ไลก้า คิว2 โมโนโครม
เมื่อกล้องถ่ายรูปกลายเป็นสิ่งที่ต้องมีติดตัวประกอบกับฟังก์ชั่นและดีไซน์กล้องต่างถูกพัฒนาให้สอดคล้องกับ ไลฟ์สไตล์ยุคดิจิทัล ไลก้า คาเมร่า ไทยแลนด์ โดย ดนัย สรไกรกิติกูล จัดงานเปิดตัวกล้องไลก้ารุ่นใหม่ ไลก้า คิว2 โมโนโครม กล้องดิจิทัลคอมแพคแบบฟูลเฟรมเพียงหนึ่งเดียวของโลกที่มีเซ็นเซอร์โมโนโครม เพื่อให้เหล่าคนรักการถ่ายภาพได้สนุกกับการถ่ายภาพขาว-ดำโดยเฉพาะ ท่ามกลางบรรยากาศคึกคักไปกับเหล่าคนดังในแวดวงภาพถ่ายนำโดยไลก้า ไทยแลนด์ แอมบาสซาเดอร์ ตุลย์ หิรัญญลาวัลย์ และ วิรุนันท์ ชิตเดชะ พร้อมชมภาพถ่ายจากกล้อง Leica Q2 Monochrom โดยฝีมือ ฟิลิป ไวน์มันน์ ช่างภาพแนวสตรีท ชาวเยอรมัน ผู้ที่ได้ทดลองใช้ Leica Q2 Monochrom คนแรกของโลกณ โรงแรมอาศัย กรุงเทพ ไชน่าทาวน์ เมื่อวันก่อน
ดนัย สรไกรกิติกูล ผู้บริหาร ไลก้า คาเมร่า ไทยแลนด์ เผยว่า ไลก้า คิว2 โมโนโครม เป็นกล้องรุ่นล่าสุดของตระกูล Leica Q ความพิเศษของกล้องรุ่นนี้คือ เป็นกล้องดิจิทัลคอมแพคที่มาพร้อมเซ็นเซอร์โมโนโครมแบบฟูลเฟรมความละเอียด 47.3 ล้านพิกเซล ที่พัฒนาขึ้นใหม่สามารถบันทึกภาพนิ่งและวีดีโอระดับ 4K ที่มีรายละเอียดครบถ้วนได้ที่ความไวแสงสูงถึง ISO 100,000 มาพร้อมด้วยเลนส์ไพรม์ไวแสง Leica Summilux 28 mmf/1.7 ASPH. ช่วยรับประกันว่าจะได้ภาพที่มีคุณภาพสูงสุดแม้จะอยู่ในสภาพแสงที่ไม่เอื้ออำนวยก็ตาม รวมถึงระบบโฟกัสอัตโนมัติที่รวดเร็วแม่นยำ และเทคโนโลยีช่องมองภาพ OLED เรียกได้ว่ากล้องรุ่นใหม่นี้ไม่เพียงสานต่อคุณสมบัติด้านการใช้งานอันโดดเด่นของ Q2 เท่านั้น แต่ยังสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับคุณภาพในการถ่ายภาพขาว-ดำอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีกลไกบนตัวเลนส์สำหรับล็อกระบบโฟกัสเป็นแบบอัตโนมัติหรือปรับด้วยมือได้สะดวกรวดเร็ว และสามารถสลับเป็นโหมดมาโคร ที่มีระยะโฟกัสใกล้เพียง 17 ซม. ได้ง่าย เปิดโอกาสให้ช่างภาพมีอิสระเต็มที่ในการสร้างสรรค์ภาพถ่ายขาว-ดำให้ออกมาโดดเด่นสวยงาม รวมถึงการขยายช่วงซูมแบบดิจิทัลที่มีอยู่ในตัวให้เป็นสูงสุดที่ระยะ 75 มม. ช่วยให้จัดองค์ประกอบภาพได้ยืดหยุ่นยิ่งขึ้น
ฟิลิป ไวน์มันน์
กันต์ สุสังกรกาญจน์ หรือ “ครูกันต์”ช่างภาพผู้เชี่ยวชาญการถ่ายภาพขาว-ดําเบอร์ต้นๆ ของเมืองไทย กล่าวถึงเสน่ห์ของการถ่ายภาพขาว-ดำว่า จากจุดเริ่มต้นของการถ่ายภาพเมื่อ 400 ปีก่อน จากภาพขาว-ดำ สู่การพัฒนาเทคโนโลยีจนเกิดการถ่ายภาพสีขึ้นมา แต่ภาพขาว-ดำยังคงอยู่นั่นสะท้อนให้เห็นว่า ภาพขาว-ดำ คือ Timeless,Classic ส่วนตัวผมมองว่าภาพสีของแต่ละยุคเราดูแล้วทำให้รู้สึกว่า มันมีตัวบ่งบอกยุคสมัย บอกอายุของมันแต่พอไม่มีสีทำให้เราดูแล้วไม่เบื่อ ดูได้เรื่อยๆ มันข้ามยุคข้ามสมัย และด้วยน้ำหนักของโทนสีเทา การไล่โทนขาว เทา ดำ เล่าเรื่องได้เยอะ การที่มีแสงและเงามันทำให้มีมิติเกิดขึ้น และมิติเป็นตัวทำให้ภาพมีชีวิตชีวา แม้จะไร้สีสันแต่ก็ทำให้สัมผัสถึงความมีชีวิตอยู่ในนั้น ภาพขาว-ดำเสมือนความเรียบง่าย ที่สามารถอยู่กับเราได้ในทุกๆ ที่ ทุกเวลา
ด้าน ตุลย์ หิรัญญลาวัลย์ ไลก้าไทยแลนด์ แอมบาสซาเดอร์ เล่าว่า เรามักคุ้นชินกับภาพสีมาตลอดชีวิต แต่เมื่อไหร่ที่ได้เห็นภาพขาว-ดำ สิ่งที่มันเกิดขึ้นคือน้ำหนักของแสง โทนสีขาว เทา ดำ ถูกแทนที่ด้วยประสบการณ์ชีวิตของแต่ละคนที่มีการเห็นในน้ำหนักเทาอ่อนเราอาจจะนึกถึงสีที่มันอ่อนกว่า มันคือใบไม้อ่อนของต้นไม้หรือเปล่า หรือสีเทาเข้มมันคือใบไม้แก่เมื่อเห็นแตงโมที่ถ่ายด้วยภาพขาว-ดำ จะรู้ทันทีว่าเฉดเทาเข้มนั้นมันคือสีแดงของตัวเนื้อ สีเทาเข้มมากมันคือสีเปลือกของแตงโม สิ่งเหล่านี้สะท้อนถึงประสบการณ์ปัจจุบันที่ใส่เข้าไปในภาพถ่าย
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี