วันพฤหัสบดี ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
Life & Health : ช่วงโควิด-19 ผู้ป่วยโรคไตกักตัวอยู่บ้านอย่างไร

Life & Health : ช่วงโควิด-19 ผู้ป่วยโรคไตกักตัวอยู่บ้านอย่างไร

วันพุธ ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2564, 06.00 น.
Tag : Life & Health
  •  

จากสถานการณ์การระบาดของ โควิด-19 หน่วยงานทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชนจึงมีมาตรการส่งเสริมให้ทำงานจากบ้าน (Work from Home) การเรียนออนไลน์ กันมากขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อดังกล่าว สำหรับผู้ป่วยโรคไตเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีแนวโน้มของการเกิดอาการ และภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงจากการติดเชื้อโควิด-19 ได้มากกว่าคนปกติ ดังนั้นผู้ป่วยโรคไตจึงควรเพิ่มความเข้มงวดกับมาตรการในการป้องกันการติดเชื้อ มีการเดินทางเท่าที่จำเป็น อยู่บ้านมากขึ้น ข้อมูลจาก ภญ.ศยามล สุขขาและ รศ.ดร.ภญ.บุษบา จินดาวิจักษณ์ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เสนอข้อแนะนำของการดูแลตนเองเมื่ออยู่ที่บ้านของผู้ป่วยโรคไต โดยครอบคลุมผู้ป่วยโรคไตทุกระยะ และผู้ป่วยไตวายที่ต้องได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมหรือฟอกเลือดทางหน้าท้อง เพื่อให้ผู้ป่วยมีสุขภาพไตที่ดี และห่างไกลจากการติดเชื้อโควิด-19

พฤติกรรมที่เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนของโรคไต


ผู้ป่วยบางคนที่ต้อง Work from Home อาจทำงานหน้าคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง หรือมีการประชุมออนไลน์อย่างต่อเนื่อง มักจะไม่อยากลุกไปเข้าห้องน้ำขณะทำงานหรือประชุม จึงเกิดการกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานานๆ ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดนิ่ว หรือการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะได้ ซึ่งในกรณีนี้คนทั่วไปที่กลั้นปัสสาวะนานๆ ก็มีโอกาสของการเกิดนิ่ว และติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ผู้ป่วยบางคนมีการดื่มน้ำลดลงเมื่ออยู่ที่บ้านหากผู้ป่วยดื่มน้ำไม่เพียงพอจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการขาดน้ำ ทำให้ลดปริมาณน้ำและเลือดที่ไปเลี้ยงไต และเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยโรคไตที่ต้องจำกัดน้ำตามที่แพทย์แนะนำ ก็ต้องควบคุมการดื่มน้ำตามคำแนะนำของแพทย์

คำแนะนำเรื่องการใช้ยา ในช่วงที่ผู้ป่วยอาจได้รับยาต่อเนื่องที่บ้าน(telemedicine)

ในผู้ป่วยโรคไตที่มีภาวะของโรคคงที่ แพทย์อาจพิจารณาให้ผู้ป่วยรับยาที่บ้านเพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อที่อาจแพร่กระจายในโรงพยาบาล สิ่งสำคัญที่ผู้ป่วยพึงระวังคือยาหมดก่อนนัด ดังนั้นผู้ป่วยจึงควรตรวจเช็ค และนับจำนวนเม็ดยาที่เหลืออยู่อย่างสม่ำเสมอ และรีบติดต่อโรงพยาบาลล่วงหน้า เพื่อให้ทางโรงพยาบาลมีเวลาเตรียมจัดส่งยาทางไปรษณีย์ได้ทันก่อนที่ยาจะหมด นอกจากนี้สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือผู้ป่วยควรควบคุมโรคประจำตัวของตนเองให้ดี โดยการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ ไม่หยุดยารับประทานยาเองแม้ว่าผู้ป่วยจะรู้สึกดีขึ้นก็ตาม และหากมีอาการผิดปกติใดๆ ให้รีบมาปรึกษาแพทย์โดยไม่ต้องรอจนถึงวันนัด ผู้ป่วยในช่วงอยู่บ้านอาจมีการทำกิจกรรมที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกปวดเมื่อย ยาแก้ปวดที่ควรหลีกเลี่ยงการใช้ในผู้ป่วยโรคไต คือยารับประทานในกลุ่มเอ็นเสด (NSAID) เช่น ไอบูโพรเฟน ไพร็อกซิแคม ไดโคลฟีแนค ซีลีคอกซิบ เป็นต้น เนื่องจากยาดังกล่าว
มีผลเสียต่อไต เช่น ทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน หรือไตอักเสบได้ อย่างไรก็ตามยากลุ่มเอ็นเสดที่ใช้ภายนอก เช่น ยาทาในรูปแบบเจล หรือครีมนั้นสามารถใช้ได้ในผู้ป่วยโรคไต เนื่องจากมีการดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดที่น้อย นอกจากนี้ยาแก้ปวดที่สามารถใช้ได้ในผู้ป่วยโรคไตคือ พาราเซตามอล (ขนาดยาที่แนะนำคือ 325-650 มิลลิกรัม ทุก 6 ชั่วโมง เมื่อมีอาการ โดยไม่เกิน 3,000 มิลลิกรัมต่อวัน) แต่การใช้พาราเซตามอลยังต้องใช้อย่างระมัดระวัง หากผู้ป่วยมีโรคประจำตัวอื่นๆ เช่น โรคตับ โรคพิษสุราเรื้อรัง เป็นต้น ทั้งนี้ขอให้ปรึกษาเภสัชกรก่อนใช้ยา

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย ที่ต้องเดินทางมาฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่สถานพยาบาล

ผู้ป่วยต้องสวมหน้ากากผ้า หรือหน้ากากอนามัยตลอดระยะเวลาที่รับบริการในหน่วยไตเทียม ทำการคัดกรองความเสี่ยงของการติดเชื้อโควิด-19 ตามที่สถานพยาบาลกำหนด วัดอุณหภูมิก่อน และหลังการฟอกเลือด ล้างมือด้วยวิธีที่ถูกต้องก่อนเข้าเครื่องฟอกเลือด หากมีการไอ จาม หรือสั่งน้ำมูก ต้องทิ้งกระดาษทิชชูในถังขยะที่เหมาะสม และหากผู้ป่วยมีอาการแสดงที่สงสัยการติดเชื้อของโควิด-19ในขณะอยู่ที่บ้านต้องรีบโทรศัพท์ติดต่อทางสถานพยาบาลเพื่อการคัดกรอง หรือการเข้าสู่ระบบการส่งต่อสถานพยาบาลอย่างเหมาะสมต่อไป

การฉีดวัคซีนโควิด-19 ในผู้ป่วยโรคไต

ผู้ป่วยโรคไตถือเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อโควิด-19 และอาจมีอาการเจ็บป่วยรุนแรง จึงเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่ควรได้รับวัคซีน โดยควรอยู่ภายใต้การพิจารณาจากแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยและเมื่อผู้ป่วยได้รับวัคซีนแล้ว ก็ไม่ควรละเลยมาตรการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ที่เป็นข้อปฏิบัติมาตรฐานเช่นเดิม

นอกจากนี้ แม้ว่าผู้ป่วยโรคไตจะกักตัวอยู่ที่บ้าน แต่ก็ควรระวังการติดเชื้อจากบุคคลในครอบครัว ที่อาจจะนำพาเชื้อมาให้ผู้ป่วย หรือการมีการรวมตัวของญาติตามเทศกาลต่างๆ ผู้ป่วยควรมีมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมเมื่อต้องอยู่ใกล้ชิดกับผู้อื่นในบ้านที่มีความเสี่ยง เช่น การใส่หน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่างจากผู้อื่น ประมาณ 1-2 เมตร การล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่ เลือกรับประทานอาหารที่ร้อนหรือปรุงสุกใหม่ๆ ควรแยกสำรับอาหาร หรือหากรับประทานร่วมกันให้ใช้ช้อนกลาง หลีกเลี่ยงการเอามือขยี้ตา เช็ดจมูกหรือปาก อีกทั้งผู้ป่วยควรมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งผู้ป่วยอาจเลือกกิจกรรมที่ทำได้ง่ายๆ เช่น เดินในบ้าน และควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 7 ชั่วโมงต่อวัน เพียงเท่านี้ผู้ป่วยโรคไตก็สามารถอยู่ดีมีสุขกับโรคไตและปลอดภัยห่างไกลจากโควิด-19

สรุปว่าในช่วงโควิด-19 ผู้ป่วยโรคไต ควรอยู่บ้านเพื่อลดโอกาสเสี่ยงที่จะติดโควิด-19 รับประทานยา อาหาร น้ำดื่ม ตามที่แพทย์แนะนำ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หากมีความจำเป็นต้องออกจากบ้าน ให้ปฏิบัติตามมาตรการที่กรมควบคุมโรค แนะนำ

สำหรับผู้สนใจข้อมูลสุขภาพและการใช้ยาของคณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล สามารถติดตามได้ที่ https://pharmacy. mahidol.ac.th/th/service-know-ledge.php

ผศ.(พิเศษ)ดร.อภิสิทธิ์ ฉัตรทนานนท์

ประธานกรรมการ มูลนิธิคุณแม่คุณภาพ

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • Life & Health : ถ้าติดหวาน ทำอย่างไรดี Life & Health : ถ้าติดหวาน ทำอย่างไรดี
  • LIFE & HEALTH : AI ช่วยธุรกิจปกป้องแบรนด์ได้อย่างไร LIFE & HEALTH : AI ช่วยธุรกิจปกป้องแบรนด์ได้อย่างไร
  • Life & Health : เตรียมตัวอย่างไร ก่อนเข้ามหาวิทยาลัยในนิวซีแลนด์ Life & Health : เตรียมตัวอย่างไร ก่อนเข้ามหาวิทยาลัยในนิวซีแลนด์
  • Life & Health : รู้จักห้องบำบัดเพื่อการรักษาเด็กสมองพิการสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น Life & Health : รู้จักห้องบำบัดเพื่อการรักษาเด็กสมองพิการสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  • Life & Health : มารู้จักการบริจาคส่วนประกอบโลหิต Life & Health : มารู้จักการบริจาคส่วนประกอบโลหิต
  • Life & Health : การศึกษาเรื่องของถั่วและสุขภาพ Life & Health : การศึกษาเรื่องของถั่วและสุขภาพ
  •  

Breaking News

ครม.อิ๊งค์1/2 เฝ้าฯถวายสัตย์ปฏิญาณ ก่อนเข้ารับหน้าที่

โบนัส500ล้าน!จอมพลิกล็อกรับทรัพย์เข้า8ทีมสโมสรโลก

เรือเฟอร์รีมุ่งหน้า'เกาะบาหลี'ล่ม ดับแล้ว 4 ราย สูญหายอีกเพียบ

‘ชัชชาติ’ เผยยอด Traffy Fondue เกือบล้านคือความไว้วางใจ ย้ำ! แก้ปัญหาให้ดี-ไม่ทุจริต

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved