วันพุธ ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
โควิดระบาดใหญ่ในชุมชนคลองเตย : อาทร จันทวิมล

โควิดระบาดใหญ่ในชุมชนคลองเตย : อาทร จันทวิมล

วันพุธ ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2564, 18.09 น.
Tag : โควิดระบาดใหญ่ ชุมชนคลองเตย อาทร จันทวิมล
  •  

ต้นเดือนพฤษภาคม 2564  คนไทยในกรุงเทพฯ ต้องตกใจใหญ่อีกครั้ง เมื่อได้ข่าวว่ามีโรคโควิดระบาดหนักในชุมชนแออัดคลองเตย  ซึ่งมีคนยากจนกลุ่มใหญ่ราวแสนคนอาศัยอยู่บริเวณใจกลางเมืองหลวง  โดยผู้ติดเชื้อไม่สามารถกักตัวที่บ้านอันคับแคบได้  โรคร้ายอาจระบาดต่อไปยังชุมชนแออัดอีกกว่า 680 แห่งในกรุงเทพมหานคร  ซึ่งมีประชากรกว่า 6 แสนคนและอาจระบาดไปตามห้างสรรพสินค้าใกล้เคียง เช่น เอ็มโพเรี่ยม  เอ็มควอเทียร แม็คโคร โลตัส บิ๊กซี  รวมทั้งสปอร์ตคลับและโปโลคลับ เพราะพนักงานจำนวนมากพักอยู่ในย่านคลองเตย ปทุมวัน และบ่อนไก่

ตัวอย่างชุมชนแออัดในกรุงเทพมหานครที่น่าเป็นห่วงต่อการระบาดของโรคโควิด  คือ  เขตปทุมวัน (ชุมชนพัฒนาบ่อนไก่ ชุมชนเคหะบ่อนไก่ ชุมชนโปโล  ชุมชนพระเจน  ชุมชนร่วมฤดี ชุมชนกุหลาบแดง)   เขตดุสิต  (ชุมชนสี่แยกมหานาค ชุมชนหลังบ้านมนังคศิลา ชุมชนวัดญวน-คลองลำปัก ชุมชนริมทางรถไฟสายแปดริ้ว) เขตพญาไท (ชุมชนวัดมะกอก) เขตดินแดง (ชุมชนใต้ทางด่วนดินแดง)  เขตยานนาวา (ชุมชนช่องลม-หลังฉาง)  เขตบางกะปิ (ชุมชนโรงช้าง)  เขตบางแค (ชุมชนบางแค  ชุมชนบ้านขิง  บางบอน เพชรเกษม 69) เขตบางนา (ชุมชนเลียบทางด่วนบางนา)  เขตลาดกระบัง (ชุมชนท่านเลี่ยม) เขตสะพานสูง  (ชุมชนกระทุ่มเดี่ยว)  เขตมีนบุรี (ชุมชนบัวขาว) เขตคลองสามวา (ชุมชนทองกิตติ) เขตธนบุรี (ชุมชนวัดใหญ่ศรีสุพรรณ ชุมชนหลังไปรษณีย์สำเหร่ ชุมชนวัดหิรัญรูจี  ชุมชนวัดใหม่ยายนุ้ย)   เขตตลิ่งชัน (ชุมชนวัดช่างเหล็ก-วัดเรไร ชุมชนวัดชัยพฤกษ์มาลา)  เขตราษฎร์บูรณะ(ชุมชนศาลารวมน้ำใจ ชุมชนแจงร้อน ชุมชนซอยสุขสวัสดิ์ 60)  เขตบางขุนเทียน (ชุมชนคลองใหญ่ ชุมชนวัดนาคสี่บาท ชุมชนเทียนทะเล)  เขตทุ่งครุ (ชุมชนใต้สะพานโซน 1)   เขตบางบอน (ชุมชนคลองบางพรานพัฒนา ชุมชนริมคลองพระยาราชมนตรี)  เขตหนองแขม (ชุมชนกองขยะหนองแขม ชุมชนบุญส่ง)  เขตจอมทอง (ชุมชนศิลปะเดช)


ที่ตั้งชุมชนคลองเตยในปัจจุบัน  เคยเป็นเมืองโบราณปากน้ำพระประแดง อายุกว่าพันปี ตั้งแต่สมัยขอมก่อนตั้งกรุงสุโขทัยอาจได้ชื่อมาจากคำว่า “บาแดง” ที่เป็นภาษาเขมรโบราณแปลว่า ผู้ส่งข่าว อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกใกล้คลังสินค้าของฮอลันดาสมัยอยุธยาที่เรียกชื่อว่า “เมืองนิวอัมสเตอรดัม” ที่ส่งหนังกวางและหนังปลากระเบนเป็นสินค้าส่งออกสำคัญไปขายญี่ปุ่นใช้สายโซ่เหล็กขนาดใหญ่  มาขึงขวางแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อป้องกันเรือที่ไม่ได้รับอนุญาตผ่านเข้าออก โดยเก็บชิ้นส่วนสายโซ่โบราณไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ  คลองเตยได้ชื่อมาจากต้นเตยที่ขึ้นตามธรรมชาติริมฝั่งคลอง  เดิมเป็นทุ่งนาเลี้ยงควาย  อยู่ระหว่างคลองพระโขนงกับคลองช่องนนทรี

การก่อสร้างท่าเรือกรุงเทพที่คลองเตยช่วง พ.ศ.2481-2490  และการสร้างฐานทัพของสหรัฐอเมริกาในประเทศไทยช่วงพ.ศ.2503 – 2510 ใช้แรงงานคนไทยจากต่างจังหวัดจำนวนมากในการก่อสร้าง  บริการ และขนถ่ายสินค้า มีการสร้างที่พักคนงานเหล่านี้ในที่ดินของการท่าเรือแห่งประเทศไทย  เป็นห้องแถวริมถนนอาจณรงค์ แบ่งเป็นล็อกละ 8 ห้อง รวม 12 ล็อก  เวนคืนที่นาของพระยาสุนทรโกษา  หลวงอาจณรงค์ และตระกูล ณ ระนอง  มีวัดที่ถูกเวนคืน 3 วัด คือ วัดเงิน วัดทอง และวัดไก่เตี้ย  โดยสร้างวัดธาตุทองที่เอกมัยขึ้นใหม่ เพื่อรองรับพระสงฆ์จากวัดที่ถูกเวนคืนทั้งสามแห่ง  

ขณะนั้น มีเรือกระแชงลากจูง ที่รับจ้างขนวัสดุให้การท่าเรือจอดไว้ริมคลองพระโขนงและคลองเตยแล้วให้เช่าเรือเป็นที่พักของคนงานต่างจังหวัด  คนงานบางคนสร้างเพิงที่พักริมคลอง ริมทางรถไฟ ใต้สะพาน และใต้ทางด่วนเพื่อจะได้ไม่ต้องเสียค่าเช่า

เมื่อสร้างท่าเรือเสร็จสิ้น  แรงงานที่มาก่อสร้างท่าเรือส่วนหนึ่งไม่กลับบ้าน ยึดเอาแค้มป์คนงานเป็นที่พักอาศัย  และขยายต่อเติมที่พักไปในที่ดินของการท่าเรือ  จนกลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่กลางกรุงเทพมหานคร 43 ชุมชนย่อยจำนวนกว่า 30,000 ครัวเรือน มีประชากรกว่า แสนคน  เดิมอยู่ในเขตพระโขนง ต่อมาแยกออกเป็นเขตคลองเตย   เป็นที่พักราคาถูกสำหรับกรรมกรคนงานจากต่างจังหวัดที่มาหางานทำในกรุงเทพฯ  ในชุมชนมีปัญหาอาชญากรรม ลักขโมย ฉกชิงวิ่งราว  ขยะ  น้ำเน่าเสีย  โรคเอดส์ คนผ่านคุก และสารเสพติด ซึ่งปราบเท่าไรก็ไม่หมด   มีการสร้างแฟลต  12 ชั้นให้คนในชุมชนเข้าไปอยู่โดยเสียค่าเช่าเดือนละพันกว่าบาท  แต่พวกหาเช้ากินค่ำที่มีรายได้น้อยยังอาศัยในชุมชนแออัดที่เป็นเพิงเล็กๆเพราะไม่มีเงินจ่ายค่าเช่าแฟลต  อาชีพคนในชุมชน  เป็นพนักงานร้านค้า   ค้าขาย เสริฟอาหารในร้าน บาร์ ผับ ทำความสะอาดห้องน้ำ ยาม  ลูกจ้างข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ  เก็บขยะของเก่าขาย  ร้อยมาลัย ขายลูกชิ้นปิ้ง ผลไม้ และอาหารรถเข็นแรงงานก่อสร้าง  ขี่จักรยานยนต์/ขับรถยนต์ส่งของและอาหารตามบ้าน

เมื่อโควิดระบาดตั้งแต่ต้นปี พ.ศ.2563  ชาวชุมชนคลองเตยจำนวนมากที่เป็นกรรมกรทำงานที่ท่าเรือ เมื่อมีเรือสินค้ามาจอดน้อยก็มีรายได้ลดลงคนยากจนที่หาเช้ากินค่ำก็ประสบปัญหาขาดเงินใช้ถ้าเจ็บป่วยก็ไม่มีเงินพอไปที่จะเข้ารักษาในโรงพยาบาลเอกชน  เพราะค่ารักษาอาจแพงถึงคนละกว่าล้านบาท  การอยู่กันอย่างแออัดทำให้การติดเชื้อโควิดเป็นไปอย่างง่ายดาย เพราะไม่สามารถเว้นระยะห่างทางสังคมได้

ต้นเดือนเมษายน 2564  มีการตรวจกลุ่มเสี่ยงบริเวณคลองเตย  พบผู้ติดเชื้อ 304 ราย  และน่าจะมีผู้ติดเชื้อที่ยังไม่ได้ตรวจอีกมาก  เนื่องจากบางคนทำงานที่สถานบันเทิงย่านทองหล่อ และสถานบริการทั่วพื้นที่กรุงเทพฯ  บริเวณที่พบผู้ติดเชื้อมากคือ  คือชุมชนริมคลองวัดสะพาน  ชุมชนตลาดท่าเรือคลองเตย  ชุมชนหมู่บ้านพัฒนา 70 ไร่ ชุมชนพัฒนาใหม่ (คั่วพริก)   ชุมชนน้องใหม่  ชุมชนริมคลองสามัคคี  ชุมชนริมคลองไผ่สิงโต ตลาดปีนัง ชุมชนวัดคลองเตยใน 2 ชุมชนร่มเกล้า2   ชุมชนแฟลต  1-10 ชุมชนแฟลต 11-18   ชุมชนแฟลต 19-22  ชุมชนล็อค  1-2-3  ชุมชนล๊อก 4-5-6 ชุมชนร่วมใจสามัคคี  ชุมชนหมู่บ้านมั่นคง ชุมชนเคหะบ่อนไก่  และชุมชนพัฒนาบ่อนไก่

มีการจัดตั้งศูนย์พักคอยผู้ติดเชื้อโควิด(Covid Community Isolation) ที่วัดสะพาน พระโขนง   โดย ชาวชุมชนมูลนิธิดวงประทีป  นพ.วิรุฬ ลิ้มสวาท  และกลุ่มคลองเตยดีจัง เพื่อรอเตียงว่างในโรงพยาบาล   มีการจัดตั้งครัวกลางและจัดหาเครื่องอุปโภคบริโภค ให้คนยากจนที่ประสบปัญหาในชุมชนใช้รถทหารนำส่งผู้ติดเชื้อส่วนหนึ่งไปที่โรงพยาบาลสนาม ที่สนามกีฬาแห่งชาติ   ทุ่งครุ และสมุทรสาคร  เร่งตรวจหาเชื้อเชิงรุก ฉีดวัคซีนให้คนชุมชนคลองเตยวันละราว 2,000 คน ที่ห้างโลตัสพระราม 4 และโรงเรียนคลองเตยวิทยา เพื่อป้องกันโควิดระบาดวงกว้างทั่วกรุงเทพฯ  มีการตั้งโรงพยาบาลสนามใหม่โดยกระทรวงกลาโหม กระทรวงสาธารณสุข   กทม.และสภากาชาดไทย  เพื่อแยกผู้ติดเชื้อออกมาจากครอบครัว

 

 

 

 

 

 

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

(คลิป) ก้าวทันอาเซียน : คริปโตกำลังเปลี่ยนภูมิภาค 'ไทย' จะอยู่ตรงไหน?

รันทุกวงการ! 'ลิซ่า ลลิษา'ขึ้นแท่น Global Ambassdor คนใหม่เครื่องเล่นเกมสุดโด่งดัง

ปรับ 2 แสน-ขอขมา 7 วัน! ‘ศาล จ.บุรีรัมย์’ ฟันผิด ‘ชูวิทย์’ หมิ่นประมาท ‘ศักดิ์สยาม–เนวิน’

(คลิป) ด่วน! 'อุ๊งอิ๊งค์' คุมกรมศิลปากร 3 ปราสาท ตกอยู่ในความไม่ปลอดภัย

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved