วันอาทิตย์ ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
เครียดลงกระเพาะ โรคยอดฮิตที่เกิดขึ้นได้กับทุกวัย

เครียดลงกระเพาะ โรคยอดฮิตที่เกิดขึ้นได้กับทุกวัย

วันจันทร์ ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2565, 06.00 น.
Tag :
  •  

ความเครียด เป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย และอาจนำมาสู่โรคทางกายต่างๆได้ หนึ่งในนั้นคือโรคกระเพาะหรือที่รู้จักกันว่า “เครียดลงกระเพาะ” ซึ่งเป็นโรคไม่รุนแรง แต่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโดยตรง

นายแพทย์สุขประเสริฐ จุฑากอเกียรติ อายุรแพทย์โรคระบบทางเดินอาหาร โรงพยาบาลเวชธานี อธิบายว่า กลุ่มโรคกระเพาะในทางการแพทย์สามารถแบ่งเป็น 4 กลุ่มอาการ ได้แก่ อาการปวดลิ้นปี่ เกร็งจุกเสียด อาการปวดแสบท้องบริเวณลิ้นปี่ อาการท้องอืด แน่น หลังรับประทานอาหาร อาการไม่อยากอาหาร อิ่มเร็ว


หากมีอาการเหล่านี้ แต่ตรวจแล้วพบว่าไม่มีสาเหตุทางกายภาพ หรือไม่มีแผลในกระเพาะอาหาร ทางการแพทย์จะเรียกว่า โรคกระเพาะอาหารแปรปรวน หรือ Functional Dyspepsia ซึ่งเป็นกลุ่มโรคกระเพาะที่ไม่มีสาเหตุชัดเจน แต่มีปัจจัยกระตุ้นที่ชัดเจน

ความเครียด เป็นอีกหนึ่งปัจจัย ที่สามารถทำให้เกิดอาการปวดท้องโรคกระเพาะได้ เนื่องจากสารสื่อประสาทในสมองมีผลต่อการทำงานของกระเพาะ ไม่ว่าจะเป็นทำงานช้าลง ส่งผลให้มีการกระตุ้นการหลั่งกรดในกระเพาะเยอะขึ้น จึงเป็นที่มีของคำว่า “เครียดลงกระเพาะ” ซึ่งสามารถพบได้ในทุกกลุ่มอายุ เพราะในแต่ละวัยมีความเครียดตามสถานการณ์ที่แตกต่างกัน เช่น วัยเรียนอาจจะมีความเครียดมากในช่วงสอบ โดยเฉพาะการสอบเพื่อเลื่อนระดับชั้น หรือสอบเพื่อย้ายเข้าโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย ในขณะที่วัยทำงาน อาจมีความเครียดจากความกดดันในหน้าที่การงาน

“เครียดลงกระเพาะ” ไม่ใช่โรคที่รุนแรง แต่เมื่อไหร่ที่มีอาการปวด อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต ซึ่งการดูแลตัวเองเบื้องต้นได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ออกกำลังกาย หรือทำงานอดิเรกที่ผ่อนคลาย เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดความเครียด นอกจากนี้แนะนำให้ปรับเปลี่ยนอาหาร เพราะอาหารบางอย่างอาจไปกระตุ้นอาการปวดท้องกระเพาะได้โดยเฉพาะประเภทอาหารเหล่านี้ได้แก่ ของมันของทอด อาหารปิ้งย่าง อาหารรสจัด และเครื่องดื่มกาเฟอีน ที่มักกระตุ้นให้การหลั่งกรดในกระเพาะเยอะขึ้น ทั้งนี้ ควรกระจายมื้ออาหารโดยการลดปริมาณอาหารต่อมื้อ และเพิ่มความถี่ในการรับประทานอาหารแทน

สำหรับการรักษาด้วยยา จะขึ้นอยู่กับว่ามีอาการปวดท้องกระเพาะแบบไหนตาม4 กลุ่มอาการ หากเป็นกลุ่มอาการปวดจุกเสียด หรือปวดแสบท้องกระเพาะ สามารถรับประทานยาเคลือบกระเพาะ ลดกรด เช่น ยาธาตุน้ำขาวในการดูแลตัวเองเบื้องต้นได้ หากเป็นกลุ่มอาการอืดแน่นท้องหลัง หรือรับประทานแล้วอิ่มง่าย อิ่มเร็ว แนะนำให้รับประทานยาที่ช่วยปรับการทำงานของกระเพาะ เช่น ยาขับลมช่วยย่อย หากรับประทานยาแล้ว อาการยังไม่ดีขึ้นภายใน 1-2 สัปดาห์ ควรมาปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสมกับอาการที่เป็น

อย่างไรก็ตาม ความเครียดและความวิตกกังวล สามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกายในส่วนต่างๆ โดยเฉพาะระบบย่อยอาหาร หากผู้ป่วยไม่สามารถจัดการกับความเครียดได้ด้วยตนเอง แนะนำให้ปรึกษาจิตแพทย์ ส่วนผู้ที่มีอาการปวดท้อง จุกหรือเสียดท้องติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือมีอาการกรดไหลย้อนร่วมด้วย ควรไปพบแพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบทางเดินอาหาร เพื่อตรวจหาสาเหตุและรับการรักษาอย่างเหมาะสม เพราะอาการดังกล่าวอาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย H.Pylori ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคแผลในกระเพาะอาหาร

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ม.รังสิต จัดโครงการให้ความรู้ความปลอดภัยทางน้ำและว่ายน้ำเป็น ม.รังสิต จัดโครงการให้ความรู้ความปลอดภัยทางน้ำและว่ายน้ำเป็น
  • พณ.นนทบุรี จัดงาน \'Best & Green of Non 2025\' โชว์ศักยภาพสินค้า-บริการ ยกระดับการค้ามูลค่าสูง สู่สังคมเศรษฐกิจแบบยั่งยืน พณ.นนทบุรี จัดงาน 'Best & Green of Non 2025' โชว์ศักยภาพสินค้า-บริการ ยกระดับการค้ามูลค่าสูง สู่สังคมเศรษฐกิจแบบยั่งยืน
  • Photo of the week : ภาพเด็ดประจำสัปดาห์ Photo of the week : ภาพเด็ดประจำสัปดาห์
  • Science Update : โบอิงและนาซา ระงับโครงการ ‘เครื่องบินสาธิตการบินยั่งยืน’ Science Update : โบอิงและนาซา ระงับโครงการ ‘เครื่องบินสาธิตการบินยั่งยืน’
  • คุยกัน7วันหน : โป๊ปเลโอที่ 14  จะนำพาคริสตจักรคาทอลิกไปทิศทางใด คุยกัน7วันหน : โป๊ปเลโอที่ 14 จะนำพาคริสตจักรคาทอลิกไปทิศทางใด
  • Health News : ‘พฤติกรรมประจำวันง่ายๆ’ มีส่วนช่วยฟื้นฟูสุขภาพจิต Health News : ‘พฤติกรรมประจำวันง่ายๆ’ มีส่วนช่วยฟื้นฟูสุขภาพจิต
  •  

Breaking News

'หมอวรงค์'สอนมวย'นพดล' หยุดถูไถ!ก้มหน้าก้มตาปกป้อง'คนชั้น 14'

'สืบตม.อุบลฯ'ลุยตรวจสถานประกอบการ สกัดกันค้ามนุษย์ผิดกฎหมาย

'พิพัฒน์'ขับเคลื่อนความร่วมมือแรงงานอาเซียน พบ'รมว.เกาหลี–มาเลเซีย' เตรียมยกระดับแรงงานไทยสู่มาตรฐานสากล

'สมเด็จพระสังฆราช'ประทานพระคติธรรมเนื่องในวันวิสาขบูชา

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved