วันศุกร์ ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
แนวทางการรักษา ผมบางศีรษะล้านจากพันธุกรรม

แนวทางการรักษา ผมบางศีรษะล้านจากพันธุกรรม

วันพฤหัสบดี ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2563, 06.00 น.
Tag : ผมบางศีรษะล้าน พันธุกรรม
  •  

เรื่องของพันธุกรรมมีส่วนสำคัญกับความสัมพันธ์ในการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ซึ่งเรื่องของเส้นผมนั้นเป็นเรื่องของบุคลิกภาพทางสังคมและความรู้สึกทางอารมณ์ของตนเองและคนรอบข้าง ดังนั้นจึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่เราไม่ควรมองข้ามโดยเด็ดขาดเนื่องจากสามารถสร้างความวิตกจริต ความกังวล ความไม่มั่นใจในตนเองจนถึงขั้นเกิดภาวะความเครียดได้

รศ.ดร.พญ.รัชต์ธร ปัญจประทีป แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกผม กล่าวว่าโรคผมบาง ศีรษะล้านแบบพันธุกรรม(Androgenetic alopecia) เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยและบั่นทอนบุคลิกภาพรวมทั้งความมั่นใจของผู้ที่ประสบปัญหาเป็นอย่างยิ่ง เกิดจาก3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ 1.ฮอร์โมนเพศชายที่เพิ่มขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น โดยมีการสร้างฮอร์โมนชาย (testosterone) เพิ่มขึ้น ฮอร์โมนนี้จะเร่งให้เส้นผมบริเวณขมับและกลางกระหม่อมบางลง และมีอายุสั้นลง เส้นผมจะผลัดก่อนกำหนดบ่อยครั้ง2.พันธุกรรมซึ่งถ่ายทอดเป็นยีนเด่น ซึ่งพันธุกรรมอาจเป็นตัวกำหนดลักษณะของต่อมผม โดยพบว่าเซลล์รากผมบริเวณขมับและกลางกระหม่อมจะมีจำนวนตัวรับสำหรับฮอร์โมนชาย (androgen receptor)สูงกว่าผมบริเวณท้ายทอยถึง 1.5 เท่าทำให้เส้นผมเกิดการหลุดร่วงและบางลงตามลำดับ และ 3.อายุที่เพิ่มมากขึ้นและปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ จะร่วมกับภาวะที่มีการอักเสบของหนังศีรษะอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้มีผมร่วงมากขึ้นได้ เช่น ภาวะหนังศีรษะอักเสบจากเชื้อยีสต์ หรือแม้กระทั่งแสงแดดและความเครียด


โรคผมบางศีรษะล้านจากพันธุกรรมในผู้ชายผมร่วงจากพันธุกรรมนี้ จะมีลักษณะเริ่มจากมีการร่นของแนวผมด้านหน้าบริเวณขมับ 2 ข้าง ต่อมาจะลามไปยังบริเวณกลางกระหม่อม ถ้าโรคดำเนินต่อไป ผมจะบางทั่วๆ ศีรษะ ยกเว้นบริเวณชายผมด้านหลังและด้านข้างโดยในโรคนี้ผมจะร่วงโดยเฉลี่ยประมาณ 5% ต่อปี

รศ.ดร.พญ.รัชต์ธร ปัญจประทีป

ส่วนโรคผมบางจากพันธุกรรมในผู้หญิงจะแตกต่างกับผู้ชาย คือผู้หญิงผมจะบางอยู่ที่กลางกระหม่อม หรือบริเวณแสกของผมกลางของศีรษะ ในผู้หญิงบางรายอาจพบลักษณะของผมบางบริเวณด้านหน้า อย่างไรก็ตามความรุนแรงของโรคในผู้หญิงจะน้อยกว่าผมอาจบางลงแต่ไม่ถึงกับมีภาวะศีรษะล้าน

ในปัจจุบันการรักษาโรคนี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ 1.การรักษาด้วยยาโดยการรักษาด้วยยาจะมียา 2 ชนิด คือยาทา และยารับประทานที่ผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริกาให้นำมาใช้รักษาผู้ป่วยโรคผมบางศีรษะล้านแบบพันธุกรรมในเพศชาย โดยยาทาจะเป็นยาในกลุ่มhair growth stimulators (*) พบว่าหลังทานาน 4-6 เดือน ยาจะออกฤทธิ์กระตุ้นเส้นผมเดิมซึ่งมีขนาดเล็กให้มีความหนา ดำและยาวขึ้น ถ้าได้ผลดีจำเป็นต้องใช้ยาทารักษาไปตลอดชีวิตผลข้างเคียงพบได้น้อยอาจพบมีอาการแดงคัน ที่หนังศีรษะได้ ส่วนยารับประทาน เป็นยาในกลุ่มยับยั้งการทำงานของฮอร์โมนเพศชาย ซึ่งปัจจุบันเป็นยาที่ใช้รักษาโรคต่อมลูกหมากโต แต่ได้ผลดีในการรักษาโรคผมบางจากพันธุกรรมด้วยโดยยารับประทานชนิดนี้ จะทำหน้าที่ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ 5a-reductase ชนิดที่ 2 ทำให้ฮอร์โมนเพศชาย dihydrotestosterone(DHT) บริเวณหนังศีรษะและต่อมขนมีปริมาณลดลง สามารถลดการหลุดร่วง และเพิ่มจำนวนเส้นผมได้ โดยผมเพิ่มขึ้นชัดเจนหลังการรักษาใน 12 เดือน ผลข้างเคียงของยาพบได้น้อย พบมีความรู้สึกทางเพศลดลง พบร้อยละ 0.3-3 แต่ไม่มีผลต่อการสร้างสเปิร์มและยาไม่ผ่านไปยังน้ำเชื้อ ดังนั้นผู้ที่รับประทานยาจึงสามารถมีบุตรได้ เป็นยาที่ค่อนข้างปลอดภัยมาก ไม่มีผลต่อต้านกับยาอื่นไม่มีผลต่อการทำงานของตับ ไตไขกระดูก

สำหรับการรักษาในผู้หญิงมีเฉพาะยาเฉพาะทางเท่านั้นที่ได้รับการรับรองให้ใช้รักษาโรค ส่วนยาอื่นๆ ที่มีการนำมาใช้กัน ได้แก่กลุ่มต่อต้านฮอร์โมนเพศชาย(antiandrogen) ยาคุมกำเนิดบางชนิด และการให้ฮอร์โมนทดแทน

2.การรักษาด้วยการผ่าตัดปลูกย้ายเส้นผมหรือการผ่าตัดปลูกผม (hair transplantation) เป็นการผ่าตัดย้ายเซลล์รากผมจากบริเวณท้ายทอยและด้านข้างซึ่งเป็นรากผมที่แข็งแรงมายังตำแหน่งที่มีปัญหาผมบาง ศีรษะล้าน การผ่าตัดปลูกผมในปัจจุบันนี้ได้ผลดีและปลอดภัยมากขึ้น เนื่องจากเป็นการผ่าตัดเล็กผลของการรักษาผมที่ปลูกอยู่ถาวร และเป็นธรรมชาติ

ส่วนแนวทางการรักษาใหม่ๆ นั้นได้แก่การใช้แสงเลเซอร์ความเข้มข้นต่ำหรือการฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้น ได้ผลดีในคนไข้ที่ผมบางจากพันธุกรรมไม่รุนแรงมากนัก และผลการรักษามีความแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ปัจจุบันมีคนไข้ทั้งเพศชายและเพศหญิง เริ่มหันมาใส่ใจในการดูแลตนเองในเรื่องของผมบาง ศีรษะล้านมากขึ้น หากต้องการปรึกษาหรือรักษาแนะนำให้ไปพบแพทย์เฉพาะทางด้านเส้นผมจะดีที่สุด

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

เจดีย์อัฐิ ‘พระราชมนู’ ทหารเอกสมเด็จพระนเรศวรฯ ที่วัดช้าง จ.อ่างทอง

'อั๋น เจษฎา'ยื้อรักสุดใจผ่าน 'ห้ามไม่ไหว'เพลงของคนที่รู้ว่าเธอต้องไป แต่อยากขอโอกาสใหม่อีกครั้ง

'อีอึนแซม – เยริ'คัมแบ็คสู่สงครามแห่งชนชั้น ในซีรีส์มัธยมสุดแซ่บ

(คลิป) ‘ดร.เอ้’เปิดใจ! ลั่นเปลี่ยนเป้าเล่นการเมืองระดับประเทศ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved