วันอังคาร ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
แหวกฟ้าหาฝัน : ดูเครื่องกระเบื้องจากโรงงานราชสำนักบาวาเรีย

แหวกฟ้าหาฝัน : ดูเครื่องกระเบื้องจากโรงงานราชสำนักบาวาเรีย

วันอาทิตย์ ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2565, 06.00 น.
Tag : แหวกฟ้าหาฝัน ศิลปะร่วมสมัย งานอาร์ต ศิลปินนานาชาติ ผลงานศิลปะ
  •  

นักท่องเที่ยวสายมิวเซียมที่ได้มีโอกาสมาเยือนพระราชวัง Nymphenburg ไม่เพียงจะมีโอกาสได้เยือนมิวเซียมรถม้าที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในโลกแล้ว ที่นี่ยังมีมิวเซียมเครื่องกระเบื้องพระราชสำนักให้เยือนอีกต่างหากด้วย มิวเซียมที่มีของสะสมเป็นเครื่องกระเบื้องของราชสำนักตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18-20 แห่งนี้ตั้งอยู่ชั้นบนของมิวเซียมรถม้า

หลังจากที่พระเจ้า Maximilian III Joseph เจ้าชายผู้ครองนครบาวาเรียเสด็จมาครองเมืองพระองค์ก็มีพระกระแสรับสั่งให้ก่อตั้งโรงงานผลิตกระเบื้องขึ้นด้วยเงินพระคลัง ในวันที่ 11 พฤศจิกายน 1747 โรงงานผลิตที่มีทั้งช่างปั้นหม้อและผู้ออกแบบทรวดทรง รวมทั้งห้องเขียนสีได้ถูกจัดตั้งขึ้นที่ Grune Schlossl ต่อมาในปี1754 Joseph Jakob Ringler ผู้เชี่ยวชาญทางด้านงานกระเบื้องที่ทำงานทั้งในออสเตรียและเยอรมนี ได้พยายามปั้นให้โรงงานแห่งนี้เป็นโรงงานที่ประสบความสำเร็จทางด้านกระเบื้องที่สำคัญของยุโรปตอนกลาง ภายในเวลาเพียงแค่ปีเดียว ในปี 1755 โรงงานก็ได้รับคำสั่งสินค้าจากราชสำนักบาวาเรียเป็นครั้งแรก และปีต่อมาโรงงานก็สามารถผลิตเครื่องกระเบื้องแบบมีสีสันลวดลายให้ราชสำนัก


ในปี 1758 โรงงานได้แต่งตั้งให้ Count Sigmund von Haimhausen ขุนนางผู้อำนวยการคณะกรรมการเหมือง และผลิตเหรียญกษาปณ์และประธาน Bavarian Academy of Sciencesมาเป็นประธานบริหารโรงงานแห่งนี้ เขาได้ย้ายโรงงานเข้าไปยังตึก 2 ชั้นที่เคยเป็นคอกม้าเดิมของพระราชวัง Nymphenburg หรือตำแหน่งของมิวเซียมในปัจจุบันจนทำให้ที่นี่กลายเป็นแหล่งผลิตกระเบื้องที่สำคัญของยุโรป ต่อมาในสมัยพระเจ้า Ludwig I พระองค์ได้มอบหมายให้Dominik Auliczek the elder ประติมากรและจิตรกรชาว Bohemia และ Johann Peter Melchior นักปั้นกระเบื้องชาวเยอรมันเป็นผู้มาออกแบบชุดอาหารกระเบื้องที่มีอัตลักษณ์เป็นของบาวาเรียที่ภายหลังถูกลอกเลียนแบบไปใช้ทั่วยุโรป นอกจากนี้รัฐบาลยังได้จ้าง Franc Anton Bustelli ศิลปินชาวสวิสยุครอคโคโคมาร่วมออกแบบงานอีกต่างหากด้วย

แม้โรงงานจะประสบความสำเร็จอย่างดีมาหลายสิบปี แต่ในปี 1856 โรงงานกลับประสบปัญหาทางด้านการเงินจนต้องเลิกจ้างศิลปินและหยุดผลิตส่งผลให้รัฐบาลกลางสมัยนั้นทำการแปรรูปกิจการโดยการปล่อยให้เช่าครั้งแรกในปี 1862 ผู้บริหารใหม่ได้ปรับปรุงโรงงานโดยเน้นไปผลิตสินค้าทางด้านสุขภัณฑ์และการแพทย์
มากขึ้น ต่อมาในปี 1887 Albert Bauml คหบดีจากอุตสาหกรรมทอผ้าได้เช่าโรงงานต่อโดยหันมาให้ความสำคัญกับการผลิตกระเบื้องที่เน้นศิลปะร่วมสมัยอีกครั้งด้วยการทำงานร่วมกับ Hermann Gradl, Adelbert Niemeyer, Hans Behrens ศิลปินร่วมสมัย พร้อมกับลงทุนไปมากมายกับการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการผลิตกระเบื้องที่เพิ่มสีสัน

เมื่อ Albert Bauml บริหารจนลงตัวแล้วในปี 1909 เขาจึงได้ตั้งร้านขายสินค้าจากโรงงานบนถนน Odeonsplatz โดยให้ Emauel von Seidlสถาปนิก วิศวกร และนักออกแบบภายในชื่อดังแห่งยุคเป็นผู้ออกแบบร้านให้ ส่วนสินค้ากระเบื้องที่ขายในร้านมีตั้งแต่ถ้วยกาแฟ ตะกร้า แจกัน ของตกแต่งและโต๊ะโดยมีลูกค้าเป็นทั้งราชสำนักทั่วทั้งยุโรป ศาสนจักร และคหบดีทั้งในและต่างประเทศ หลังปี 1975 รัฐบาลบาวาเรียได้ให้ Wittelsbach Compensation Fund เป็นผู้เช่าโรงงานต่อ และยกให้ Prince Luitpold of Bavariaเช่าในปี 2011

นักท่องเที่ยวจะเห็นว่าของจัดแสดงในห้องต้นๆ จะออกโทนสีขาว และมีการเพิ่มสีสัน ความทันสมัยและความละเอียดลออมากขึ้นหลังจากที่เจ้าของโรงงานได้เชิญศิลปินร่วมสมัยในเวลานั้นมาออกแบบงานจนทำให้ชิ้นงานไม่ว่าจะเป็นแก้วกาแฟ ตุ๊กตาดูวิจิตรบรรจงมากขึ้นสมกับเป็นโรงงานกระเบื้องที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในยุโรปเลยทีเดียว

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • แหวกฟ้าหาฝัน : Frankfurt ประตูสู่ยุโรปตะวันตกที่ดีที่สุด แหวกฟ้าหาฝัน : Frankfurt ประตูสู่ยุโรปตะวันตกที่ดีที่สุด
  • แหวกฟ้าหาฝัน : Camille Pissarro in National Museum of Western Art Tokyo แหวกฟ้าหาฝัน : Camille Pissarro in National Museum of Western Art Tokyo
  • แหวกฟ้าหาฝัน : Auguste Renoir in National Museum of Western Art Tokyo แหวกฟ้าหาฝัน : Auguste Renoir in National Museum of Western Art Tokyo
  • แหวกฟ้าหาฝัน : Claude Monet in National Museum of Western Art Tokyo แหวกฟ้าหาฝัน : Claude Monet in National Museum of Western Art Tokyo
  • แหวกฟ้าหาฝัน : Manet in National Museum of Western Art Tokyo แหวกฟ้าหาฝัน : Manet in National Museum of Western Art Tokyo
  • แหวกฟ้าหาฝัน : Impressionism in National Museum of Western Art Tokyo 2 แหวกฟ้าหาฝัน : Impressionism in National Museum of Western Art Tokyo 2
  •  

Breaking News

สาวใหญ่สุดทน! โร่แจ้งความ ‘ผัวตีนโหดตบ-เตะหน้าปูด’ เผยกินกับข้าวเยอะก็โดน

'สจ.กอล์ฟ'อ่วม! ตร.แจ้งข้อหาเพิ่ม'ซ่องโจร' 'บิ๊กอู๊ด'ยื่นคัดค้านประกันตัวผู้ต้องหาทั้งหมด

4 ผู้สมัครลุ้นชิง ผอ.ไทยพีบีเอส สัมภาษณ์รอบสุดท้าย 29 พ.ค.นี้

ไม่เอาก็โง่! 'ราชวงศ์กาตาร์'เตรียมมอบเครื่องบินเจ็ทสุดหรูให้'ทรัมป์'ใช้เป็น'แอร์ฟอร์ซวัน'

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved