วันจันทร์ ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2566
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : Paxlovid ความหวังใหม่ที่มาฆ่าเชื้อโควิด-19

รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : Paxlovid ความหวังใหม่ที่มาฆ่าเชื้อโควิด-19

วันจันทร์ ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2564, 06.00 น.
Tag :
  •  

มีความหวังที่เราจะสามารถเอาชนะเชื้อโควิด-19 ได้อีกครั้งหนึ่ง หลังจากปรากฏข่าวว่า เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2564 สหรัฐอเมริกาอนุมัติใช้ยา Paxlovid แบบฉุกเฉินเป็นประเทศแรก นี่คือก้าวใหญ่ที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลงการรักษาผู้ติดเชื้อ COVID-19 ยาตัวนี้เป็นเม็ด ประกอบด้วยยา 2 ชนิด คือยา nirmatrelvir และยา ritronavir เป็นยาที่บริษัทไฟเซอร์ออกแบบสำหรับรักษาโรคติดเชื้อโควิด-19 โดยเฉพาะ  

ยาตัวแรกคือ nirmatrelvir ช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ชื่อ protease ซึ่งเป็นเอนไซม์สำคัญของเชื้อโควิด-19 ถ้าเอนไซม์นี้ถูกยับยั้ง เชื้อไวรัสก็ไม่สามารถแบ่งตัวได้ ส่วนยาอีกตัวหนึ่งคือ ritronavir เป็นตัวบูสที่ทำให้ยา nirmatrelvir มีระดับยาที่สูงและทำงานได้ดีขึ้น  


ยา Paxlovid นี้ ในหนึ่งการรับประทานจะประกอบด้วยยา 3 เม็ด คือ nirmatrelvir 2 เม็ด และ ritronavir 1 เม็ด รับประทานพร้อมกัน ก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ เช้าและเย็น ติดต่อกัน 5 วัน ยานี้ได้ผลต่อเมื่อได้รับยาเร็วไม่เกิน 5 วันหลังจากมีอาการ และพบว่าผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงที่จะป่วยหนัก เช่น มีโรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคภูมิคุ้มกันต่ำเป็นต้น หากได้รับยานี้ภายใน 5 วัน จะทำให้ลดการเจ็บป่วยหนักหรือตายได้ถึง 88% แต่หากได้รับยาช้ากว่านี้ยาอาจจะมีประสิทธิภาพที่ไม่ดีมากเท่าที่ควร  

สำหรับการต้านเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ “โอมิครอน” ที่เป็นสายพันธุ์ที่กำลังแพร่ระบาดในหลายประเทศในขณะนี้ รวมถึงประเทศไทยที่เริ่มพบผู้ติดเชื้อมากขึ้น จากผลการวิจัยในหลอดทดลองพบว่า Paxlovid สามารถยับยั้งเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนได้ 

จากข้อมูลเบื้องต้นไม่พบผลข้างเคียงที่น่ากังวลมากนัก แต่สิ่งที่น่ากังวลมากกว่าคือปัญหาเรื่องการเกิดปฏิกิริยากับยาตัวอื่น หรือที่เราเรียกว่ายาตีกัน หากผู้ป่วยมีความเจ็บป่วยของโรคอื่นที่ต้องรับประทานยาชนิดอื่น เช่น คนที่รับประทานยาแก้ปวดบางชนิด ยาไมเกรนบางชนิด ยาลดคลอเรสเตอรอลบางชนิด หรือยารักษาโรคหัวใจบางชนิด เป็นต้น ก็อาจจะมีโอกาสเกิดอันตรายจากยาตีกัน หรือประสิทธิภาพการรักษาลดลง ซึ่งก็อาจเป็นข้อจำกัดในการใช้ยานี้กับผู้ป่วยบางรายได้ 

หนึ่งวันถัดมาหลังจาก Paxlovid ได้รับอนุมัติ สหรัฐอเมริกาก็อนุมัติการใช้ยาโมลนูพิราเวียร์แบบฉุกเฉินเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยข้อมูลทางคลินิก พบกว่าประสิทธิภาพ และข้อจำกัดในการใช้ยายังเป็นรอง Paxlovid แต่สหรัฐอเมริกาก็เปิดทางเลือกนี้ไว้สำหรับผู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงยา Paxlovid หรือยาชนิดอื่นได้ หรือไม่สามารถใช้ยาอื่นได้ด้วยข้อจำกัดของตัวผู้ป่วยเอง นอกจากนี้ บริษัท Shionogi ของประเทศญี่ปุ่น ได้วิจัยยา s-217622 ที่มีการออกฤทธิ์ลักษณะเดียวกันกับ Paxlovid ซึ่งกำลังอยู่ในขั้นการวิจัยทางคลินิกระยะที่ 2 โดยยังต้องติดตามผลต่อไป 

จะเห็นว่ายารักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 มีหลากหลาย แต่ประสิทธิภาพและข้อจำกัดในการใช้ก็ต่างกัน เช่นเดียวกับ
กรณีของวัคซีน ในขณะที่ยังมีการแพร่เชื้ออยู่ ยารักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 ก็ยังคงเป็นที่ต้องการเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่ยังมีการแพร่ระบาดสูงอยู่ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องก็ต้องเตรียมพร้อมตลอดเวลา และต้องหาข้อมูลเพื่อคัดสรรสิ่งที่ดีที่สุดให้กับประชาชน โดยต้องพิจารณาความเสี่ยง และตัวเลือกที่หลากหลายก่อนตัดสินใจซื้อหายามาใช้ และต้องประเมินสถานการณ์ รวมถึงคำนวณปริมาณที่เหมาะสมต่อประชากร หากตัดสินใจล่าช้า ก็จะแก้ปัญหาไม่ทันการณ์ 

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ความสำคัญของการเร่งฉีดวัคซีนก็ยังเป็นเรื่องสำคัญ รวมถึงการฉีดเข็มบูสเตอร์ด้วย ซึ่งปัจจุบันในเกือบทุกภาคส่วนมีการรณรงค์การฉีดเข็มกระตุ้น เนื่องจากเมื่อระยะเวลาผ่านไป ภูมิคุ้มกันของเราเริ่มลดลง ทั้งนี้ เพื่อป้องกันเชื้อสายพันธุ์ใหม่ ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์โอมิครอน หรือสายพันธุ์อื่นๆ ที่จะตามมาเข็มกระตุ้นจึงสำคัญมาก รวมไปถึงการรักษามาตรการต่างๆ เช่น การรักษาระยะห่างทางกายภาพ การใช้หน้ากากอนามัย การล้างมือเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ที่มีคุณภาพ และอยู่ในสถานที่ที่อากาศถ่ายเทได้ดี เป็นต้น  

เมื่อมีความจำเป็นที่จะต้องรวมตัวกันมากๆ แนะนำให้ตรวจ Antigen test kit (ATK) ก่อน เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดคลัสเตอร์  

หวังว่าปีใหม่นี้ พวกเราคงไม่เป็นส่วนหนึ่งของการแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 และขอให้ทุกคนเฉลิมฉลองเทศกาลปีใหม่ให้มีความสุข แต่อย่าลืมระมัดระวังตัวเอง พร้อมกับมีสติตลอดเวลา สุขสันต์วันขึ้นปีใหม่ 2565 

 

ผศ.ภก.ดร.บดินทร์ ติวสุวรรณ   

คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • คอนเสิร์ต‘โก๋หลังวัง’เพลงดังในยุค 60 คอนเสิร์ต‘โก๋หลังวัง’เพลงดังในยุค 60
  • ไอคอนสยาม หัวเรือใหญ่ ผนึกพลังพันธมิตร ร่วมกิจกรรม ‘รักเจ้าพระยา เก็บขยะวันแม่น้ำโลก’ ไอคอนสยาม หัวเรือใหญ่ ผนึกพลังพันธมิตร ร่วมกิจกรรม ‘รักเจ้าพระยา เก็บขยะวันแม่น้ำโลก’
  • ย้อนรอยการเดินทาง 20 ปี ของ‘มิสเตอร์พี’(Mr. P)  เด็กทะลึ่งอารมณ์ดีที่แค่เห็นก็อมยิ้มแล้ว ย้อนรอยการเดินทาง 20 ปี ของ‘มิสเตอร์พี’(Mr. P) เด็กทะลึ่งอารมณ์ดีที่แค่เห็นก็อมยิ้มแล้ว
  • เครือ รพ.พญาไท-เปาโล จับมือ จุฬาฯ  เปิดตัวหลักสูตร Season 5 Hybrid Learning เครือ รพ.พญาไท-เปาโล จับมือ จุฬาฯ เปิดตัวหลักสูตร Season 5 Hybrid Learning
  • รพ.จุฬาภรณ์ ชวนคนไทยดูแลสุขภาพหัวใจ USE ♥ KNOW ♥ ใช้ใจรู้หัวใจตัวเอง เนื่องในวันหัวใจโลกปี 2566 รพ.จุฬาภรณ์ ชวนคนไทยดูแลสุขภาพหัวใจ USE ♥ KNOW ♥ ใช้ใจรู้หัวใจตัวเอง เนื่องในวันหัวใจโลกปี 2566
  • โชว์ ‘เสน่ห์ไทย’ สุดยอดวัฒนธรรมไทยครองใจทั่วโลก ผ่านพิธีกรอารมณ์ดี ‘กนก-ธีระ-สันติสุข’ โชว์ ‘เสน่ห์ไทย’ สุดยอดวัฒนธรรมไทยครองใจทั่วโลก ผ่านพิธีกรอารมณ์ดี ‘กนก-ธีระ-สันติสุข’
  •  

Breaking News

สุดสลด! ไฟไหม้ไนท์คลับใน'สเปน' ดับอย่างน้อย 13 ราย-เจ็บนับสิบ

‘หมอธีระวัฒน์’เลคเชอร์เตือน‘ปรากฏการณ์ SS’ กินยามากไป ไม่ตายก็คางเหลืองได้

‘สังศิต’เลคเชอร์หากบทบาท‘สทนช.’ไม่ปรับเปลี่ยน 117 ล้านไร่‘แล้ง’เหมือนเดิม

รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : สุขภาพวัยเกษียณ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายประพันธ์ สุขทะใจ ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved