วันเสาร์ ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : 'คัมภีร์ใบลาน' ภูมิเอกสารโบราณ วัดเบญจมบพิตร

ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : 'คัมภีร์ใบลาน' ภูมิเอกสารโบราณ วัดเบญจมบพิตร

วันอาทิตย์ ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2566, 10.30 น.
Tag : ภูมิบ้าน ภูมิเมือง
  •  

ด้วยผลงานจากโครงการอนุรักษ์เอกสารโบราณวัดเบญจมบพิตร ปีงบประมาณ ๒๕๖๕ ตั้งแต่วันที่ ๘ กันยายน ๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ ของกรมศิลปากรโดยสำนักหอสมุดแห่งชาติ ที่ได้ดำเนินตามโครงการความร่วมมือระหว่างวัดเบญจมบพิตรกับกรมศิลปากรรวมระยะเวลา ๕ เดือน เพื่ออนุรักษ์คัมภีร์ใบลานของวัดเบญจมบพิตร ที่เก็บอยู่ใสตู้ธรรมมาแต่ครั้งสร้างวัดนั้น  


ผลของโครงการอนุรักษ์เอกสารโบราณครั้งนี้น่าสนใจมาก เพราะทำให้สามารถจัดประเภทคัมภีร์ใบลาน จำนวนมากถึง ๔๒๕ มัด ออกรหัสเลขที่ได้ ๗๑๙ เลขที่ รวมทั้งสิ้นจำนวน ๖,๒๗๕ ผูก และเอกสารโบราณ ประเภทหนังสือสมุดไทย จำนวน ๖ เล่ม ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งเอกสารโบราณกลางกรุงที่ใหญ่มาก และได้รับการพัฒนาไปสู่แหล่งเรียนรู้อีกระดับหนึ่งคัมภีร์ใบลานมีการสืบสายธารแห่งประวัติศาสตร์ไม่ขาดสาย ถึง ๓ สมัย ได้แก่ คัมภีร์ใบลานสมัยอยุธยา สมัยธนบุรี และสมัยรัตนโกสินทร์ รวมแล้วไม่ต่ำกว่า ๑๕๐ ผูก และพบคัมภีร์ที่เก่าแก่แต่ละสมัย ดังนี้ 

สมัยอยุธยา ได้แก่ วบจ.๒๒-๒๕  (วัดเบญจมบพิตร เลขที่ ๒๒-๒๕) เรื่อง วิมติวิโนทนี วินยฎีกา สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาทอง พ.ศ.๒๑๘๖ อายุ ๓๘๐ ปี สมัยธนบุรี ได้แก่ วบจ.๓๓๘ (วัดเบญจมบพิตร เลขที่ ๓๓๘) เรื่อง สารสังคหะ สมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พ.ศ.๒๓๒๐ อายุ ๒๔๖ ปี สมัยรัตนโกสินทร์ ได้แก่ วบจ.๒๗๑ (วัดเบญจมบพิตร เลขที่ ๒๗๑) เรื่อง ธรรมบทอัฏฐกถา สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (ร.๑) พ.ศ.๒๓๒๘ อายุ ๒๓๘ ปี   

ดังนั้นการพบคัมภีร์ใบลานสมัยรัตนโกสินทร์ที่สืบต่อกันตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๖ จึงทำให้ทราบว่าวัดเบญจมบพิตรแห่งนี้เป็นแหล่งเอกสารโบราณที่สามารถศึกษาเปรียบเทียบยุคสมัยของตัวอักษรแต่ละรัชกาลได้ในแหล่งเอกสารเดียวกัน พร้อมกันนี้ ยังมีการศึกษาประวัติศาสตร์การสร้างคัมภีร์ถวายในพระพุทธศาสนาในช่วงเปลี่ยนผ่านจาก ใบลานสู่ กระดาษหรือสมุดฝรั่ง  ซึ่งในสมัยรัชกาลที่ ๕ มีการปริวรรตพระไตรปิฎกจากอักษรขอมเป็นอักษรไทยจัดพิมพ์เป็นพระไตรปิฎก ฉบับพิมพ์อักษรไทยเป็นครั้งแรกของโลก

หลังจากนั้นไม่มีการผลิตซ้ำทำเพิ่มคัมภีร์ใบลาน แม้ว่าคัมภีร์ใบลานยังยังมีความศักดิ์สิทธิ์และศรัทธาสืบมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๖ก็ตาม ด้วยปรากฏว่ามีเจ้านาย เช่น สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้สร้างคัมภีร์ใบลานถวายไว้ในพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก และเจาะจงสร้างถวายเป็นการเฉพาะสำหรับวัดเบญจมบพิตร อีกด้วย

ตัวอย่างเช่น คัมภีร์ใบลาน เลขที่ ๕๒๔ เรื่อง เวสสันตรชาตกกถา พ.ศ.๒๔๖๑ อายุ ๑๐๕ปี, เจ้าจอมมารดาเปี่ยม(สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา)  สร้าง มหาปรินิพพานสูตร มหาสติปัฏฐานสูตร เป็นต้น ฉบับทองทึบ ๑๒ ผูก นอกจากนี้ยังมี ข้อสันนิษฐานจากคัมภีร์ใบลาน เลขที่ วบจ.๑๖๑ เรื่อง มังคลัตถทีปนี ด้วยปรากฏนามผู้สร้างว่า “เจ้าทับ” พ.ศ. ๒๓๘๖ อายุ ๑๘๐ ปี ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และสอดคล้องกับพระนามเดิมของ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงสันนิษฐานว่า ร.๓ ได้สร้างเป็นการส่วนพระองค์จึงให้ชื่อว่า “เจ้าทับ” ตาม พระนามเดิมของพระองค์ แม้จะไม่ประทับตราพระราชลัญจกรก็ตาม   

ในการปฏิบัติงานอนุรักษ์ ครั้งนี้ได้บูรณาการประสานความร่วมมือระหว่างกรมศิลปากร คณะสงฆ์ และประชาชน สร้างการรับรู้อย่างเป็นรูปธรรม ทำให้เกิดเครือข่ายอาสาสมัครท้องถิ่นในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม (อส.มศ.) รุ่นแรกในส่วนกลาง นับเป็นการบุกเบิกการสร้างเครือข่ายดูแลรักษาเอกสารโบราณให้ขยายวงกว้างออกไป ซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจของ  กรมศิลปากรที่ต้องการธำรงรักษา อนุรักษ์ สืบสาน มรดกทางศิลปวัฒนธรรม ที่เป็นภูมิปัญญาของบรรพชนจากรุ่นสู่รุ่นให้คงอยู่สืบไป

เมื่อวันพุธที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร ได้เป็นประธานในพิธีถวายคัมภีร์ใบลานที่ได้รับการอนุรักษ์แล้ว พร้อมหนังสือบัญชีทะเบียนเอกสารโบราณวัดเบญจมบพิตร แด่เจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตร พร้อมทั้งมอบเกียรติบัตรแก่ภาคีเครือข่ายอาสาสมัครท้องถิ่นในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม (อส.มศ.) ผู้ปฏิบัติงานอนุรักษ์เอกสารโบราณ ณ วัดเบญจมบพิตร เขตดุสิต กรุงเทพฯ อันเป็นก้าวสำคัญที่สร้างความมั่นใจในการเป็นผู้นำการอนุรักษ์ให้กับประชาชน และสร้างการรับรู้แก่ชุมชนท้องถิ่นที่อยู่ใกล้ชิดเอกสารโบราณ

โดยมีวัดเป็นแหล่งเอกสารโบราณ และคณะสงฆ์เป็นผู้เก็บรักษาสมบัติล้ำค่าเหล่านี้ไว้ ให้ผู้สนใจและใฝ่รู้ทั้งหลายได้ตระหนักถึงความสำคัญ คัมภีร์ใบลาน นั้นเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของพุทธศาสนาในแผ่นดินสยามตลอดไป

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

กรมประมง-เร่งเสริมศักยภาพ ‘การเพาะเลี้ยงม้าน้ำ’ สู่สัตว์น้ำเศรษฐกิจมูลค่าสูง

สลด!ลุงตั้งใจกลับบ้านมาเลือกตั้ง ขับซาเล้งตกคันนาทับคอดับกลางทุ่ง

พยาบาลคนดังมาตอบแล้ว! ดราม่า'ณเดชน์'หอบหืด แต่วิ่งจนซิกแพคขึ้น

'น้าแพน'เชื่อมีคนยุยงเบื้องหลังพ่อ-น้องชายปมมรดก 4.8 ล้าน 'ทนายไพศาล'ลุยช่วยคดี

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved