วันอาทิตย์ ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะในภาวะลองโควิด

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะในภาวะลองโควิด

วันจันทร์ ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2565, 06.30 น.
Tag : ภาวะลองโควิด โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โควิด-19
  •  

หายจากโควิด-19 อย่าเพิ่งสบายใจเพราะอาจเกิดโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะในภาวะลองโควิด หากปล่อยไว้ไม่รีบรักษาเสี่ยงหัวใจล้มเหลว

ลองโควิด (Long COVID) เป็นภาวะที่ผู้ป่วยกังวลใจไม่น้อยกว่าการได้รับเชื้อโควิด-19 เพราะยังไม่มีสาเหตุที่แน่ชัดและไม่อาจรู้ได้เลยว่าจะมีอาการอะไรเกิดขึ้นกับร่างกายของผู้ป่วยบ้าง บางรายอาจมีผื่นแพ้ขึ้นตามผิวหนังส่วนต่างๆ ของร่างกาย มีเสมหะหรือไอเรื้อรัง บางคนมีภาวะซึมเศร้า แต่ที่น่ากังวลคืออาการเกี่ยวกับโรคหัวใจโดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจอยู่แล้วอาจเสี่ยงเกิดภาวะเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบหรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ


 

 

นายแพทย์ปริวัตร เพ็งแก้ว อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือดเฉพาะทางด้านสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ โรงพยาบาลเวชธานี ระบุว่า อัตราการเกิดลองโควิดมีประมาณร้อยละ 40-60 จากการรายงานข้อมูลทั่วโลก ซึ่งอาจเกิดจากภูมิคุ้มกันลดลงจากภาวะการอักเสบของร่างกายในขณะติดเชื้อโควิด-19 การแยกรักษาตัวอยู่บ้านหรือนอนโรงพยาบาลเป็นเวลานาน โดยเฉพาะผู้ป่วย ICU ผลข้างเคียงจากการใช้ยาในการรักษาโควิด

“โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยโรคหัวใจเป็นอย่างมาก เพราะจะทำให้อาการที่เป็นอยู่รุนแรงขึ้นหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้ง่าย ในขณะที่คนทั่วไปที่ไม่มีโรคหัวใจก็อาจได้รับผลกระทบต่อกล้ามเนื้อหัวใจและเยื่อหุ้มหัวใจได้เช่นกัน ทำให้เมื่อหายจากโรคโควิดแล้วก็ยังมีอาการของหัวใจหลงเหลืออยู่ โดยเฉพาะอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะที่มักพบในผู้ป่วยลองโควิดเป็นจำนวนมาก ซึ่งผู้ป่วยมักจะมาพบแพทย์ด้วยอาการเหนื่อยง่าย ใจสั่น หน้ามืด วูบ เป็นลม”นายแพทย์ปริวัตรกล่าว

สำหรับอาการลองโควิดที่เกี่ยวกับหัวใจมีทั้งอาการเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย เจ็บหน้าอก หัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นต้น โดยแต่ละคนอาจมีอาการมากน้อยไม่เท่ากันหรือระยะเวลาในการแสดงอาการแตกต่างกันไปซึ่งจำเป็นต้องพบแพทย์เฉพาะทางด้านโรคหัวใจเพื่อตรวจร่างกาย ตรวจระบบการหายใจ เอกซเรย์ปอด ตรวจเลือด รวมถึงการตรวจดูสมรรถภาพการทำงานของหัวใจอื่นๆ เช่น ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram : EKG) ตรวจด้วยคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดพกพา24-48 ชั่วโมง (24-48 hour Holter Monitoring)

 

 

ทั้งนี้ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะเป็นอีกหนึ่งโรคหัวใจที่พบบ่อยในผู้ป่วยลองโควิด โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อยง่าย ใจสั่น หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะตามธรรมชาติ อาจเต้นเร็วหรือช้าเกินไป ทำให้หัวใจสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายได้น้อยลงเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลว เกิดลิ่มเลือดไปอุดตันสมองหรืออาจทำให้เสียชีวิตได้ โดยภาวะโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดเต้นช้าและชนิดเต้นเร็ว โดยแพทย์จะพิจารณาการรักษาตามชนิดและความรุนแรงของโรค ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานยาและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง เช่น ความเครียด งดเครื่องดื่มกาเฟอีน และงดแอลกอฮอล์ไม่นอนดึก แต่ถ้าไม่ดีขึ้นหรือโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะมีความรุนแรง แพทย์จะพิจารณาการรักษาด้วยการสวนและจี้ไฟฟ้าหัวใจ

สำหรับเทคโนโลยีรักษาด้วยการสวนและจี้ไฟฟ้าหัวใจ (EP study with Radiofrequency ablation) คือการจี้ด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูง ด้วยการใช้สายสวนสอดไปตามหลอดเลือดบริเวณขาหนีบจนถึงห้องหัวใจ ซึ่งปลายสายจะมีขั้วปล่อยพลังงานคลื่นวิทยุ เมื่อพบตำแหน่งที่กระแสไฟฟ้าหัวใจผิดปกติแพทย์จะจี้ไฟฟ้าทำลายทันที โดยวิธีนี้ผู้ป่วยมีโอกาสหายขาดสูงถึงร้อยละ95-98 และไม่ต้องกินยาไปตลอดชีวิต

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • รู้จัก! ยา  ‘เหลียนฮัว ชิงเวิน’ หลัง อย. อนุมัติเป็นยาบรรเทากลุ่มอาการโควิดในไทย รู้จัก! ยา ‘เหลียนฮัว ชิงเวิน’ หลัง อย. อนุมัติเป็นยาบรรเทากลุ่มอาการโควิดในไทย
  • กรมวิทย์ เผยโควิด-19  สายพันธุ์ JN.1* ยังพบมากที่สุดในไทย กรมวิทย์ เผยโควิด-19 สายพันธุ์ JN.1* ยังพบมากที่สุดในไทย
  •  

Breaking News

'เพื่อไทย'โต้เฟกนิวส์!! ยัน'รัฐบาล'ไม่มีส่งวัตถุโบราณ 20 ชิ้นให้กัมพูชา

รองโฆษกเพื่อไทยฉะสส.ตีรวน ชงนับองค์ประชุมมุ่งการเมืองเกินไป

นายกฯอิ๊งค์ยินดี 'เติ้น-ทัศนพล'สร้างประวัติศาสตร์ นักขับไทยคนแรกคว้าแชมป์ฟอร์มูล่าทรี 2025

‘เด็จพี่’เย้ย‘นายกฯชั่วคราว’แค่ฝันกลางวัน ไล่‘ฝ่ายค้าน’ไปเคลียร์กันก่อนจะชูใคร

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved