วันศุกร์ ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
คณะวิทย์ มธ. เขย่าวงการแฟชั่นสิ่งทอ สู่แฟชั่นไอคอนบนรันเวย์  กับผลงาน‘De (Sign) Scientist นักวิทย์แฟชั่นสิ่งทอยุคเป็ดพรีเมียม’

คณะวิทย์ มธ. เขย่าวงการแฟชั่นสิ่งทอ สู่แฟชั่นไอคอนบนรันเวย์ กับผลงาน‘De (Sign) Scientist นักวิทย์แฟชั่นสิ่งทอยุคเป็ดพรีเมียม’

วันพฤหัสบดี ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2566, 06.00 น.
Tag : คณะวิทย์ มธ.
  •  

คณะวิทย์ มธ. เขย่าวงการแฟชั่นสิ่งทอ สู่แฟชั่นไอคอนบนรันเวย์

กับผลงาน‘De (Sign) Scientist นักวิทย์แฟชั่นสิ่งทอยุคเป็ดพรีเมียม’

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (SCI-TU) หรือคณะวิทย์ มธ. เผยความงดงามสุดวิจิตรของ 3 งานศิลป์ชุดผ้าพื้นถิ่นผลงานการรังสรรค์โดย “De (Sign) Scientist-นักวิทย์สิ่งทอยุคเป็ดพรีเมียม” โดยนักศึกษาจากสาขาวิชาเทคโนโลยีวัสดุและสิ่งทอ ที่ขมวดรวมความรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสิ่งทอ และการออกแบบแฟชั่น มาสร้างสรรค์ผลงานตั้งแต่การคิดค้นเนื้อผ้า การออกแบบที่อัดแน่นด้วยไอเดียการสวมใส่ ให้คงความเอกลักษณ์พื้นถิ่น แต่มีความร่วมสมัย ซึ่งกวาดหลายรางวัลจากเวทีแฟชั่นผ้าพื้นถิ่นระดับประเทศมาแล้ว

 


อาจารย์ ดร.ธนิกา หุตะกมล อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีวัสดุและสิ่งทอคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (SCI-TU) หรือคณะวิทย์ มธ. กล่าวว่า สาขาวิชาเทคโนโลยีวัสดุและสิ่งทอ คณะวิทย์ มธ. เปิดตัวคอลเลคชั่นใหม่ที่ใช้ผ้าไทยพื้นถิ่นเป็นโจทย์ให้นักศึกษาได้ค้นคว้าตามความสนใจ โดยใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และแฟชั่นสิ่งทอ ที่มีจุดเด่นและเอกลักษณ์เฉพาะตัวของผู้เรียนสาขาวิชาเทคโนโลยีวัสดุและสิ่งทอคณะวิทย์ฯ มธ. คือ “De (Sign) Scientist-นักวิทย์สิ่งทอยุคเป็ดพรีเมียม” ที่ผสานความรู้ที่หลากหลาย นำไปออกแบบผลงานและมีเรื่องราวที่น่าสนใจ ซึ่งจากโจทย์ในห้องเรียนดังกล่าว ทำให้ได้ 3 ผลงานเด่นคือ “เพชรเมืองรอง” ผลงานการเจียระไนเพชรน้ำงาม “ผ้าทอลายแพรวา” เสน่ห์แห่งผ้าพื้นถิ่นกาฬสินธุ์สู่ผ้าไทยสไตล์โมเดิร์น หวังกระตุ้นการท่องเที่ยวเมืองรอง พร้อมเจาะตลาดคนรุ่นใหม่ใส่ได้ทุกวัน ผลงาน “Iconic of Female Warrior” ความลงตัวของการออกแบบและถักทอสุดวิจิตร ยกระดับผ้าไทยพื้นถิ่นให้เรียบหรู-นุ่มนวลเมื่อสวมใส่ และ “River of Glory” ผลงานการขมวดรวมของวิทย์และศิลป์ บนผ้าผืน ฉายภาพ “แม่น้ำแห่งความรุ่งโรจน์” สมัยการทำพันธมิตรทางการค้าไทย-ยุโรป สมัยรัชกาลที่ 5

นายพอร์ชพิพัชญ์ สอนชัยภูมิ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาเทคโนโลยีวัสดุและสิ่งทอ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (SCI-TU) เผยถึงผลงาน “เพชรเมืองรอง” ว่า ด้วยเล็งเห็นถึงเสน่ห์ของ “ผ้าทอลายแพรวา” เพชรน้ำงามของผ้าผืนถิ่นในเมืองรองอย่าง จ.กาฬสินธุ์ จึงตั้งใจหยิบยกผ้าดังกล่าวมาออกแบบในสไตล์โมเดิร์น ผ่านการนำผ้าทอพื้นมาออกแบบให้มีความเหลื่อมของลายผ้า เพื่อให้เกิดเส้นนำสายตาและเสริมบุคลิกแก่ผู้สวมใส่ โดยตั้งใจเจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ในการเลือกสวมใส่ผ้าไทยในชีวิตประจำวันพร้อมทั้งกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวในเมืองรอง อย่างไรก็ดี สำหรับการเรียนในหลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งทอ ถือเป็นความลงตัวของศาสตร์ด้าน “วิทย์-ศิลป์-ดีไซน์” ทำให้ตนรู้ลึกเรื่องถิ่นที่มาของเส้นใย วัสดุสิ่งทอ เทคนิคการย้อม ความยั่งยืนและทางรอดของสิ่งทอ ตลอดจนได้รับกระบวนการคิดและวางแผนการทำงานที่เป็นระบบ ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้กับการเรียนและการใช้ชีวิตได้เป็นอย่างดี

นางสาวอุษณียาภรณ์ ลุนกำพี้ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาเทคโนโลยีวัสดุและสิ่งทอ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (SCI-TU) เผยว่า ผลงาน “Iconic of Female Warrior” ได้รับแรงบันดาลใจจากการแต่งกายของวีรสตรียุคกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ที่สมัยนั้นผู้หญิงไทยเน้นสวมใส่ตะเบงมานเพื่อความคล่องตัวเสมือนนักรบ ท่ามกลางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังภาวะสงคราม โดยได้เลือกใช้ผ้าลายประยุกต์ อัตลักษณ์ของผ้าพื้นถิ่นในภาคอีสาน มาผ่านกระบวนการการหมักโคลน เพื่อลดทอนความกระด้างของผ้า พร้อมถักทอด้วยลวดลายวิจิตรตระการตาและอ่อนช้อย จากนั้นใช้การจับหน้านางด้วยผ้าผืนเดียวที่ให้ความรู้สึกเรียบหรูและไม่ระคายผิวเมื่อสวมใส่โดยมี นายพอร์ชพิพัชญ์ สอนชัยภูมิ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 เป็นเพื่อนร่วมทีม ทั้งนี้ ผลงานดังกล่าวสามารถคว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จากโครงการ “รัตนาศรีแผ่นดินเทิดพระเกียรติ” ในการสืบสาน รักษา อนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม การแข่งขัน 3 ศาสตร์ 2 ระดับครั้งที่ 1 ในหัวข้อ “การแข่งขันเครื่องนุ่งห่ม(ผ้าพื้นถิ่น)” ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีนารีรัตนราชกัญญา

ด้าน นางสาวแก้วทิพย์ เรืองฉาย นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาเทคโนโลยีวัสดุและสิ่งทอ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (SCI-TU) เผยว่าผลงาน River of Glory หรือ “แม่น้ำแห่งความรุ่งโรจน์” ผ่านการ
คิดค้นและออกแบบร่วมกับ นางสาวธนภรณ์ ฉิมนาม นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากการแต่งกายของชาวบ้านในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ที่มีการจับจีบผ้าส่วนหน้า ม้วนเข้ากับผ้าบริเวณอกพาดผ้าที่บ่าและทิ้งชายผ้าลงคล้ายกับสายน้ำที่ไหลแบบไม่มีที่สิ้นสุด เปรียบเสมือน “อู่ข้าวอู่น้ำ” นับเป็นการแต่งกายเชิงสัญลักษณ์ของการทำพันธมิตรทางการค้าร่วมกับยุโรป ในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่มีการค้าขายด้วยการเดินเรือมาทางน้ำ ทั้งนี้ สิ่งที่ได้รับจากการเรียนในหลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งทอ ทำให้ได้ทักษะการเป็นคนช่างสังเกต มีเทคนิคการจับจีบผ้า มีพื้นฐานความรู้ในการเลือกเนื้อผ้าให้พลิ้วไหวและตรงคอนเซ็ปต์มากขึ้น

“สิ่งทอไทย ถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมทรงคุณค่า ยกระดับวัตถุดิบพื้นถิ่นไทย กระจายรายได้สู่ชุมชนทั้งยังเป็นหนึ่งใน Soft Power สำคัญที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ได้ต่อเนื่อง ด้วยความสมบูรณ์ในกระบวนการผลิต ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ รวมถึงแรงงานฝีมือศักยภาพสูง จึงเป็นผลให้ผลิตภัณฑ์สิ่งทอไทยได้รับการยอมรับมาตรฐานระดับนานาชาติ” อาจารย์ ดร.ธนิกา กล่าวทิ้งท้าย

ผู้สนใจศึกษาต่อใน “หลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งทอ” สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.tuadmissions.in.th, https://www.facebook.com/SciTU/ หรือติดต่อ 02-5644490 ต่อ 2094 และเตรียมพบกับโฉมใหม่ของการเรียนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่คณะวิทย์มธ. พร้อมจับมือคนรุ่นใหม่ก้าวสู่ปรากฏการณ์การเรียนวิทย์ยุคใหม่ เร็วๆ นี้

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

‘อิ๊งค์’รวย! ‘ภูมิธรรม’ชี้‘นายกฯ’ทรัพย์สินมหาศาล ไม่ต้องเบียดบัง‘งบหลวง’เที่ยวต่างประเทศ

จับหนึ่งในบัญชีม้าแก๊งคอลฯตุ๋น พล.ต.สูญ3.6ล้าน

‘วันนอร์’ชี้ควรร้อง‘ประธานวุฒิสภา’ ชงศาลรธน.สั่ง‘สว.’หยุดปฏิบัติหน้าที่

สุดคึกคัก!! นักท่องเที่ยวแห่เที่ยวชมพันธุ์ไม้เมืองหนาวสองแห่งที่ระยอง

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved