ในโอกาสวันสตรีสากล 3เอ็ม สนับสนุนความเท่าเทียม ด้วยการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความรู้สึกหรือการกระทำที่ไม่เป็นกลางต่อผู้อื่นจากทัศนคติลบในจิตใต้สำนึก เพื่อสร้างสรรค์สังคมที่มีความเสมอภาคและให้เกียรติซึ่งกันและกัน
แม้ว่าองค์กรต่างๆ ทั่วโลกต่างก็ให้ความสำคัญกับการรวมองค์กรเป็นหนึ่งใจเดียวด้วยการยอมรับคุณค่าในความหลากหลายและอยู่ร่วมกันอย่างเท่าเทียม ปรากฏว่า จำนวนผู้บริหารหญิงในปี 2564 ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยังคงมีจำนวนน้อย คือไม่ถึง 28% เมื่อเทียบกับจำนวนผู้บริหารชาย บางทีอาจจะถึงเวลาแล้วที่เราควรจะพิจารณาถึงปัญหาที่มีอยู่จริง ซึ่งถือเป็นอุปสรรคในการสร้างความเสมอภาคให้เกิดขึ้น นั่นก็คือ ความรู้สึกหรือการกระทำที่ไม่เป็นกลางของเราต่อผู้อื่นอันเนื่องมาจากทัศนคติลบที่อยู่ในจิตใต้สำนึกของเรา หรือบางคนอาจเรียกว่า“อคติโดยไม่รู้ตัว”
ด้วยพฤติกรรมดังกล่าวเกิดขึ้นโดยที่เราไม่รู้ตัว จึงทำให้พฤติกรรมนั้นดูเหมือนเป็นเรื่องปกติ โดยผู้คนส่วนใหญ่ไม่ได้ตระหนักว่า “มีความไม่เป็นกลาง”เกิดขึ้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว เรามีความรู้สึกที่ไม่เป็นกลางและเราก็แสดงออกต่อผู้อื่นด้วยความไม่เป็นกลางโดยไม่รู้ตัว สิ่งนี้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลายาวนาน จนเกิดคำถามว่าเราจะแก้ปัญหากับความรู้สึกหรือการกระทำที่ไม่เป็นกลางของเราต่อผู้อื่น จากทัศนคติลบที่ฝังลึกอยู่ในจิตใต้สำนึกของเราได้อย่างไร
ประการแรก : องค์กรต่างๆ ควรจัดให้มีการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับ “ความไม่เป็นกลางจากทัศนคติลบในจิตใต้สำนึก” แก่บุคลากรทุกระดับ และส่งเสริมให้พนักงานได้ไตร่ตรองและสังเกตตนเองเพื่อพิจารณาว่าเขามีความรู้สึกหรือการกระทำที่ไม่เป็นกลางต่อผู้อื่นจากทัศนคติลบในจิตใต้สำนึกของเขาหรือไม่และให้เขาตั้งเป้าหมายในการขจัดทัศนคติลบนั้นออกไป เราควรให้ความรู้ในเรื่องนี้อย่างต่อเนื่องแทนที่จะจัดทำเพียงแค่ครั้งเดียว เพื่อการสร้างความตระหนักรู้นี้จะได้มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง และเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมที่บุคลากรยอมรับในความหลากหลายและเห็นคุณค่าของทุกคนให้แข็งแกร่ง
ประการที่สอง: เราจะต้องทิ้งแบบแผนทางความคิดแบบเดิมๆ และจำกัดความคำว่า “ภาวะผู้นำ” กันใหม่ ด้วยการจัดอบรมเรื่อง “กระบวนการคิดแบบก้าวหน้า” (Growth Mindset) ซึ่งปลูกฝังทัศนคติว่าเราสามารถพัฒนาได้ตลอดเวลา ผ่านทางการเรียนรู้ความอุตสาหะและการฝึกฝน เพื่อส่งเสริมให้พนักงานเติบโตอย่างต่อเนื่องและพัฒนาทักษะให้เพิ่มขึ้นอยู่เสมอ ที่ 3เอ็ม เราเริ่มต้นด้วยการอบรมบุคลากรระดับผู้นำก่อนและรณรงค์เรื่องนี้เป็นเวลาหลายเดือน เพื่อปลูกฝังนิสัยการเรียนรู้ใหม่ๆ ให้แก่พนักงานของเรา
ประการที่สาม : การริเริ่มกิจกรรมที่สนับสนุนโอกาสให้ผู้หญิงก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำ เช่น เวทีเสวนาผู้นำสตรี (Women’s Leadership Forum-WLF) ของ 3เอ็ม ที่มุ่งพัฒนาผู้นำสตรีทุกระดับ เพื่อส่งเสริมให้สตรีทั่วโลกได้รับการยอมรับอย่างเท่าเทียมและมีความก้าวหน้าในอาชีพ ในปัจจุบันเรามีพนักงานสตรีในระดับผู้นำกว่า 5,000 คน ใน 65 สาขาวิชาชีพทั่วโลก ซึ่งรวมประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ในเอเชียด้วย
ประการที่สี่ : เราให้ความรู้เกี่ยวกับช่องว่างด้านความเท่าเทียมที่เกิดขึ้นในสังคมแก่พนักงานชาย เพื่อให้เขาเข้าใจปัญหาได้ดีขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อความเท่าเทียมในองค์กรอย่างแท้จริง อีกทั้งพวกเขาจะตระหนักรู้ว่าเขาจะสามารถสนับสนุนการยอมรับในความหลากหลายและการอยู่ร่วมกันอย่างเท่าเทียมด้วยการเห็นคุณค่าของทุกคนได้
ประการสุดท้าย : คือการปรับกระบวนการจัดหาพนักงาน เพื่อให้โอกาสแก่ผู้ที่มีความสามารถจากกลุ่มคนที่ได้รับโอกาสน้อยในสังคม ซึ่ง 3เอ็ม กำลังปรับกระบวนการสัมภาษณ์ผู้สมัครงานของเราใหม่ เพื่อให้มั่นใจว่ากระบวนการสัมภาษณ์จะปราศจากการตัดสินใจที่ลำเอียงและมีอคติ และเรากำลังวางระบบการบริหารกระบวนการสัมภาษณ์ใหม่ เพื่อมุ่งการจ้างงานจากทักษะอย่างแท้จริง โดยจะเริ่มนำมาใช้ที่สหรัฐอเมริกาเป็นที่แรก
นายจิม ฟาลเทอเสค รองประธานอาวุโส ฝ่ายกิจการองค์กรของ 3เอ็ม ภูมิภาคเอเชีย และกรรมการผู้จัดการของ 3เอ็ม ประเทศเกาหลี เผยว่า3เอ็ม ให้ความสำคัญกับ “การเป็นพันธมิตรอย่างแท้จริง” (REAL Allyship)ซึ่งย่อมาจาก ไตร่ตรอง เห็นอกเห็นใจ ลงมือทำ และเรียนรู้ (Reflect,Empathize, Act, Learn) เราส่งเสริมให้พนักงานไตร่ตรองประสบการณ์ มุมมองและความคิดของเขาที่มีต่อผู้อื่น และพิจารณาว่าความคิดนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไรและมีผลกระทบต่อผู้อื่นอย่างไร เพราะเราเชื่อว่าการเห็นอกเห็นใจเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาไปสู่ความเท่าเทียมกัน เราจึงส่งเสริมให้พนักงานชายเรียนรู้และเข้าใจความท้าทายที่ผู้หญิงกำลังประสบอยู่ในที่ทำงานด้วยการรับฟัง การอ่าน และการร่วมสนทนากับผู้หญิง การเรียนรู้เหล่านี้ทำให้พนักงานของเรามีส่วนร่วมในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เป็นน้ำหนึ่งใจเดียว ร่วมต่อสู้เพื่อบุคคลที่ได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม โดยเขาสามารถเรียนรู้เรื่องนี้ต่อไปอย่างไม่รู้จบ
3เอ็ม ตระหนักดีว่าการเป็นพันธมิตรสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบซึ่งช่วยให้เราสามารถสนับสนุนการเป็นพันธมิตรในรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับแต่ละบุคคลอย่างแท้จริง เรามีพนักงานชายเป็นพันธมิตรผ่าน โครงการ Men as Advocates หรือ “แนวร่วมบุรุษเพื่อความเสมอภาค” เราขอเชิญชวนทุกคนมาร่วมท้าทายแบบแผนทางความคิดแบบเดิมๆ ที่มองผู้หญิงและผู้ชายนั้นแตกต่างกัน และร่วมปรับกรอบความคิดและพฤติกรรมของเราให้เป็นกลางยิ่งขึ้น มาร่วมเป็นแนวร่วมในการต่อสู้เพื่อความเสมอภาค เพื่อองค์กรจะได้ก้าวไปสู่ความเท่าเทียมอย่างแท้จริง
นอกจากนี้ เรายังเป็นสปอนเซอร์ให้แก่โครงการต่างๆ ที่สนับสนุนให้ผู้หญิงและเยาวชนเข้าสู่วงการวิทยาศาสตร์มากขึ้นในส่วนของภูมิภาคอาเซียนนั้น เมื่อปี2564 ที่ผ่านมา 3เอ็ม ได้จัดเวทีแข่งขัน The 3M Inspire Challenge ครั้งแรก ในสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทยเวียดนาม และฟิลิปปินส์ เปิดโอกาสให้ตัวแทนของมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้แสดงแนวคิดในด้านเทคโนโลยี ความยั่งยืน และนวัตกรรม โดยทุกทีมมีพี่เลี้ยงอาสาสมัคร ที่เป็นบุคลากรของ 3เอ็ม คอยดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะสร้างคนรุ่นต่อๆ ไปให้เป็นผู้นำ นักคิด และนักสร้างสรรค์ ที่มีความหลากหลาย แต่ละทีมจึงต้องมีสมาชิกผู้ชายหนึ่งคนและผู้หญิงหนึ่งคนเป็นอย่างน้อย มีผู้เข้าร่วมการแข่งขันกว่า 120 ทีม และกิจกรรมดังกล่าวประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก
“ความไม่เสมอภาคระหว่างผู้หญิงและผู้ชายเป็นสิ่งที่ท้าทายและซับซ้อนการตั้งเป้าหมายเพื่อการยอมรับในความหลากหลาย หรือการสนับสนุนผู้บริหารที่เป็นผู้หญิงเพียงอย่างเดียวจึงไม่เพียงพอที่จะขจัดช่องว่างในสังคมที่เกิดขึ้นมาอย่างยาวนาน แต่เมื่อใดก็ตามที่เราสามารถขจัดทัศนคติเชิงลบในเรื่องความแตกต่างระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย และจัดการกับความรู้สึกและการกระทำที่ไม่เป็นกลางต่อผู้อื่นจากทัศนคติลบในจิตใต้สำนึก เมื่อนั้นเราจึงจะเริ่มเปลี่ยนแปลงสังคมจากภายในสู่ภายนอกให้มีความเสมอภาคได้อย่างแท้จริง”นายจิม ฟาลเทอเสค กล่าวในที่สุด
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี