วันศุกร์ ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2566
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
แหวกฟ้าหาฝัน : เยือน Red Dot Design Museum Singapore

แหวกฟ้าหาฝัน : เยือน Red Dot Design Museum Singapore

วันอาทิตย์ ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2566, 06.00 น.
Tag : งานอาร์ต ศิลปะร่วมสมัย แหวกฟ้าหาฝัน ศิลปินนานาชาติ ผลงานศิลปะ
  •  

นักท่องเที่ยวที่มีโอกาสเยือนสิงคโปร์ชอบงานศิลปะ และการออกแบบ สถานที่ท่องเที่ยวที่ต้องไปเยือนให้ได้ไม่เพียงแค่ National GallerySingapore แต่ยังมี Red Dot Museum อีกต่างหากด้วย มิวเซียมที่มีพื้นฐานมาจาก Red DotDesign Award นี้ มีต้นกำเนิดของรางวัลจากDesign Zentrum สถาบันออกแบบในเมือง Essenเยอรมัน รางวัลการออกแบบนานาชาติที่แจกโดยRed Dot GmbH & Co. ของเยอรมนี ให้กับนักออกแบบและผู้ผลิตที่สร้างสรรค์งานได้อย่างยอดเยี่ยมนี้มีมาตั้งแต่ปี 1955 เป้าหมายของการแจกรางวัลในช่วงเริ่มแรกก็เพื่อให้เกิดการรับรู้ถึงความเป็นมืออาชีพของนักออกแบบที่สร้างงานที่มีคุณค่าให้กับตลาด ผลของรางวัลได้กลายเป็นตรายางที่ประทับไว้ให้เห็นถึงคุณค่าของผลิตภัณฑ์

ในการควานหาการออกแบบที่ดีนั้น Red Dot Design Award เป็นหนึ่งในการแข่งขันการออกแบบที่ใหญ่ที่สุดในโลก คณะกรรมการประกวดได้ก่อตั้งรางวัลที่ได้รับการกล่าวขวัญในหมู่นักสร้างนวัตกรรมออกแบบ เพื่อให้การจัดการแข่งขันเป็นไปอย่างเท่าเทียมและกว้างขวาง Red Dot Award จึงแบ่งรางวัลเป็น 3 ประเภทนั่นคือ ProductDesign หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์มีชื่อว่าDesign Innovationen การแข่งขันจะเป็นไปอย่างกว้างขวางโดยให้ผู้ผลิตที่เป็นโรงงานเฟอร์นิเจอร์ ของใช้ในบ้าน เครื่องจักร รถ และเครื่องมือเข้าแข่งขันได้อย่างเสรี ผู้เข้าร่วมแข่งขันก็มาจากทุกมุมโลกไม่จำเป็นต้องเป็นสินค้าของเยอรมนีหรือยุโรปจึงเป็นรางวัลที่นักออกแบบถือว่าเป็นเกียรติอย่างสูง ต่อมาในปี 2000 คณะกรรมการก็เพิ่มรางวัลที่สองนั่นคือ Brand & CommunicationDesign เป็นรางวัลเกี่ยวกับการสร้างแบรนด์ และงานสร้างสรรค์ประจำปีโดยแบ่งรางวัลเป็นGrand Prix และ Junior Price ซึ่งมี 2 สาขา คือ Brand of the Year และ Agency of the Year


หลังจากการแจกรางวัลมาหลายปีคณะกรรมการมีความมุ่งหวังที่จะให้คนรุ่นใหม่ได้มีโอกาสชนะการแข่งขันและยินดีเข้าแข่งขันมากขึ้นจึงตั้งรางวัลสุดท้ายขึ้นนั่นคือ Design Concept หรือรางวัลแนวคิดการออกแบบซึ่งเริ่มต้นครั้งแรกในปี 2005 พร้อมกับการก่อตั้งมิวเซียมแห่งที่สองขึ้นในสิงคโปร์ รางวัลนี้มุ่งเน้นไปที่แนวคิดและวิสัยทัศน์ในการออกแบบ การแข่งขันจึงเน้นไปยังกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่อายุน้อย บริษัทก่อตั้งใหม่หรือนักเรียนที่เพิ่งเข้าสู่อุตสาหกรรมการออกแบบเพื่อเสริมสร้างการบ่มเพาะนวัตกรรมและเป็นกำลังใจสำหรับความพยายามทุ่มเทกับกลุ่มคนรุ่นใหม่

ส่วนผลงานที่ชนะรางวัลในแต่ละปีได้ถูกนำไปจัดแสดงไว้ที่ Villa Hugel ในเยอรมนี ประเทศต้นกำเนิดรางวัลมาตั้งแต่ปี 1955 และได้มีการก่อตั้งมิวเซียมแห่งแรกขึ้นในเมือง Essen ในปี1997 ต่อมาในปี 2005 คณะกรรมการประกวดได้จัดตั้ง Red Dot Museum แห่งที่สองขึ้นที่สิงคโปร์บนถนน Maxwell หน้าที่หลักของ Red DotMuseum ที่สิงคโปร์ก็เหมือนกับมิวเซียมในเยอรมนีก็คือ จัดแสดงผลงานออกแบบที่ชนะการประกวดในแต่ละปี นอกจากนี้ที่นี่ยังมีการจัดงานแสดงผลงานแฟชั่นด้วย อาทิ งานแสดงแฟชั่นของFerragomo ในปี 2007 นับจากก่อตั้งมิวเซียมแห่งที่สอง ชาวสิงคโปร์ และบริษัทสิงคโปร์ก็ได้รับรางวัลเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก อีกทั้งมิวเซียมเองก็กลายเป็นสถานที่จัดงานสำหรับภาคเอกชนอยู่เนืองๆ จวบจนกระทั่งย้ายมายังที่ตั้งปัจจุบันบนถนMarina Boulevard หน้า Marina Bay ในปี 2017

นักท่องเที่ยวที่มีโอกาสมาเยือน Red Dot Museum แห่งนี้ไม่เพียงจะมีโอกาสได้ชื่นชมตัวอาคารที่มีความโอ่อ่าทันสมัย แปลกตาทั้งภายนอกและภายในท่ามกลางบรรยากาศที่สวยงามของอ่าวที่สวยที่สุดของสิงคโปร์เท่านั้น แต่ยังมีโอกาสได้ชมผลงานอันน่าตื่นตาตื่นใจที่ชนะประกวดในหมวดต่างๆ อาทิ การขนส่ง การแพทย์ พัฒนาการเด็ก วิศวกรรม งานช่างสถาปัตยกรรม การแพทย์ และความเป็นอยู่ทั่วไปโดยแต่ละหมวดล้วนมีเป้าหมายที่จะอำนวยความสะดวก ประหยัดพลังงาน เพิ่มความปลอดภัย เร่งการขนส่งด้วยต้นทุนที่ต่ำลง และเพิ่มความสวยงาม หลังจากที่นักท่องเที่ยวเยี่ยมชมผลงานจนเสร็จสิ้น นักท่องเที่ยวก็จะเห็นว่าของใช้ส่วนหนึ่งที่เราใช้ๆ กันอยู่ทุกวันเป็นผลิตภัณฑ์ที่ชนะการประกวด และผู้ได้รับรางวัลทั้งในหมวดบุคคลและบริษัทส่วนใหญ่ในปี 2022 ล้วนเป็นผลผลิตของชาวจีนกว่าร้อยละ 80 อันแสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดว่า คนจีนและบริษัทจีนได้มาไกลจนก้าวข้ามการเลียนแบบไปอย่างไม่มีทางจะหวนกลับไปอีกแล้ว

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • แหวกฟ้าหาฝัน : เจ้าพ่อบัลเลต์ in Kunsthaus Zurich แหวกฟ้าหาฝัน : เจ้าพ่อบัลเลต์ in Kunsthaus Zurich
  • แหวกฟ้าหาฝัน : Camille Pissarro in Kunsthaus Zurich แหวกฟ้าหาฝัน : Camille Pissarro in Kunsthaus Zurich
  • แหวกฟ้าหาฝัน : Auguste Renoir in Kunsthaus Zurich แหวกฟ้าหาฝัน : Auguste Renoir in Kunsthaus Zurich
  • แหวกฟ้าหาฝัน : Edouard Manet in Kunsthaus Zurich แหวกฟ้าหาฝัน : Edouard Manet in Kunsthaus Zurich
  • แหวกฟ้าหาฝัน : Emil Collection in Kunsthaus Zurich แหวกฟ้าหาฝัน : Emil Collection in Kunsthaus Zurich
  • แหวกฟ้าหาฝัน : Impressionism in Kunsthaus Zurich แหวกฟ้าหาฝัน : Impressionism in Kunsthaus Zurich
  •  

Breaking News

เข้าป่าหาเห็ดพบโครงกระดูกมนุษย์วิ่งป่าราบ คาดเป็นชายชราที่หายตัวลึกลับเมื่อ 5 เดือนก่อน

‘กรมที่ดิน-ก.พ.ร.’เปิดแอพ Landsmaps ค้นหาข้อมูลที่ดิน สกัดแก๊งมิจฉาชีพดูดข้อมูล

ด่วน!!! ‘มท.’สั่งเด้ง‘นายอำเภอกระทู้’ เซ่นปมจับ 2 ผับฉาวภูเก็ต

'เสธ.หิ'ของขึ้น! สวน'ก้าวไกล'นายกฯต้องมาจากสภาฯ ไม่ใช่ตั้งกันที่ร้านอาหาร

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายประพันธ์ สุขทะใจ ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved