กองทัพอันเกรียงไกรไม่สามารถชนะศึกได้เพียงเพราะการมีแม่ทัพนายกองที่เก่งกาจและอาวุธที่มีประสิทธิภาพเท่านั้น แต่ต้องมี นายสิบ และพลทหาร ที่กล้าหาญและมีความสามารถในการรบอีกด้วย เช่นเดียวกับการต่อสู้ในสงครามโควิดของประเทศไทยที่ได้รับการยกย่องจากองค์การอนามัยโลกนั้น มิใช่เพียง แพทย์ พยาบาล ซึ่งอาจเปรียบกับนายพล และนายพันที่เป็นหัวหน้าหน่วยรบ แต่ยังต้องมีคนที่ทำหน้าที่คล้ายพลทหาร หรือกรรมกรในโรงงาน คือ คนงานพนักงานในสถานพยาบาล ตั้งแต่พนักงานขับรถคนเข็นเปลคนตรวจเชื้อ คนทำความสะอาดห้องน้ำ คนขนขยะอันตราย คนครัว ไปจนถึงคนที่ดูแลจัดการศพผู้เสียชีวิตที่ต้องเสี่ยงภัยจากเชื้อโรคอันร้ายแรงเท่าเทียมกัน
ผู้ที่เปรียบได้กับนายสิบทางทหารของไทย คือ อสม. หรืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจำนวนกว่าล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหญิง ที่คอยติดตามดูแลแจ้งข่าวสารด้านสุขภาพของประชาชนทุกหมู่บ้าน
พนักงานและเจ้าหน้าที่ระดับล่างเหล่านี้ ทำงานเสี่ยงชีวิตเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนยิ่งกว่าคนปิดทองหลังพระ บางคนซ่อนตัวอยู่หลังหน้ากากหรือชุดไอ้โม่งคลุมหัว ในห้องลึกลับ โดยผู้ป่วยไม่เคยเห็น ไม่รู้จัก ไม่ได้มีชื่อเสียงหรือออกข่าวทางโทรทัศน์หนังสือพิมพ์ แต่บุคคลดังกล่าว เป็นผู้ควรแก่การยกย่องสรรเสริญในสงครามโควิด ที่ต้องต่อสู้กับข้าศึกตัวจิ๋วชนิดมองด้วยตาเปล่าไม่เห็นแต่มีฤทธิร้ายกาจยิ่ง ในครั้งนี้
กองกำลังสำคัญของกองทัพสาธารณสุขไทย ที่เทียบได้กับนายสิบทางทหาร ในการต่อสู้สงครามโควิดครั้งนี้ คือ อสม. หรืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวนกว่าล้านคนที่เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่พ.ศ.2520 กระจายตัวอยู่ทุกหมู่บ้านของประเทศโดยมีเงินตอบแทนจากกระทรวงสาธารณสุขให้คนละ 1,500 บาทต่อเดือน อสม. ทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของชุมชน โดยอาสาสมัครที่ได้รับการคัดเลือกจากชาวบ้าน ผ่านกระบวนการอบรมให้ความรู้จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม. แต่ละคน จะดูแลประชาชนในละแวกใกล้เคียง 10-20 หลังคาเรือน คอยให้ความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพ การรักษาโรคง่ายๆ ช่วยงานโรงพยาบาลตำบล ดูแลผู้สูงอายุและผู้พิการที่บ้าน และการคุ้มครองผู้บริโภค
สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทย ทำให้ อสม. ต้องทำงานหนักมากขึ้นจากเดิม ทั้งการดูแลรักษา การตรวจหาเชื้อ(SWAB) งานทางระบาดวิทยา(การคัดกรอง,การเฝ้าระวัง,การป้องกันและควบคุมโรค,การสอบสวนโรค) งานอนามัยชุมชน( การตรวจเยี่ยมบ้าน/ตรวจสอบกลุ่มเสี่ยง การติดตามตรวจผู้ต้องสงสัยที่ถูกกักกัน14 วัน) งานส่งเสริมสุขภาพและการให้สุขศึกษา (การดูแลสุขภาพตนเอง การกินร้อน ช้อนส่วนตัว ล้างมือ แจกและสอนการใช้หน้ากากอนามัย การทำความสะอาดและการฆ่าเชื้อในแหล่งสัมผัสโรคหรือสัมผัสกลุ่มเสี่ยง การรณรงค์สร้างจิตสำนึกต่างๆ การส่งต่อผู้ป่วย) การเยียวยาและการฟื้นฟูสภาพ รวมทั้งการสื่อสารแจ้งข่าวข้อมูลสถานการณ์โรคที่ถูกต้องทันสมัยแก่ประชาชน
ในช่วงเดือนมีนาคม 2563 อสม.ไทยได้เดินทางไปเคาะประตูบ้านกว่า 8 ล้านหลังคาเรือน เพื่อแจ้งข่าวการแพร่ระบาด วิธีป้องกันโรคโควิดด้วยการเว้นระยะห่าง ล้างมือ ใส่หน้ากาก และหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีคนไปมาก แล้วติดตามด้วยการส่งข้อมูลผ่านโทรศัพท์มือถือเพื่อแจ้งข่าวว่าการแพร่ระบาดของโรคร้ายในบริเวณใกล้เคียงอยู่ที่ใดบ้าง
นางสุรินทร์ มากระดี อายุ 77 ปี เป็น อสม.จังหวัดอ่างทองมา 38 ปีแล้ว กิจวัตรประจำวันของเธอคือขี่จักรยานยนต์ไปเยี่ยมบ้านทีละหลังในความรับผิดชอบ เพื่อตรวจวัดอุณหภูมิ และคอยเตือนให้คนในหมู่บ้านที่กลับมาจากจังหวัดอื่นหรือต่างประเทศต้องกักตัว 14 วัน นอกจากคอยวัดอุณหภูมิแล้ว อสม.ยังรวบรวมประวัติผู้ป่วยและข้อมูลต่างๆ คอยเฝ้าระวังการระบาดในวงกว้าง คุณยายสุรินทร์บอกว่า “ฉันมองว่าคนในหมู่บ้านเป็นครอบครัวของฉัน อยู่ในบ้านของฉัน ถ้าฉันไม่สอนวิธีปฏิบัติตัว พวกเขาก็จะไม่รู้ว่าตัวเองอาจจะเสี่ยงติดโรคกันได้ คนที่กลับมาจากที่อื่นก็ต้องกักตัวแยกจากคนในบ้านด้วย”
เครือข่ายอสม.ใหญ่ครอบคลุมทั้งประเทศ มีสมาชิกมากกว่า 1,000,000 คน องค์การอนามัยโลก (WHO) ยกย่องว่าอสม.คือมดงานผู้ปิดทองหลังพระ คอยควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด เฝ้าระวัง และรายงานการติดเชื้อ”
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตั้งขึ้นในปี 2520 โดยนายแพทย์อมร นนทสุต อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข ผู้วางรากฐานการสาธารณสุขมูลฐาน ในพื้นที่ห่างไกลความเจริญ ไม่สามารถเข้าถึงระบบสาธารณสุขทางการเช่น โรงพยาบาล หรือสถานีอนามัย ระยะแรกทดลองใน 20 จังหวัด ปรากฏว่าให้ผลตอบรับดี จึงทำต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน อสม.เป็นเหมือนคนเฝ้าประตูเข้าหมู่บ้าน คอยช่วยดูแลเรื่องสุขอนามัยพื้นฐาน มีบทบาทสำคัญมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีปัจจัยและทรัพยากรทางสาธารณสุขจำกัด ช่วยควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรค
อสม.มีผลงานป้องปรามโรคระบาดมาหลายครั้ง ทั้งไข้หวัดนก ไข้เลือดออก จนกระทั่งโควิด-19
เมื่อเกิดวิกฤติการณ์โควิดระบาดทั่วโลกใน พ.ศ. 2563 ทำให้เกิดความต้องการเครื่องช่วยหายใจเพื่อต่อชีวิตผู้ป่วยโควิดจำนวนมากอย่างฉับพลัน ดังนั้นบริษัท
การต่อสู้รับมือกับโรคโควิดที่สมุทรสาครนั้น ได้อาศัยกำลังของบุคลากรการแพทย์จากหลายหน่วยงาน ทีมงานหนึ่งที่มีบทบาทและทำงานอย่างแข็งขัน น่ายกย่องชมเชยยิ่งคื
การตรวจดูแลรักษาผู้ติดเชื้อโควิดนั้น บุคลากรการแพทย์ทั้งหลายจะต้องแต่งกายด้วยชุดคลุมหัวใส่ถุงมือถุงเท้าคล้ายมนุษย์อวกาศ ที่เรียกว่า PPE(Personal
เมื่อภัยอันตรายจากโควิดบุกเข้ามายังประเทศไทย หน่วยงานต่างๆก็พยายามค้นหาอุปกรณ์และวิธีการป้องกันรักษาโรคร้ายอย่างเต็มที่ รวมทั้งโรงพยาบาลรามาธิบดี
กองทัพอันเกรียงไกรไม่สามารถชนะศึกได้เพียงเพราะการมีแม่ทัพนายกองที่เก่งกาจและอาวุธที่มีประสิทธิภาพเท่านั้น แต่ต้องมี นายสิบ และพลทหาร ที่กล้าหาญและมีความสามาร
เมืองไทยเป็นที่เดียวในโลกที่ใช้เมล็ดผักพระราชทานสู้กับโควิด ในยามที่โควิดบุกเข้าโจมตีทั่วไทย การปลูกผักกินเอง เป็นทางหนึ่งที
การป้องกันรักษาการระบาดของโควิดในจังหวัดสมุทรสาครมีความยากลำบากซับซ้อนมากกว่าในชุมชนทั่วไปในประเทศไทย เพราะบุคคลที่ติดเชื้อและเป็นกลุ่มเสี่ยงนั้น
ในประเทศจีนนั้น ประชาชนถูกจำกัดสิทธิในการพูดในที่สาธารณะ สื่อมวลชนและสื่อออนไลน์ ถูกควบคุมการเสนอข่าวโดยรัฐบาล สื่อมวลชนจีน ได้ยกย่อง ดร. หลี
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี