คุณก็อาจคอยให้คำชี้แนะและดูแลอยู่ใกล้ๆ แต่ยังคงให้เขาได้ทำอย่างอิสระ ได้ลองผิดลองถูกและสนุกกับการเรียนรู้อย่างเต็มที่

6.ปล่อยให้คิดอย่างอิสระ

พ่อแม่ต้องสร้างบรรยากาศที่บ้านให้เอื้อต่อการเรียนรู้ หรือให้ลูกได้ช่วยออกแบบความคิดในการทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัวพร้อมลงมือทำด้วยกัน เช่น ให้ทุกวันหยุดมีช่วงเวลาของการวาดภาพ ปั้นแป้งโดว์ตามจินตนาการการทำอาหาร การปลูกต้นไม้ เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการเลือกกระทั่งลงมือทำสำเร็จ โดยไม่ต้องกดดันและมีข้อจำกัด หรือตีกรอบข้อบังคับ จะช่วยให้ลูกได้ฝึกคิดมีจินตนาการและดึงความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างอิสระ

นอกจากเคล็ดลับ 6 ข้อนี้แล้ว สิ่งที่พ่อแม่จะต้องหมั่นเติมเต็มให้ลูกอยู่เสมอก็คือ ความรัก ความเข้าใจ หมั่นชื่นชมและให้กำลังใจ เพื่อพัฒนาเขาสู่การเป็นนักคิดที่สร้างสรรค์ในอนาคต

ผศ.(พิเศษ)ดร.อภิสิทธิ์ ฉัตรทนานนท์

ประธานมูลนิธิคุณแม่คุณภาพ

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • LIFE & HEALTH : การดูแลเช็คสภาพรถยนต์ก่อนเดินทางไกลช่วงหยุดยาว LIFE & HEALTH : การดูแลเช็คสภาพรถยนต์ก่อนเดินทางไกลช่วงหยุดยาว
  • LIFE & HEALTH : เรียนรู้อันตรายจากการอดนอน..มีมากกว่าที่คิด LIFE & HEALTH : เรียนรู้อันตรายจากการอดนอน..มีมากกว่าที่คิด
  • LIFE & HEALTH : มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันในเด็ก...รักษาให้หายขาดได้ LIFE & HEALTH : มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันในเด็ก...รักษาให้หายขาดได้
  • LIFE & HEALTH : เรียนรู้..พฤติกรรมเสี่ยงในวัยรุ่น LIFE & HEALTH : เรียนรู้..พฤติกรรมเสี่ยงในวัยรุ่น
  • LIFE & HEALTH : รู้จักการผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจด้วยเทคนิคไม่ใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม LIFE & HEALTH : รู้จักการผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจด้วยเทคนิคไม่ใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม
  •  

Breaking News

มิตรภาพแน่นแฟ้น! 'ปูติน-สี จิ้นผิง'ร่วมชมขบวนพาเหรดวันแห่งชัยชนะ

อดทนต่อคำปรามาส! 'นิพิฏฐ์'ขอบคุณทุกฝ่าย ยืนหยัดต่อสู้'คดีชั้น 14'

มาแล้ว! กรมอุตุฯคาดหมายอากาศ 7 วันข้างหน้า ตั้งแต่ 9-15 พ.ค.68

(คลิป) แนวหน้าTAlk : 'กูพูดไม่ได้' ย้อนอดีตเพื่อนรัก สุรนันทน์ ถึง บุญทรง

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved