วันอาทิตย์ ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
ภูมิบ้าน ภูมิเมือง :  ‘๑๕๐ปีขรัวโต’ ระลึกวันมรณภาพสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต)

ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : ‘๑๕๐ปีขรัวโต’ ระลึกวันมรณภาพสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต)

วันอาทิตย์ ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2565, 06.00 น.
Tag : สมเด็จโต ขรัวโต สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต)
  •  

โบสถ์ภาพประวัติสมเด็จโต

ด้วยวันที่ ๒๒ มิถุนายน ที่ผ่านมา เป็นวันที่ระลึกของ “สมเด็จโต” หรือ “ขรัวโต” พระมหาเถระแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ด้วยเป็นวันมรณภาพของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) อาทิตย์นี้ขอย้อนรอยสยามหาเรื่องราวมาบันทึกไว้ว่า เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๑๐ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ได้มาเป็นประธานการก่อสร้างปูชนียวัตถุครั้งสุดท้ายของท่าน คือ พระพุทธรูปหลวงพ่อโต หรือพระศรีอริยเมตไตรย ณ ตำบลบางขุนพรหม (บริเวณวัดบางขุนพรหมใน หรือวัดอินทรวิหาร ปัจจุบัน) การสร้างปูชนียวัตถุขนาดใหญ่นั้นเป็นพระอัธยาศัยของสมเด็จโต ซึ่งชอบที่จะสร้างขนาดใหญ่ขึ้นก่อน เพื่อให้มองเห็นกันแต่ไกล ส่วนการสร้างเป็นวัดนั้น มักเกิดขึ้นภายหลังต่อเมื่อสถานที่นั้นมีผู้คนศรัทธามากขึ้น ดังปรากฏว่ามีวัดสำคัญหลายวัดที่ท่านสร้างเช่น พระนอนที่วัดสะตือ ใกล้บ้านไก่จ้น พระนครศรีอยุธยาพระนั่งสมาธิ “พระพุทธพิมพ์” ที่วัดเกศไชโย อ่างทอง,พระยืนอุ้มบาตร ที่วัดกลางคลองข่อย ราชบุรี และ พระนั่งวัดพิตเพียน หรือวัดกุฎีทอง พระนครศรีอยุธยา เป็นต้น 

การสร้างหลวงพ่อโตขนาดใหญ่ที่บางขุนพรหมแห่งนี้ก็เช่นเดียวกัน โดยมีศาลาเก่าของวัดวรามะตาราม สมัยธนบุรี (วัดใหม่อมตรสในปัจจุบัน)ใช้สำหรับพักและดูแลการสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่นั้นในขณะที่ก่อองค์พระหลวงพ่อโตได้ถึงเพียงระดับพระนาภี (สะดือ) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ได้ถึงมรณภาพเสียก่อนที่ศาลาเก่าใน ณ วันเสาร์ แรม ๒ ค่ำเดือน ๘ ปีวอก ตรงกับวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๑๕(จุลศักราช ๑๒๓๔) ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ขณะที่สมเด็จโตมีอายุได้ ๘๔ ปี ๒ เดือน ๕ วัน อยู่ในสมณเพศได้ ๖๔ พรรษา เป็นเจ้าอาวาสครองวัดระฆังโฆสิตารามได้ ๒๐ ปี สมเด็จโต พระมหาเถระรูปนี้ กำเนิดในปี พ.ศ.๒๓๑๙ (บางแห่งว่า พ.ศ.๒๓๓๑) ปลายรัชกาลของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ครั้นมีอายุได้ ๑๓ ปี สมเด็จโตได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดในเมืองพิจิตร  


งาน ๑๕๐ ปี วันมรณภาพ 

ต่อมาเมื่ออายุครบอุปสมบท ๒๐ ปี จึงได้บวชเป็นนาคหลวง ที่วัดตะไกร จ.พิษณุโลก และได้ศึกษาหาความรู้กับพระอาจารย์ต่างๆ ก่อนแล้วจึงเดินทางมาศึกษากับพระอาจารย์ที่มีชื่อในกรุงเทพฯ สุดท้ายได้จำพรรษาอยู่ที่วัดระฆังโฆสิตาราม สมเด็จโตนั้นได้เป็นพระพี่เลี้ยง และครูสอนหนังสือขอมและคัมภีร์มูลกัจจายน์ ให้พระภิกษุเจ้าฟ้าอิศรสุนทร (รัชกาลที่ ๒)ซึ่งทรงบรรพชาเป็นสามเณร จำพรรษาวัดสมอราย (วัดราชาธิวาส) และพระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎ ซึ่งครองวัดบวรนิเวศวรวิหารในสมัยรัชกาลที่ ๓ สมเด็จโต ได้รับสมณศักดิ์ตามลำดับและได้เป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ นับเป็นพระเถระผู้ใหญ่ที่รอบรู้ พระธรรมวินัย และธรรมปฏิบัติ อย่างแตกฉาน ด้วยมีความเป็นเลิศในการเทศนาสั่งสอนพุทธศาสนิกชน จนได้รับการยกย่องสรรเสริญถึงในสติปัญญาและปฏิญาณโวหารที่ฉลาดหลักแหลม ประกอบกับการที่เป็นพระเถระผู้เปี่ยมด้วยจิตเมตตากรุณาสูงแก่ผู้ตกยาก และมักน้อยถือสันโดษ จึงใกล้ชิดชาวบ้านและมีความนิยมศรัทธายกย่องเป็น “ขรัวโต”อย่างแพร่หลาย สมเด็จโตนับเป็นอัจฉริยเถระที่ได้รับการเคารพนับถือบูชามากที่สุด เป็นพระนักเทศน์ที่ได้รับความนิยม ด้วยเป็นพหูสูตผู้รอบรู้ทั้งทางโลกทางธรรม มีความเจนจบทั้งพระไตรปิฎกและคัมภีร์พระเวทต่างๆ เป็นผู้สร้าง “พระพิมพ์สมเด็จ” และชินบัญชรคาถา โดยเฉพาะ “พระสมเด็จ” นั้นเป็นพระเครื่องที่สืบต่อพระศาสนาตามอย่างพระเถระโบราณซึ่งนิยมสร้างพระพิมพ์ขึ้นบรรจุในปูชนียสถาน เป็นการสืบต่ออายุพระศาสนาให้ถาวรตลอดกาล ดังนั้น สมเด็จโตจึงได้สร้างพระสมเด็จจำนวน ๘๔,๐๐๐ องค์ เท่ากับจำนวนพระธรรมขันธ์ โดยสมเด็จโตคิดค้นแบบพิมพ์ และวิธีการสร้างตามแบบครูบาอาจารย์ และได้ถือปฏิบัติในข้อธุดงค์วัตรทุกประการ คือ ฉันอาหารในบาตร ถือผ้าสามผืนออกธุดงค์ เยี่ยมป่าช้า นั่งภาวนา เดินจงกรมอยู่เป็นนิจ จนวาระสุดท้ายบนศาลาวัดบางขุนพรหม ดังนั้น วัดใหม่อมตรส วัดอินทรวิหาร ตำบลบางขุนพรหม และวัดระฆังโฆสิตาราม ต.บางหว้าใหญ่รวมสามวัดในกรุงเทพฯ จึงจัดงานทำบุญในวันมรณภาพของขรัวโต พระเถระของชาวบ้านสืบมาจนวันนี้เช่นเดียวกันก็มีวัดอื่นๆ ทั่วประเทศที่ยังระลึกและเคารพนับถือ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พระมหาเถระรูปนี้ได้ร่วมจัดงานบุญระลึกถึงทั่วกัน

สมเด็จโต
สมเด็จโต
สมเด็จโตวัดระฆังโฆสิตาราม
สมเด็จโตวัดระฆังโฆสิตาราม
รูปหล่อหลวงพ่อโตวัดไชโย
รูปหล่อหลวงพ่อโตวัดไชโย
สวดชินบัญชรคาถา
สวดชินบัญชรคาถา
หลวงพ่อโตวัดเกศไชโย
หลวงพ่อโตวัดเกศไชโย
หลวงพ่อโตวัดอินทรวิหาร
หลวงพ่อโตวัดอินทรวิหาร
วัดบางขุนพรหม สร้างสมัยกรุงธนบุรี
วัดบางขุนพรหม สร้างสมัยกรุงธนบุรี
ศาลาเก่าที่สมเด็จโตมรณภาพ
ศาลาเก่าที่สมเด็จโตมรณภาพ
พระนอน-วัดสะตือ
พระนอน-วัดสะตือ

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

แชมป์แรกสโมสร! พาเลซโค่นเรือใบคว้าถ้วยเอฟเอคัพ

‘นายกฯ’เปิดทำเนียบฯ 19 พ.ค.ต้อนรับประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ครั้งแรกในรอบ 20 ปี

‘นิด้าโพลชี้ปชช.ห่วงอนาคตการศึกษาไทย ‘ค่าใช้จ่ายสูง-ไกลบ้าน’ตัดโอกาสเข้าเรียน

เปิดภาพ‘ทหารเขมร’รุกล้ำ‘ช่องบก’ขุดคูสร้างฐานที่มั่น เจรจาถอนกำลังแล้ว

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved