วันศุกร์ ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
ภัยเงียบ ‘กระดูกพรุน’ อันตรายกว่าที่คิด

ภัยเงียบ ‘กระดูกพรุน’ อันตรายกว่าที่คิด

วันพุธ ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2562, 06.00 น.
Tag :
  •  

โรคกระดูกพรุน กลายเป็นปัญหาที่นับวันจะเพิ่มมากขึ้น จากจำนวนประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น นับเป็นภัยเงียบอย่างแท้จริง เนื่องจากผู้ป่วยไม่รู้ว่าตัวเองมีภาวะกระดูกพรุน เพราะไม่พบว่ามีอาการใด ๆ จนกระทั่งล้มแล้วมีกระดูกหัก จึงรู้ว่าเป็นโรคกระดูกพรุน

นายแพทย์ประพันธ์ โกมลมาลย์  ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ เฉพาะทางด้านการบาดเจ็บของกระดูก ประจำโรงพยาบาลเวชธานี เผยว่า สาเหตุของโรคกระดูกพรุน เกิดจากการสูญเสียมวลกระดูก ทำให้กระดูกเสียคุณสมบัติการรับน้ำหนัก กระดูกเปราะ หักง่าย บางคนอาจตัวเตี้ยลงมากกว่า 2 ซม.ต่อปี เนื่องจากกระดูกสันหลังโปร่งบาง และยุบตัวลงช้าๆ หรือบางคนมีอาการปวดหลังจากการล้ม หรือยกของหนักที่น่าเป็นห่วง คือ ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนมีโอกาสเกิดกระดูกหักได้ง่ายกว่าคนทั่วไป เพียงแค่มีแรงกระแทกเบาๆ จากการบิดเอี้ยวตัวอย่างทันทีทันใด ไอ จาม สะบัดมือแรงแล้วข้อมือหัก หรือลื่นล้ม ทำให้กระดูกข้อมือ กระดูกสะโพก หรือกระดูกสันหลังหักได้ง่าย ก่อให้เกิดความพิการหรือทุพพลภาพตามมา และคุณภาพชีวิตที่ด้อยลง อาการที่พบได้คือ ปวดหลังซึ่งเกิดจากกระดูกบางมาเป็นเวลานาน อาการปวดจะรุนแรงมากขึ้นเมื่อมีกระดูกสันหลังยุบตัว และจะทำให้หลังค่อมและเตี้ยลงได้ นอกจากกระดูกสันหลังแล้วกระดูกอื่นๆ ที่ถูกทำลายมาก คือ ข้อมือและสะโพก ทั้งนี้ การเกิดกระดูกหักจากภาวะกระดูกพรุนครั้งแรกนั้น เป็นเพียงจุดเริ่มต้น ที่มีโอกาสสูงมากที่จะเกิดกระดูกหักครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 ตามมา นำมาซึ่งความพิการ และการเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป หากกระดูกสะโพกหักจากโรคกระดูกพรุน อาจส่งผลร้ายตามมา คือพิการถาวร หรือต้องใช้เครื่องช่วยพยุงในการเดิน และไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้เหมือนก่อนกระดูกหัก ดังนั้นกระดูกหักจากภาวะกระดูกพรุน มีอันตรายสูงมากดังนั้นควรป้องกัน และรักษาภาวะกระดูกพรุนทันทีเมื่อทราบ


อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงที่แก้ไขไม่ได้ คือ เพศหญิง เป็นโรคกระดูกพรุนมากกว่าและเร็วกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะเมื่อถึงวัยหมดประจำเดือน หรือต้องผ่าตัดรังไข่ออกทั้ง 2 ข้าง การสลายกระดูกจะเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากขาดฮอร์โมนเพศ จึงเริ่มสูญเสียมวลกระดูกอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้หญิงมีโอกาสเกิดกระดูกหักได้ถึง 40-50%โดยอายุมวลกระดูกของคนเราหนาแน่นที่สุดเมื่ออายุประมาณ 30 ปี หลังจากนั้นจะค่อยๆ ลดลงตามลำดับ และยิ่งอายุเพิ่มขึ้น ความเสี่ยงก็มากขึ้นตามไปด้วย และเมื่อหมดประจำเดือนจะมีการสลายของกระดูกมากถึงร้อยละ 3.5 ต่อปี ซึ่งส่วนใหญ่มักจะหมดประจำเดือนเมื่ออายุ 50 ปีขึ้นไป หรือที่เรียกว่าวัยทอง ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนน้อยลงทำให้เนื้อกระดูกเปราะบางมีผลทำให้กระดูกหักได้ง่ายๆ

นอกจากนี้ กรรมพันธุ์ ในครอบครัวที่พ่อหรือแม่มีโรคกระดูกพรุนแล้วมีกระดูกหัก ลูกจะมีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนแล้วกระดูกหักด้วย และเชื้อชาติ ชาวต่างชาติที่มีผิวขาวและคนเอเชียมีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนสูงมากกว่าเชื้อชาติผิวสีนอกจากนี้ การได้รับยาบางชนิด เป็นเวลานานทำให้มวลกระดูกบางลง เช่น กลุ่มยาสเตียรอยด์ในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์, ผู้ป่วยโรค SLE หรือโรคพุ่มพวงยาทดแทนไทรอยด์ ยาป้องกันการชัก และถ้าเคยกระดูกหัก โอกาสที่จะเกิดกระดูกหักเพิ่มสูงขึ้น

ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงที่แก้ไขได้ คือ แอลกอฮอล์ การดื่มเหล้า เบียร์ หรือแม้แต่ไวน์ในปริมาณมากกว่า 3 ยูนิตต่อวันทำให้มีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนเร็วขึ้นบุหรี่ สารพิษนิโคตินเป็นตัวทำลายเซลล์สร้างมวลกระดูกทำให้กระดูกบางลง คนที่ผอมเกินไป ค่าดัชนีมวลกายน้อยกว่า 20 จะเป็นโรคกระดูกพรุนมากกว่า และมีความเสี่ยงกระดูกหักเพิ่มขึ้น 2 เท่าของคนรูปร่างปกติ รวมทั้ง การรับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ นอกจากทำให้ร่างกายเสียสมดุลแล้วยังอาจขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อการสร้างมวลกระดูก โดยเฉพาะแคลเซียม วิตามินดี และโปรตีน หรือคนไม่ออกกำลังกายมีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนมากกว่าคนที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

อีกทั้ง การรับประทานอาหารถ้าได้รับเกลือมากกว่า 1 ช้อนชาต่อวัน ดื่มชากาแฟมากกว่า 3 แก้วต่อวัน น้ำอัดลมมากกว่า 4 กระป๋องต่อสัปดาห์ และทานโปรตีนมากกว่า 10-15% ในแต่ละมื้อของอาหาร มีความเสี่ยงกระดูกพรุนสูง เนื่องจากอาหารและเครื่องดื่มดังกล่าวจะขัดขวางการดูดซึมแคลเซียม ส่วนอาหารเค็มจัดและกาเฟอีนยังทำให้ร่างกายขับแคลเซียมมากขึ้นอีกด้วย และสุดท้ายคือ ความอ้วน น้ำหนักเยอะ ส่งผลให้เกิดแรงกระแทกเยอะ อีกทั้ง ไขมันไปขัดขวางการดูดซึมแคลเซียมไปหล่อเลี้ยงกระดูก

การป้องกัน คือ ผู้หญิงในวัยทองควรดูแลตัวเองให้มากกว่าปกติ ต้องลดความเครียด รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น ปลาตัวเล็กๆ ที่กินได้ทั้งตัว กุ้งแห้ง ถั่วแดง ผักคะน้า บร็อกโคลี่ งาดำ กะปิ นม เต้าหู้แข็ง ฯลฯ ซึ่งเป็นสารหลักในการสร้างเนื้อกระดูก ทั้งนี้ ผู้หญิงที่หมดประจำเดือน การเสริมแคลเซียมไม่ได้ช่วยให้กระดูกแข็งแรง แต่ช่วยยับยั้งการเสื่อมสลายของกระดูกเท่านั้น และควรกินแคลเซียมควบคู่กับวิตามินดีเสมอ (การกินแคลเซียมนานๆ อาจจะทำให้ท้องผูก) เพื่อช่วยในการดูดซึมได้ดีขึ้น โดยวิตามินดี มีส่วนช่วยในการดูดซึมแคลเซียม ร่างกายต้องการวิตามินดี วันละ 400-800 หน่วย ที่สำคัญควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ1 ชั่วโมงแต่ควรเลือกประเภทกีฬาที่เหมาะสม ถ้าเจ็บเข่าข้อเสื่อมก็อย่าวิ่งหนักๆ ให้ขี่จักรยาน เดินเบาๆ บนลู่วิ่ง หรือเดินเร็วรอบหมู่บ้านแทนเต้นรำ รวมทั้งรำมวยจีนก็เป็นกีฬาที่เหมาะสมกับผู้สูงวัย (ส่วนการว่ายน้ำไม่ได้ช่วยส่งเสริมสำหรับผู้ป่วยกระดูกพรุน) เพราะการออกกำลังกาย จะช่วยลดการสลายของแคลเซียมจากกระดูกได้ด้วย และช่วยรักษาสมดุลเรื่องการทรงตัวให้ดีขึ้น

นอกจากนี้ ควรงดการสูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และพยายามป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากการหกล้ม การป้องกันโรคกระดูกพรุนนั้นไม่ใช่เรื่องของผู้สูงอายุเท่านั้น แต่ต้องเริ่มตั้งแต่ช่วงที่ยังเด็ก เพื่อลดโอกาสเกิดโรคดังกล่าวในอนาคต

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • หยุดพัก เติมพลัง กับกิจกรรมสุดพิเศษ ‘Puppy Yoga’ ที่ ‘เดอะ ปาร์ค’ หยุดพัก เติมพลัง กับกิจกรรมสุดพิเศษ ‘Puppy Yoga’ ที่ ‘เดอะ ปาร์ค’
  • เดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ งามวงศ์วาน ตอกย้ำความเป็นไลฟ์สไตล์เดสทิเนชั่น เดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ งามวงศ์วาน ตอกย้ำความเป็นไลฟ์สไตล์เดสทิเนชั่น
  • “ไอคอนสยาม” จับมือ “บ้านเทพา” มอบสุดยอดประสบการณ์ไทยไฟน์ไดนิ่ง แคมเปญ “ICONSIAM Extraordinary Experience” “ไอคอนสยาม” จับมือ “บ้านเทพา” มอบสุดยอดประสบการณ์ไทยไฟน์ไดนิ่ง แคมเปญ “ICONSIAM Extraordinary Experience”
  • เต้นสะบัดบีท..ฉีดสลัดยุง ซอฟเฟลจัดกิจกรรม \'Soffell Cover DanceContest\' รณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก เต้นสะบัดบีท..ฉีดสลัดยุง ซอฟเฟลจัดกิจกรรม 'Soffell Cover DanceContest' รณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก
  • ป.ป.ส. ประกาศผลผู้ชนะระดับจังหวัด \'BE SMART SAY NO TO DRUGS\' ปีที่ 2 หนุนพลังเยาวชนสร้างสื่อ รู้เท่าทันยาเสพติด ป.ป.ส. ประกาศผลผู้ชนะระดับจังหวัด 'BE SMART SAY NO TO DRUGS' ปีที่ 2 หนุนพลังเยาวชนสร้างสื่อ รู้เท่าทันยาเสพติด
  • จากโลกที่หมุนเร็วสู่ความงามที่นิยามได้เอง วัตสันเปิดตัว #WatsOnYourMind จุดพักใจสำหรับคนยุคใหม่ จากโลกที่หมุนเร็วสู่ความงามที่นิยามได้เอง วัตสันเปิดตัว #WatsOnYourMind จุดพักใจสำหรับคนยุคใหม่
  •  

Breaking News

‘กสม.’ประณามกัมพูชาโจมตีพลเรือน-วอนทุกฝ่ายหยุดสร้างความเกลียดชังเชื้อชาติ

เรียลไทม์! รายงานเหตุสู้รบชายแดนไทย-กัมพูชา 9 จุดสำคัญ

ชาวบุรีรัมย์ผวา!! เร่งอพยพ หลัง'เขมร'ระดมยิงกระสุนปืนใหญ่ตกใส่แล้วกว่า 50 ลูก

ประณามไทย! วุฒิสภากัมพูชาออกแถลงการณ์ 6 ข้อ วอนนานาชาติช่วย

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved