เชฟอเล็กซ์ กอร์ดอร์น โลมาซ
หลายคนคงจะคุ้นชื่อกันมาบ้างแล้วกับ “คูลิเนอร์” หรือมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า โรงเรียนศิลปะการอาหารและผู้ประกอบการคูลิเนอร์ ที่ตั้งอยู่ ณ ห้างสรรพสินค้าเอ็มโพเรียม ย่านใจกลางธุรกิจ แต่หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่าที่โรงเรียนแห่งนี้ไม่ได้ให้ความสำคัญแต่เพียงเรื่องของการทำอาหารเท่านั้น หากแต่ยังมุ่งเน้นการมอบประสบการณ์ พัฒนา และสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านการทำอาหาร รวมถึงนักนวัตกรรุ่นใหม่และผู้ประกอบการคุณภาพเพื่อธุรกิจอาหารแห่งอนาคตให้แก่ตลาดเอเชียอีกด้วย
ทุกความสำเร็จมักจะมาจากการเริ่มต้นที่ดี แต่ใครจะช่วยประคองและแนะนำให้แต่ละก้าวในธุรกิจอาหารก้าวไปเป็นไปอย่างมั่นคงได้ หากไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ และเพื่อเป็นการทำความรู้จักสถาบันการศึกษาแห่งนี้ให้มากยิ่งขึ้นเรามาพูดคุยกับสองเชฟ สองสไตล์ จากครัวคูลิเนอร์ ที่พร้อมส่งมอบความรู้ ประสบการณ์ และอาวุธ หรือความเป็นมืออาชีพพร้อมใช้ให้กับนักเรียนทุกคนเพื่อให้ทุกก้าวเป็นก้าวไปสู่ความสำเร็จ
เชฟอเล็กซ์ กอร์ดอร์น โลมาซ หัวหน้าเชฟ (Executive Chef) เชฟใหญ่มาดคูล ที่ไม่เพียงแต่เชี่ยวชาญด้านการรังสรรค์อาหาร หากแต่ยังสนุกกับบทบาทผู้ถ่ายทอดความรู้เรื่องวิถีการปรุงอย่างยั่งยืนให้กับคนรุ่นใหม่ และ เชฟโทนี่ แอนโทนี บิชท์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้สอนอาวุโส (Senior Instructor) ลูกครึ่งไทย-อเมริกัน หนุ่มหล่อสายฟิล์ม ที่ผันตัวเข้าสู่วงการธุรกิจอาหารอย่างเต็มตัว หลังจากพบว่าตัวเองหลงเสน่ห์การทำอาหารหลังจากได้ลองเรียนทำอาหารครั้งแรก
เริ่มจาก เชฟอเล็กซ์ กอร์ดอร์น โลมาซ บอกว่า “ผมเติบโตและอาศัยในสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ผมชอบการค้นพบวัฒนธรรมใหม่ๆ รวมไปถึงการแสวงหาวัตถุดิบหลากหลายจากของแต่ละชนชาติ สิ่งเหล่านี้เป็นอิทธิพลที่ทำให้ผมมีความสนใจในการทำอาหารและอยากริเริ่มงานในสายอาชีพเชฟครับถ้ารวมแล้วปัจจุบันผมก็เป็นเชฟมาประมาณ21 ปีแล้ว และอาชีพเชฟเองก็ทำให้ผมได้มีประสบการณ์ที่หลากหลาย ผมเริ่มจากการเป็นเชฟอยู่ที่เมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา และ เมืองซานดิเอโก แคลิฟอร์เนีย จากนั้นก็ย้ายมาอยู่แถบมหาสมุทรแปซิฟิก อย่าง มุมไบ ภูเก็ต และเกาะสมุย เพราะหลงใหลในเสน่ห์ของวัตถุดิบเมืองร้อน และที่เมืองเหล่านี้เองที่ทำให้ผมมีประสบการณ์การรังสรรค์อาหารในหลายสถานที่ ทั้งในโรงแรม ร้านอาหาร สายการบิน และบนเรือสำราญ ในตอนนี้ก็รู้สึกว่าอยากที่จะถ่ายทอดประสบการณ์กับความรู้ของผมให้กับคนรุ่นใหม่และคนที่สนใจในการทำอาหาร”
ส่วน เชฟโทนี่ แอนโทนี บิชท์ เล่าถึงชีวิตการทำงานของตนเองว่า “ตอนแรกผมเรียน Filming and Directing แต่พอมีโอกาสได้มาลองเรียนทำอาหารที่ประเทศไทย ก็รู้สึกชอบ พอเรียนจบผมก็ตัดสินใจเป็นเชฟตั้งแต่นั้นมา ผมเริ่มจากตำแหน่งต้นๆ ก่อนจนไปถึง Executive Chef ในโรงแรมและร้านอาหารพอช่วงสิ้นปี 2560 ได้มีโอกาสร่วมงานกับโรงเรียนศิลปะการอาหาร และผู้ประกอบการคูลิเนอร์ โดยปัจจุบันผมสอน World Cuisine ซึ่งเป็นคอร์สระยะยาว และ Western and European Cuisine ซึ่งเป็นคอร์สระยะสั้น”
เชฟโทนี่ แอนโทนี บิชท์
เมื่อถามทั้งสองเชฟว่า อะไรคือการเป็นเชฟในความคิดของพวกเขา เชฟอเล็กซ์ เผยว่า การเป็นเชฟนั้นมีอะไรที่มากกว่าการทำอาหาร เพราะการเป็นเชฟจะสอนให้เราเป็นคนที่พร้อมเปิดรับสิ่งใหม่ๆ หรือมองหาความรู้ใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นทัศนคติที่จำเป็นมากสำหรับการเป็นเชฟ
“ธุรกิจอาหารมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เชฟจะต้องเรียนรู้จากผู้อื่นหรือหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ ทั้งจากผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมหรือธุรกิจอาหาร เพื่อนร่วมงาน หรือแม้กระทั่งความรู้ภายนอกห้องครัว สำหรับผม เชฟไม่ได้มีหน้าที่แค่การรังสรรค์อาหารและรสชาติที่อร่อยเพื่อสร้างความสุขให้แก่ผู้อื่นเพียงอย่างเดียว ผมมองว่าเราในฐานะผู้สร้าง ผู้รังสรรค์ เราต้องมีความตระหนักและมีความรับผิดชอบต่อทั้งผู้บริโภคในวงกว้างรวมไปถึงโลกเช่นเดียวกัน”
เชฟอเล็กซ์ กล่าวเสริมว่า “หลายคนคิดว่าการทำอาหารเป็นการสร้างขยะจำนวนมาก แต่สำหรับผม ทุกส่วนของวัตถุดิบล้วนสามารถนำมาปรับใช้ได้ โดยไม่ให้เหลือเป็นขยะ และยังเป็นการใช้วัตถุดิบให้คุ้มค่าที่สุด ผมพยายามปลูกฝังแนวคิดหรือวิถีการปรุงที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้กับนักเรียนทุกๆ คนเพื่อเป็นการเตรียมตัวให้กับพวกเขาในการเข้าสู่ยุคโลกไร้ขยะ ที่เริ่มมีการรณรงค์มากขึ้นในปัจจุบัน”
ขณะที่ เชฟโทนี่ ในฐานะคนรุ่นใหม่ เขาจึงมีมุมมองเสริมในเรื่องของความเป็นมืออาชีพว่า “แค่ไฟแรงอย่างเดียวอาจไม่พอ เพราะการเป็นเชฟ จะต้องมีทักษะประกอบกันหลายอย่าง ไม่ว่าเป็นทักษะการทำอาหาร ความคิดสร้างสรรค์ และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาหาร ธุรกิจอาหาร และผู้บริโภค เช่น การคิดเมนูอาหารในยุคนี้ จำเป็นต้องสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่หลากหลาย โดยเฉพาะเหล่าคนรุ่นใหม่ที่มีทางเลือกในการบริโภคที่หลากหลายขึ้น ดังนั้น เชฟรุ่นใหม่จึงจำเป็นต้องมีความเข้าใจคนรุ่นใหม่ด้วยกัน แต่ต้องไม่ลืมว่าอัตลักษณ์และความโดดเด่นของแต่ละเมนูก็ยังต้องคงอยู่”
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี