วันอาทิตย์ ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
เช็คอาการ ‘อะเฟเซีย Aphasia’  ภาวะผิดปกติด้านทางการสื่อสาร ที่ ‘บรูซ วิลลิส’ กำลังเผชิญ

เช็คอาการ ‘อะเฟเซีย Aphasia’ ภาวะผิดปกติด้านทางการสื่อสาร ที่ ‘บรูซ วิลลิส’ กำลังเผชิญ

วันอังคาร ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2565, 06.30 น.
Tag : อะเฟเซีย Aphasia ภาวะผิดปกติด้านทางการสื่อสาร บรูซ วิลลิส
  •  

วงการฮอลลีวู้ดมีเรื่องให้ช็อคอีกแล้ว เมื่อบรูซ วิลลิส นักแสดงรุ่นใหญ่ของวงการ เจ้าของตำนาน “จอห์น แมคเคน” ในภาพยนตร์ Die Hart คนอึดถึกตายยาก ออกมาโพสต์ในโซเชียลประกาศอำลาวงการแสดง เนื่องจากกำลังเผชิญกับปัญหาสุขภาพ ด้วยภาวะอะเฟเซีย (Aphasia) ซึ่งจะส่งผลต่อกลไกการรับรู้ ด้วยอาการภาวะผิดปกติด้านทางการสื่อสาร ทำให้เขาจำเป็นต้องยุติบทบาทอาชีพนักแสดง ซึ่งเป็นอาชีพที่มีความหมายต่อเขามาก

ภาวะอะเฟเซีย (Aphasia) คือ อะไร ร้ายแรงขนาดไหนถึงทำให้นักแสดงมืออาชีพอย่าง บรูซ วิลลิส ถึงกับต้องออกจากวงการแสดง รวมถึงครอบครัวของเขายังเขียนเพิ่มเติมด้วยว่า “หลังจากนี้พวกเราต้องเจอเรื่องท้าทายอีกมากมาย และพวกเราได้รับรู้ถึงความรักและความหวังดีจากทุกๆ คน” แสดงถึงภาวะของอาการนี้จะมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของเขากับครอบครัวและคนรอบด้านอีกมากมาย


 

 

แพทย์หญิงปิยะนุช รักพาณิชย์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู และผู้อำนวยการ สวนสุขภาพอรุณสหคลินิก (Arun Health Garden) ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูผสมผสาน กายภาพบำบัด และดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับภาวะอะเฟเซีย (Aphasia) รวมทั้งใครบ้างที่เป็นกลุ่มเสี่ยง

ภาวะอะเฟเซีย Aphasia คืออะไร : “อะเฟเซีย” ไม่ใช่โรค แต่เป็นภาวะผิดปกติด้านทางการสื่อสาร ซึ่งอาจจะเสียความสามารถในการพูด หรือไม่เข้าใจในสิ่งที่
ผู้อื่นพูด หรือมีความผิดปกติทั้ง 2 อย่าง

อาการของโรค : ภาวะอะเฟเซียแบ่งได้ง่ายๆ เป็น 2 ประเภท คือ ประเภทที่ 1 พูดได้ปกติหรือพูดคล่อง แต่ไม่เข้าใจในคำพูดของผู้อื่น คือบกพร่องที่การรับรู้ความเข้าใจ ประเภทที่ 2 คือ บกพร่องด้านการพูด คือ เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นสื่อสาร แต่ไม่สามารถพูดออกมาได้ตามปกติ เช่น นึกคำไม่ออก ผู้ป่วยบางคน
อาจจะมีอาการได้ทั้ง 2 ประเภท

ความรุนแรงของอะเฟเซีย : มีหลายระดับ ถ้าเป็นน้อยอาจจะแค่นึกคำบางคำไม่ออก แต่ถ้ามีอาการมากก็ไม่สามารถสื่อสารได้เลยเพราะไม่เข้าใจในสิ่งที่ผู้อื่นพูดรวมถึงไม่สามารถพูดโต้ตอบได้

กลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดภาวะอะเฟเซีย : เพราะอะเฟเซียเป็นอาการที่เกิดเนื่องมาจากสมองส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมการใช้ภาษาได้รับความเสียหาย เช่น โรคหลอดเลือดสมองตีบหรือหลอดเลือดสมองแตกในบริเวณของสมองที่ใช้ควบคุมการสื่อสารในการพูด ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด นอกจากนี้ อาจมาจากสาเหตุอื่นๆ เช่น อุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนที่สมอง การติดเชื้อในสมอง เนื้องอกในสมอง มีภาวะสมองเสื่อม เป็นต้น

จะรู้ได้อย่างไรว่ามีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะอะเฟเซีย : เนื่องจากอะเฟเซียมีสาเหตุเกิดจากความผิดปกติของสมอง ดังนั้น
ถ้ามีอาการผิดปกติของสมองโดยเฉพาะเส้นเลือดตีบหรือแตก ก็มีโอกาสเป็นได้สูง รวมถึงอาการในข้อที่ 4 หรือไปพบแพทย์เพื่อทดสอบอาการ หรือให้แพทย์ตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องมือต่างๆ เช่น การทำ CT Scan, การทำ
MRI เพื่อหาความผิดปกติของสมอง กล้ามเนื้อ ไขมัน เป็นต้น

วิธีสังเกตอาการ : ถ้ามีความผิดปกติเกี่ยวกับการสื่อสารกับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นการที่ไม่เข้าใจในสิ่งที่ผู้อื่นสื่อสาร หรือผิดปกติด้านการพูด เช่น การนึกคำพูด การใช้คำพูด การเขียนหรือการอ่าน ให้รีบปรึกษาแพทย์

วิธีรักษา : ต้องรักษาที่สาเหตุที่ทำให้เกิดอะเฟเซีย โดยการรักษาอาการผู้ที่เป็นภาวะอะเฟเซียแล้ว จะมีการฟื้นฟูทางด้านการพูดและสื่อสาร โดยนักอรรถบำบัด หรือนักแก้ไขการพูด

สามารถป้องกันได้อย่างไร : อะเฟเซียเป็นเรื่องของภาวะบกพร่องทางสมอง ดังนั้นวิธีป้องกัน คือการดูแลสุขภาพสมองให้ดี โดยการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมต่างๆ ที่จะสร้างความเสียหายแก่สมองของเรา เช่น พฤติกรรมหรือโรคที่ทำให้เกิดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง หรือสมองเสื่อม ที่มาจากโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ และไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

‘เรืองไกร’บี้นายกฯยกเลิกมติ ครม.อนุมัติงบเพิ่มค่าก่อสร้าง‘ตึก สตง.’แห่งใหม่

อุทาหรณ์‘สมีแย้ม’! สตรีกับสตางค์ พัง‘พระผู้ใหญ่’พินาศ

‘ธนกร’ห่วง‘ฝนตก’รถติดทำถนนอัมพาตหนัก จี้‘ผู้ว่าชัชชาติ-ตำรวจจราจร’เปิดแผนรับมือ

สมุทรสาครบุกจับอีก! สถานบันเทิงเปิดเกินเวลา ตรวจฉี่นักท่องราตรี

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved