วันอังคาร ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
แพทย์เผยผลกระทบฝุ่น PM2.5 เสี่ยงต่อโรคหัวใจ

แพทย์เผยผลกระทบฝุ่น PM2.5 เสี่ยงต่อโรคหัวใจ

วันพฤหัสบดี ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2566, 06.00 น.
Tag : โรคหัวใจ ฝุ่น PM2.5
  •  

จากวิกฤตฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM2.5 ในอากาศมีปริมาณเกินค่ามาตรฐาน ส่งผลให้เกิดสภาวะมลพิษทางอากาศในประเทศไทยโดยปริมาณการสะสมของฝุ่นในอากาศมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น และไม่เพียงแต่ประเทศไทยที่กำลังเผชิญกับปัญหาดังกล่าว แต่ฝุ่น PM2.5 ได้กลายเป็นปัญหาในหลายเมืองใหญ่ของโลก ซึ่งสามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้

บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) หรือ BDMS เครือข่ายโรงพยาบาลเอกชนมาตรฐานคุณภาพระดับสากล ตระหนักถึงความสำคัญต่อสุขภาพของประชาชนรณรงค์ให้ทุกคนหันมาใส่ใจร่างกายและป้องกันตัวเองก่อนเกิดโรคพร้อมดูแลคนที่ไม่ป่วย ไม่ให้ป่วยได้หยิบยกเรื่องราวภัยร้ายของผลกระทบจากฝุ่น PM2.5 ที่ไม่เพียงแต่จะแพร่กระจายเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ กระแสเลือด และส่งผลเสียต่อระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายเท่านั้น แต่ยังสามารถทำร้ายหัวใจถึงขั้นป่วยหัวใจล้มเหลว (Heart Failure) และหัวใจวาย (Heart Attack) ได้ ฉะนั้นการหลีกเลี่ยงฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 จึงเป็นสิ่งที่ต้องตระหนักและระมัดระวัง เพื่อดูแลสุขภาพของระบบหัวใจและหลอดเลือดให้แข็งแรงไปอีกนาน


นพ.ชาติทนง ยอดวุฒิ

นพ.ชาติทนง ยอดวุฒิ อายุรแพทย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ เปิดเผยว่าฝุ่นละออง PM2.5 นับเป็นสารอนุมูลอิสระ (Free Radical) เช่นเดียวกับบุหรี่ และบุหรี่ไฟฟ้าที่สามารถก่อให้เกิดโรคเรื้อรังได้ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน หรือโรคทางปอด ซึ่งสัมพันธ์กับปริมาณที่ได้รับอย่างมีนัยสำคัญโดยฝุ่น PM2.5 จะเข้าไปกระตุ้นให้เกิดการอักเสบของหลอดเลือดจนเกิดเป็นลิ่มเลือด หากได้รับในปริมาณสูงก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดได้อย่างชัดเจน

ผลกระทบจาก PM2.5 นั้นแบ่งออกได้เป็น 2 อาการ ได้แก่ อาการหลอดเลือดเสื่อมสภาพ หนาตัวขึ้น และอาการกล้ามเนื้อหดตัวแข็งขึ้นยืดหยุ่นน้อยลง ส่งผลต่อเกล็ดเลือดทำให้เกิดการสลายลิ่มเลือดยากขึ้น และเกล็ดเลือดเกาะกลุ่มได้ง่ายขึ้น เมื่อปัจจัยทั้งสองเกิดขึ้นก็จะมีโอกาสทำให้เกิดโรคหลอดเลือดตีบตันได้

นพ.ชาติทนง กล่าวต่ออีกว่าผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 นั้นไม่เกี่ยวกับอายุแต่เกี่ยวข้องกับปริมาณที่ร่างกายได้รับจนเกิดการสะสมขึ้นในร่างกาย ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น หอบหืด เบาหวาน และความดันก็ย่อมมีความเสี่ยงมากกว่าคนกลุ่มอื่นเนื่องจากมีความอ่อนไหวสูง อีกทั้งขณะนี้แพทย์ทั่วโลกกำลังเตือนภัยและยกระดับความเสี่ยงของ PM2.5 ว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับต้นๆ เทียบเท่ากับบุหรี่ ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจหรือกระตุ้นโรคประจำตัวได้อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม คนที่สุขภาพดีก็ต้องดูแลป้องกันตัวเองด้วยเช่นกันเพราะหากสูดฝุ่น PM2.5 เข้าไปในปริมาณสูงก็จะส่งผลต่อหลอดเลือดได้ ล่าสุดหน่วยงานด้านเวชศาสตร์การกีฬาได้ออกมาเตือนภัยแล้วว่า ถึงแม้จะเป็นนักกีฬาที่ร่างกายแข็งแรง หากได้รับฝุ่น PM2.5 เกิน 50 ไมโครกรัมขึ้นไป ก็จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคได้ ดังนั้นทุกคนควรใส่หน้ากากอนามัยขณะออกกำลังกายหรือหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง

สัญญาณเตือนแบบพิษฉับพลันของ PM2.5 ได้แก่ อาการวิงเวียนศรีษะ หน้ามืดคลื่นไส้เลือดกำเดาออก ขณะที่การก่อโรคเรื้อรังอย่างโรคหลอดเลือดหัวใจจะเป็นลักษณะของการสะสมโรคจึงมักจะไม่แสดงอาการในระยะแรก การตรวจสุขภาพจึงเป็นเรื่องสำคัญโดยเฉพาะสุขภาพของหัวใจ

ปัจจุบันมีหลากหลายเทคโนโลยีที่แม่นยำ อาทิ การตรวจสมรรถภาพการทำงานของหัวใจโดยการวิ่งบนสายพาน (Exercise Stress Test) การตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยคลื่นความถี่สูง (Echocardiogram) หรือการตรวจวัดระดับแคลเซียมบริเวณผนังหลอดเลือดหัวใจ (CT Coronary Calcium Score) การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม การทำงานของไต ระดับไขมันคอเลสเตอรอล ระดับไขมันความหนาแน่นสูง-ต่ำ และระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ทำให้เราทราบถึงความเสี่ยงและแนวโน้มที่อาจจะทำให้เกิดโรคหัวใจในอนาคตและควรตรวจเช็คหัวใจกับแพทย์เป็นประจำทุกปี

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • โรคหัวใจ กับเรื่องที่คุณอาจยังไม่เคยรู้มาก่อน โรคหัวใจ กับเรื่องที่คุณอาจยังไม่เคยรู้มาก่อน
  • โรคหัวใจ....ที่ควรใส่ใจ โรคหัวใจ....ที่ควรใส่ใจ
  • เป็นโรคหัวใจจะต้องเตรียมตัวอย่างไร...ถ้าต้องไปพบทันตแพทย์ เป็นโรคหัวใจจะต้องเตรียมตัวอย่างไร...ถ้าต้องไปพบทันตแพทย์
  •  

Breaking News

เตรียมเข้าสู่ฤดูฝน! กรมอุตุฯคาดหมายอากาศ 7 วันข้างหน้า ตั้งแต่ 13-19 พ.ค.68

‘กกล.สุรนารี-ตม.อุบลราชธานี’แถลงรวบผู้ต้องหา-ยึด‘ยาบ้า’ 1 ล้านเม็ด ซุกป่าข้างถนน

ปภ.เฮ! ทดสอบ Cell Broadcast ผลน่าพอใจ 'นายกฯอิ๊งค์' รับสัญญาณ2รอบ

พปชร.ตั้งทีมเศรษฐกิจ 'ธีระชัย'นำทัพ!ลุยแก้ปัญหาปากท้องลงมือทำจริง

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved