วันจันทร์ ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
Life & Health : รู้จักโรคเลือดจางจากการขาดวิตามินโฟเลต

Life & Health : รู้จักโรคเลือดจางจากการขาดวิตามินโฟเลต

วันพุธ ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2564, 06.00 น.
Tag : Life & Health
  •  

คุณผู้หญิงหลายคนอาจมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หน้ามืด วิงเวียน หัวใจเต้นเร็วตัวซีดหรือตัวเหลือง ซึ่งอาการเหล่านี้อาจเป็นภาวะโลหิตจาง แต่เจ้าตัวยังไม่รู้ตัวเนื่องจากอาการจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นและไม่ชัดเจน นอกจากนี้ โรคโลหิตจางยังเป็นอาการของโรคอีกหลายโรคและหากไม่รักษาอย่างถูกต้องจะมีอันตรายถึงชีวิต สาเหตุของโรคนี้อาจมาจากการขาดธาตุเหล็ก วิตามินบีหรือวิตามินโฟเลตก็ได้ ในวันนี้จะมาแนะนำโรคเลือดจางจากการขาดวิตามินโฟเลต

ข้อมูลจาก พญ.ลลิตา นรเศรษฐ์ธาดา หน่วยโลหิตวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่า วิตามินโฟเลตหรือวิตามินบี 9 พบได้ในอาหารหลายหลายชนิด ได้แก่ เนื้อสัตว์ ผักใบเขียว ยอดผัก ผลไม้ ถั่วและธัญพืช โฟเลตมีหน้าที่สำคัญในการสร้างเซลล์ เนื่องจากมีส่วนสำคัญในการช่วยสังเคราะห์ดีเอ็นเอ (DNA) ปกติร่างกายมีความต้องการโฟเลตวันละ 200-400 ไมโครกรัม ส่วนในหญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรจะมีความต้องการโฟเลตเพิ่มขึ้นสองเท่า ในหญิงตั้งครรภ์จึงมีความจำเป็นต้องรับประทานโฟเลตเพื่อเสริมสร้างการเจริญเติบโตป้องกันภาวะการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของทารกในครรภ์


การขาดโฟเลตในหญิงตั้งครรภ์โดยเฉพาะในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์จะเพิ่มความเสี่ยงในการเจริญเติบโตผิดปกติโดยเฉพาะของระบบประสาทของทารก ในคนทั่วไปหากขาดโฟเลต จะทำให้มีภาวะโลหิตจางที่เม็ดเลือดแดงมีขนาดใหญ่ผิดปกติ อ่อนเพลียและเจ็บลิ้นได้

ความชุกของการขาดวิตามินโฟเลตลดลงมาก ในประเทศที่เสริมวิตามินโฟเลตในอาหารจำพวกธัญพืช ข้าวและขนมปัง ปัจจุบัน 83 ประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศในทวีปอเมริกา ออสเตรเลียและแอฟริกาได้ออกกฎหมายให้เสริมวิตามินโฟเลตในอาหารกลุ่มธัญพืช แต่ในประเทศไทยยังไม่ได้มีกฎหมายดังกล่าวบังคับใช้

สาเหตุของการขาดวิตามินโฟเลต

สาเหตุที่สำคัญที่สุดของการขาดวิตามินโฟเลต คือ การได้รับวิตามินโฟเลตไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เนื่องจากวิตามินโฟเลตถูกทำลายได้ง่ายเมื่ออาหารผ่านความร้อน และในร่างกายสะสมวิตามินโฟเลตเพียง 5-10 มิลลิกรัม หากไม่ได้รับอาหารที่มีวิตามินโฟเลตเพียงพอ จะเกิดภาวะโลหิตจางจากการขาดวิตามินโฟเลตในระยะเวลา 4-5 เดือน

l ร่างกายมีความต้องการวิตามินโฟเลตสูงขึ้น เช่น ในหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร ผู้ป่วยที่มีภาวะโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงเรื้อรัง เช่น โลหิตจางธาลัสซีเมีย และผู้ป่วยที่เป็นโรคผิวหนังที่มีสะเก็ดหลุดลอกเรื้อรัง

l ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการฟอกไตต่อเนื่อง

l วิตามินโฟเลตไม่สามารถดูดซึมได้ จากความผิดปกติของลำไส้เล็ก เช่น ได้รับการผ่าตัดลำไส้เล็กส่วนต้นซึ่งเป็นตำแหน่งที่ดูดซึมวิตามินโฟเลต หรือมีโรคลำไส้เล็กอักเสบเรื้อรัง

l ผู้ที่ทานอาหารน้อย มีภาวะทุโภชนาการ หรือมีโรคจิตเภททำให้ไม่ยอมรับประทานอาหารตามปกติ

l ผู้ที่อยู่ในสถานพยาบาล หรือสถานรับเลี้ยงคนชรา ที่ไม่ได้รับอาหารที่เสริมวิตามินโฟเลต

l ผู้ที่ติดสุราเรื้อรัง ทำให้รับประทานอาหารน้อย ร่วมกับแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ต้านการทำงานของวิตามินโฟเลต

l ได้รับยาที่ออกฤทธิ์ต่อต้านการทำงานของวิตามินโฟเลต เช่นยาปฏิชีวนะบางตัว และยาเคมีบำบัด

l ได้รับการผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดความอ้วน ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการขาดวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด ได้แก่ วิตามินโฟเลต วิตามินบี 12 และธาตุเหล็กได้

อาการของการขาดวิตามินบี 12 มีดังนี้ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ซีดจากภาวะโลหิตจาง ใจสั่น หน้ามืดบ่อย ความจำและทักษะทางความคิดลดลงจากภาวะโลหิตจาง เจ็บลิ้น ทานอาหารรสจัดไม่ได้ มีแผลที่มุมปาก เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ซึมเศร้า

การวินิจฉัยภาวะโลหิตจางจากการขาดวิตามินโฟเลต

เมื่อมีภาวะโลหิตจางที่เม็ดเลือดแดงมีขนาดใหญ่ผิดปกติ อาจพบเม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดต่ำลงได้เล็กน้อย ลักษณะเม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลด์มีขนาดใหญ่ที่มีจำนวนหยักของนิวเคลียสมากขึ้นผิดปกติ โดยมักจะสงสัยในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงข้างต้นต่อการขาดวิตามินโฟเลต แพทย์จะสืบค้นเพิ่มเติมโดยตรวจระดับวิตามินโฟเลตร่วมกับวิตามินบี 12 ในเลือดว่ามีระดับต่ำผิดปกติหรือไม่ จำเป็นต้องตรวจระดับวิตามินบี 12 ด้วยเสมอ เนื่องจากอาการและอาการแสดงทางคลินิก ไม่สามารถแยกภาวะขาดวิตามินทั้งสองชนิดนี้จากกันได้ และผู้ป่วยอาจมีการขาดวิตามินทั้งสองชนิดนี้ร่วมกันก็ได้ อย่างไรก็ดีการตรวจระดับวิตามินโฟเลตจะมีประโยชน์น้อยในผู้ที่ทานอาหารได้และมีการดูดซึมอาหารที่ปกติ หากตรวจไขกระดูกซึ่งเป็นที่ผลิตเม็ดเลือดแดง จะพบเม็ดเลือดแดงตัวอ่อนที่มีขนาดใหญ่และนิวเคลียสอ่อนผิดปกติได้

การรักษาภาวะโลหิตจางจากการขาดวิตามินโฟเลต

ให้วิตามินโฟเลตทดแทนในขนาด 5-10 มิลลิกรัมต่อวันไม่ควรเสริมวิตามินโฟเลตอย่างเดียวในผู้ที่ขาดหรือสงสัยว่าขาดวิตามินบี 12 ร่วมด้วย เนื่องจากการให้วิตามินโฟเลตอย่างเดียวในผู้ที่ขาดวิตามินบี 12 จะทำให้อาการทางระบบประสาทแย่ลงในผู้ที่ขาดวิตามินบี 12 ได้ ส่วนในผู้ที่ได้รับยาต้านการออกฤทธิ์ของวิตามินโฟเลต โดยเฉพาะยาเคมีบำบัดกลุ่ม methotrexate สามารถให้กรดโฟลินิคซึ่งเป็นวิตามินโฟเลตที่สามารถนำไปช่วยในการสังเคราะห์ DNA ได้เลย

ผศ.(พิเศษ)ดร.อภิสิทธิ์ ฉัตรทนานนท์

ประธานกรรมการ มูลนิธิคุณแม่คุณภาพ

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • Life & Health : ถ้าติดหวาน ทำอย่างไรดี Life & Health : ถ้าติดหวาน ทำอย่างไรดี
  • LIFE & HEALTH : AI ช่วยธุรกิจปกป้องแบรนด์ได้อย่างไร LIFE & HEALTH : AI ช่วยธุรกิจปกป้องแบรนด์ได้อย่างไร
  • Life & Health : เตรียมตัวอย่างไร ก่อนเข้ามหาวิทยาลัยในนิวซีแลนด์ Life & Health : เตรียมตัวอย่างไร ก่อนเข้ามหาวิทยาลัยในนิวซีแลนด์
  • Life & Health : รู้จักห้องบำบัดเพื่อการรักษาเด็กสมองพิการสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น Life & Health : รู้จักห้องบำบัดเพื่อการรักษาเด็กสมองพิการสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  • Life & Health : มารู้จักการบริจาคส่วนประกอบโลหิต Life & Health : มารู้จักการบริจาคส่วนประกอบโลหิต
  • Life & Health : การศึกษาเรื่องของถั่วและสุขภาพ Life & Health : การศึกษาเรื่องของถั่วและสุขภาพ
  •  

Breaking News

นักวิชาการ‘กัมพูชา’ยกโพลเย้ยการเมืองไทยเปราะบาง ไม่เหมือน‘ฮุน เซน’ชาวเขมรศรัทธาท่วมท้น

'อดีตสว.สมชาย'สิ้นหวัง! พ.ร.บ.ตำรวจไร้ผล ชี้ระบบอุปถัมภ์-การเมืองทำปฏิรูปแป๊ก

แก้เสียงปริ่มน้ำ!‘สุชาติ’จ่อลาออกสส. เปิดทาง‘ปาร์ตี้ลิสต์’ลำดับถัดไปทำหน้าที่ในสภา

‘ภูมิธรรม’หนุนข้อเสนอ‘รมต.’ไม่มีบทบาทในสภาฯ ควรทิ้งเก้าอี้สส.‘ปาร์ตี้ลิสต์’

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved