อ.นพ.ธัชพงศ์ งามอุโฆษ
ท่ามกลางอุบัติการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ทั่วโลกต่างก็กำลังวิตกกังวลถึงปัญหาสุขภาวะอนามัยในสังคม ยังมีอีกหนึ่งภัยเงียบใกล้ตัวที่อาจกำลังคุกคามชีวิตพวกเราทุกคนโดยไม่รู้ตัว อย่าง “โรคหัวใจ” โรคไม่ติดต่อ ที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนในทุกขณะเวลา ซึ่งจากสถิติล่าสุดขององค์กรอนามัยโลก พบว่ามีตัวเลขผู้เสียชีวิตสูงถึง 17.9 ล้านรายต่อปี เป็นอันดับหนึ่งสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรโลกขณะที่ประเทศไทยเอง พบว่ามีอัตราตัวเลขการเสียชีวิตสูงกว่า 20,000 รายต่อปี หรือในทุกๆ หนึ่งชั่วโมงจะมีผู้เสียชีวิต ٢ คน
29 กันยายน ของทุกปีถูกกำหนดให้เป็นวันหัวใจโลก โดย สมาพันธ์หัวใจโลก เพื่อรณรงค์ให้ผู้คนทั่วโลกตระหนักถึงอันตรายของโรคหัวใจและหลอดเลือด มูลนิธิรามาธิบดีในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะองค์กรการกุศลหนึ่งในฟันเฟืองสำคัญในการสนับสนุนงานด้านการแพทย์และสาธารณสุข ที่อยู่เคียงข้างคนไทยมาอย่างยาวนาน ได้เผยถึงแง่มุมของอุบัติการณ์โรคหัวใจที่เกิดขึ้นกับคนไทย โดยเฉพาะโรคหัวใจเต้นระริก หรือภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ พร้อมเชิญชวนคนไทยทุกคนเป็นส่วนหนึ่งในการ “ให้… (กำลัง)ใจ” กันและกันในวันหัวใจโลกปีนี้
“โรคหัวใจ” เป็นคำจำกัดความที่ครอบคลุมถึงหลายภาวะและมีหลายชนิด ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ อาทิ โรคหัวใจขาดเลือด โรคลิ้นหัวใจผิดปกติ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เป็นต้น ซึ่งโรคหัวใจและหลอดเลือดเหล่านี้ มักมีความสัมพันธ์กับสาเหตุของการเกิดอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง และอัมพฤกษ์ อัมพาต อย่าง ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งจะนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลว ٥-٦ เท่า หลอดเลือดสมองอุดตัน ٢.٥-٣ เท่า และเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด ٢-٣ เท่า
พรรณสิรี คุณากรไพบูลย์ศิร
ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งกับหัวใจห้องบนและหัวใจห้องล่าง หากเกิดขึ้นกับหัวใจห้องล่าง คนไข้จะเสียชีวิตทันทีหรือที่เรียกกันทั่วไปว่าไหลตาย แต่ถ้าหากเกิดกับหัวใจห้องบน จะส่งผลให้หัวใจเต้นไม่สัมพันธ์กัน หรือเรียกว่า “โรคหัวใจเต้นระริก” ที่ผ่านมาโรงพยาบาลรามาธิบดีได้มีส่วนในการรณรงค์และผลักดันให้เกิดความรู้ความเข้าใจในโรคหัวใจเต้นระริกในสังคมไทยมาโดยตลอด เพราะโรคนี้สามารถป้องกันได้ หรือหากผู้ป่วยมาพบแพทย์ทันท่วงทีจะช่วยลดความเสี่ยงโรคอัมพฤกษ์อัมพาตเฉียบพลัน รวมถึงอัตราการพิการและเสียชีวิตได้
อาจารย์นายแพทย์ ธัชพงศ์ งามอุโฆษ สาขาวิชาโรคหัวใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ หัวหน้างานศูนย์รักษาหัวใจ หลอดเลือด และเมแทบอลิซึม คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และประธานองค์กรนานาชาติด้านโรคไฟฟ้าหัวใจ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ปี 2020 หรือ APHRS ได้อธิบายถึงเรื่องนี้ว่า “หัวใจเต้นระริก หรือภาวะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติของหัวใจห้องบน จะส่งผลให้เกิดลิ่มเลือด ซึ่งมีโอกาสที่จะหลุดออกจากหัวใจไปอุดกั้นหลอดเลือดสมอง นำมาซึ่งการเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หลายคนไม่รู้ว่าตัวเองมีอาการของโรคหัวใจเต้นระริก โรคประจำตัวบางชนิด หรือหลายพฤติกรรมเสี่ยงในชีวิตประจำ ก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหัวใจได้อย่างผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ผู้ที่มีภาวะไทรอยด์เป็นพิษ โรคไตเรื้อรัง โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น รวมถึงการสูบบุหรี่จัด ดื่มแอลกอฮอล์หรือเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนมากเกินไป รับประทานอาหารที่มีไขมันและคอเรสเตอรอลสูงเป็นประจำ หรือแม้กระทั่งความเครียด เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดหัวใจเต้นระริกและเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ ปัจจุบันภาวะหัวใจเต้นระริกสามารถรักษาได้ด้วยกันหลายวิธี แต่ทว่าผู้ป่วยส่วนมากมักไม่มีสัญาญณเตือนก่อน จึงมักจะมาพบแพทย์เมื่อช้าไป ดังนั้นควรหมั่นสังเกตตนเอง เช่น การเช็คชีพจรอย่างสม่ำเสมอ เป็นการตรวจตัวเองได้เบื้องต้น หรือการตรวจสุขภาพประจำปี ก็เป็นการป้องกันที่ดีที่สุด เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้”
แอพพลิเคชั่น Thai CV risk calculator
เพื่อส่งเสริมให้คนไทยทุกคนหมั่นดูแลสุขภาพของตนเอง และเข้าถึงการรักษาอย่างทันท่วงที สำหรับผู้ที่ต้องการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในเบื้องต้น สามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น Thai CV risk calculator บนระบบ iOs และ Andriod เพื่อให้ทราบถึงเปอร์เซ็นต์ความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตหรือเจ็บป่วยจากโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน และโรคเส้นเลือดสมองตีบตันในระยะเวลา ١٠ ปีข้างหน้า ได้ด้วยตนเอง ซึ่งแบบประเมินนี้ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างขึ้นเพื่อติดตามศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในประชากรไทยภายใต้โครงการศึกษาพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นระยะเวลายาวนานกว่า٢٠ ปี เพื่อคนไทยทุกคน ทั้งนี้ผลการประเมินที่ได้จากแอพพลิเคชั่นไม่สามารถใช้แทนการตัดสินใจของแพทย์ได้ เป็นเพียงการประเมินความเสี่ยงในเบื้องต้นเท่านั้น
นางสาวพรรณสิรี คุณากรไพบูลย์ศิริ ผู้จัดการมูลนิธิรามาธิบดีฯ หนึ่งในผู้ที่ทำงานใกล้ชิดกับผู้ป่วยและการแพทย์ไทยมากว่า 10 ปีกล่าวว่า เนื่องในโอกาสวันหัวใจโลกปีนี้ มูลนิธิรามาธิบดีฯนอกจากอยากให้ทุกคนดูแลรักษาสุขภาพกายใจของตนเองและคนรอบข้างให้แข็งแรงแล้ว ท่ามกลางสถานการณ์ที่ผันผวนเช่นนี้ ในฐานะตัวแทนของมูลนิธิ จึงอยากขอเชิญชวนทุกคนในสังคมร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการส่งต่อ “กำลังใจ” หยิบยื่นพลังบวกให้กันและกัน ร่วมสร้างและส่งต่อกำลังใจนี้ไปยังผู้ป่วยยากไร้ที่กำลังเฝ้ารอความหวังในการรักษา ที่ไม่เพียงจะมอบคุณค่าทางจิตใจอย่างมหาศาลให้ผู้รับ หากแต่ยังช่วยเติมเต็มความอบอุ่นในหัวใจของผู้ให้อีกด้วย
ผู้มีจิตศรัทธาสามารถร่วม ให้…(กำลัง)ใจ เป็นผู้ให้ที่ยิ่งใหญ่ในชีวิตผู้ป่วยยากไร้ ผ่านการร่วมสมทบทุนกับมูลนิธิรามาธิบดี ได้ที่ ชื่อบัญชี มูลนิธิรามาธิบดี ธนาคารกสิกรไทย บัญชีกระแสรายวัน เลขที่ 879-2-00448-3/ธนาคารไทยพาณิชย์ บัญชีกระแสรายวัน เลขที่ 026-3-05216-3/ธนาคารกรุงเทพ บัญชีกระแสรายวันเลขที่ 090-3-50015-5 บริจาคออนไลน์ www.ramafoundation.or.th สอบถามโทร.02-2011111 หรือสนับสนุนของที่ระลึกที่มีสัญลักษณ์หัวใจอินฟินิตี้ เส้นสายหัวใจสีแดงที่ต่อกันเป็นรูป “อินฟินิตี้” ที่ใช้สื่อถึงความหมายของ “คำว่า ไม่สิ้นสุด
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี