วันอังคาร ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
แหวกฟ้าหาฝัน : เที่ยวเมืองมหาวิทยาลัย Tubingen

แหวกฟ้าหาฝัน : เที่ยวเมืองมหาวิทยาลัย Tubingen

วันอาทิตย์ ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2565, 06.00 น.
Tag : แหวกฟ้าหาฝัน ศิลปะร่วมสมัย งานอาร์ต ศิลปินนานาชาติ ผลงานศิลปะ
  •  

นักท่องเที่ยวที่มาเยือน Stuttgart และต้องการเที่ยวเมืองในแคว้นเดียวกันเพื่อประหยัดค่ารถไฟ เมืองหนึ่งที่อยู่ไม่ไกลและสามารถเดินทางด้วยรถท้องถิ่น RE หรือ RB ก็คือ Tubingen เมืองที่มีชื่อแปลกแห่งนี้เป็นเมืองมหาวิทยาลัยเก่าแก่ของแคว้น Baden Wurttemberg เมืองนี้ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของ Stuttgart บนสองข้างของแม่น้ำ Neckar และ Ammer

เมืองที่มีหลักฐานเชื่อได้ว่ามีการตั้งรกรากกันมาตั้งแต่ 1,200 ปีก่อนคริสตกาล และนักประวัติศาสตร์ก็ค้นพบหลักฐานว่าที่นี่เคยเป็นที่อยู่ของชาวโรมันมาก่อนในราวปีคริสต์ศักราที่ 85 นี้เป็นที่อยู่ของชนเผ่า Alamanni หรือชาวเยอรมันพื้นเมืองที่อยู่ทางเหนือของแม่น้ำไรน์มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 6 อย่างไรก็ดีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่บันทึกในปี 1191 ไว้ว่า ส่วนที่เป็นปราสาทท้องถิ่นที่ชื่อ Hohentubingen นั้นสร้างตั้งแต่ปี 1078 ในช่วงเวลาที่เมืองถูกครอบครองโดยพระเจ้าเฮนรี่ที่ 4 แห่งเยอรมัน โดยพระองค์เป็นคนตั้งชื่อเมืองที่ควบรวมมาจากภาษาละตินยุคกลางสองคำคือ Tuingia และ Twingia


ระหว่างปี 1146 เมื่อ Count Hugo V ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น Hugo I พระองค์ก็สถาปนาเมืองนี้เป็นเมืองหลวงของ County Palatine of Tubingen เมืองนี้กลายเป็นศูนย์กลางทางด้านศาสนาในปี 1262 เมื่อพระสันตะปาปา Alexander IV จัดตั้งสำนักสงฆ์ Augustinianขึ้น และพระองค์ยังจัดตั้งสำนักสงฆ์ Franciscan เพิ่มขึ้นอีกแห่งในปี 1272 ต่อมาในปี 1300ที่นี่ก็ได้มีการก่อตั้งโรงเรียนสอนภาษาละตินขึ้น แต่เมื่อ Ulrich of Wurttemberg ผู้ครองเมืองเปลี่ยนศาสนาโดยหันมานับถือนิกายโปรแตสแตนท์เขาก็ประกาศยกเลิกสำนักสงฆ์ Franciscan เสียและขาดจากสำนักวาติกัน

แม้ผู้ครองนครจะเปลี่ยนนิกาย แต่ที่นี่ก็ยังเป็นเมืองที่มีและให้ความสำคัญกับศาสนา Duke Eberhard im Bart of Wurttemberg จึงได้ก่อตั้ง St. George’s Collegiate Church ขึ้นในปี 1470 พร้อมกันกับมหาวิทยาลัย Eberhard Karls จนทำให้มหาวิทยาลัยนี้เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดของยุโรปกลางการก่อตั้งมหาวิทยาลัยทำให้เมืองนี้กลายเป็นสถานที่ที่มีอิทธิพลสูงสุดในด้านการศึกษาในยุคจักรวรรดิโรมันโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านศาสนา และที่นี่ยังเป็นแหล่งรายได้สำคัญของเมืองจวบจนปัจจุบัน อีกทั้งยังเป็นมหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดของเยอรมนีด้วยโดยมีนักศึกษามากถึง 26,000 คน

ช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ความโกลาหลของเมืองเกิดขึ้นหลายครั้ง เริ่มตั้งแต่ระหว่าง 1622-25 เมืองนี้กลับเป็นเมืองคาทอลิกอีกครั้ง เพราะศาสนจักรคาทอลิกสามารถครอบครองแคว้น Wuttemberg ในช่วงสงคราม 30 ปีหลังจากนั้นในปี 1635 ชาวเมืองก็ติดกาฬโรค และในปี 1638 เมืองนี้ก็ถูกชาวสวีเดนเข้าครอบครอง และกลายเป็นของฝรั่งเศสระหว่างปี 1647-9ซ้ำร้ายในปี 1789 ตัวเมืองเก่ายังถูกไฟไหม้โชคร้ายยังไม่หมดไปจากเมือง หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 1938 ซึ่งเป็นเวลาที่นาซีเรืองอำนาจ พวกเขาได้เผาโบสถ์ยิวประจำเมืองจนก่อให้เกิดการจลาจล

อย่างไรก็ดี ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเมืองนี้กลับเป็นไม่กี่เมืองของเยอรมันที่ไม่ได้รับความเสียหายใดๆ เลย อันเป็นผลมาจากการที่เมืองนี้ไม่มีอุตสาหกรรม และจากความสามารถของ Theodor Dobler แพทย์ประจำเมืองที่เซ็นสัญญาสันติภาพไว้กับฝรั่งเศสจึงทำให้ฝรั่งไม่ทำลายเมืองแม้จะสามารถครอบครองเมืองได้ และย้ายออกจากเมืองไปก่อนสิ้นสุดสงครามเย็นในทศวรรษที่ 1990 แม้เมืองจะเคยรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางของศาสนจักรและการศึกษา แต่ในช่วงทศวรรษที่ 1950 เมืองกลับถูกแบ่งแยกทางด้านเศรษฐกิจและสังคมจากการที่ชาวนาและพ่อค้าที่อยู่ริมคลองมีเศรษฐานะไม่ดีตรงข้ามกับนักเรียนที่อยู่ย่านอาคารมหาวิทยาลัย ปัจจุบัน ความแบ่งแยกแตกต่างเริ่มหมดไป

นักท่องเที่ยวจะเห็นว่า เมืองมีความสวยงามน่าประทับใจตั้งแต่ลงรถไฟ เพราะมีอาคารที่มีลวดลาย graffiti สวยงามต้อนรับตั้งแต่แรก ตลอดทางเดินเข้าเมืองเต็มไปด้วยอาคารที่มีลักษณะจำเพาะหลากสีสัน ตรอกซอกซอยก็เต็มไปด้วยร้านรวงที่ขายสิ่งละอันพันละน้อย แค่ทางเดินเข้าเมืองก็ชวนให้หลงรักเมืองนี้ได้อย่างไม่ยากเย็นควรค่าแก่การเยือนสักครั้งในชีวิต

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • แหวกฟ้าหาฝัน : Frankfurt ประตูสู่ยุโรปตะวันตกที่ดีที่สุด แหวกฟ้าหาฝัน : Frankfurt ประตูสู่ยุโรปตะวันตกที่ดีที่สุด
  • แหวกฟ้าหาฝัน : Camille Pissarro in National Museum of Western Art Tokyo แหวกฟ้าหาฝัน : Camille Pissarro in National Museum of Western Art Tokyo
  • แหวกฟ้าหาฝัน : Auguste Renoir in National Museum of Western Art Tokyo แหวกฟ้าหาฝัน : Auguste Renoir in National Museum of Western Art Tokyo
  • แหวกฟ้าหาฝัน : Claude Monet in National Museum of Western Art Tokyo แหวกฟ้าหาฝัน : Claude Monet in National Museum of Western Art Tokyo
  • แหวกฟ้าหาฝัน : Manet in National Museum of Western Art Tokyo แหวกฟ้าหาฝัน : Manet in National Museum of Western Art Tokyo
  • แหวกฟ้าหาฝัน : Impressionism in National Museum of Western Art Tokyo 2 แหวกฟ้าหาฝัน : Impressionism in National Museum of Western Art Tokyo 2
  •  

Breaking News

ละคร ‘พ่อจ๋าแม่อยู่ไหน’ ออกอากาศ 13-16 พ.ค. ทางช่องวัน31

'เอกนัฏ'สั่งเร่งเช็กคุณภาพอากาศ รอบพื้นที่โกดังย่านลาดกระบังไฟไหม้

บ้านนายกฯ อังกฤษโดนเผา ตำรวจเร่งสอบโยงวางเพลิง

(คลิป) ‘อิ๊งค์’รับเสียดายโอกาส ‘ทักษิณ’ชวดบินกาตาร์เจอ‘ทรัมป์’ซี้เก่า

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved