วันศุกร์ ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
ตะลอนเที่ยว : หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ตะลอนเที่ยว : หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วันอาทิตย์ ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2566, 06.00 น.
Tag : ตะลอนเที่ยว เที่ยวไทย เที่ยวเมืองไทย พิพิธภัณฑ์ วัดไทย
  •  

ประวัติศาสตร์และความเป็นมา คือเครื่องช่วยบ่งบอกชี้ชัดว่าในปัจจุบันนี้เราเป็นใคร หากเราไม่มีราก ไม่มีเหง้า ไม่มีประวัติความเป็นมา เราก็เป็นสิ่งมีชีวิตจำพวกรากลอย
ไม่รู้จักความเป็นมาของตนเอง เมื่อเป็นเช่นนี้เราก็คงจะก้าวหน้าต่อไปในอนาคตได้อย่างมั่นคงได้ไม่ง่ายนัก

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในวันนี้มีอายุกว่า 1 ศตวรรษแล้ว แต่กว่าจะหยั่งรากลึกจนเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่นทุกวันนี้มหาวิทยาลัยแห่งนี้มีประวัติศาสตร์และความเป็นมาที่น่าสนใจยิ่ง ขอเชิญคุณๆทำความรู้จักและเข้าใจจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยผ่านเรื่องราวและคำบอกเล่าต่างๆ จากหอประวัติจุฬาฯ 


จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีดำริจัดตั้งหอประวัติจุฬาฯ เมื่อ พ.ศ. 2509 แต่ดำเนินการไปได้ไม่ลุล่วง จนกระทั่งเข้าสู่ปี 2530 หอประวัติจุฬาฯ จึงเกิดขึ้นอย่างเป็นหลักเป็นฐาน ซึ่งในวันที่26 มีนาคม 2531 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดหอประวัติจุฬาฯ ณ อาคารจักรพงษ์

หอประวัติจุฬาฯ เป็นแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์เกี่ยวเนื่องกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมากมาย 

ตึกจักรพงษ์แต่เดิมคือที่ทำการของสโมสรนิสิตจุฬาฯ (ปัจจุบันสโมสรนิสิตจุฬาฯ ย้ายที่ทำการไปอยู่บนตึกจุลจักรพงษ์ ซึ่งอยู่ใกล้กับศาลาพระเกี้ยว) ครั้นเมื่อใช้ตึกจักรพงษ์เป็นหอประวัติจุฬาฯ จึงจัดแบ่งพื้นที่สำหรับจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวเนื่องกับประวัติของจุฬาฯ เป็นสองส่วน ส่วนแรกอยู่ชั้นล่างของตึก เป็นห้องโถงใหญ่ ใช้สำหรับจัดแสดงนิทรรศการตามวาระสำคัญต่างๆ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ส่วนชั้นสอง แบ่งพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการออกเป็นสี่ส่วนคือ ห้องโถงกลางหรือโถงเฉลิมพระเกียรติ ส่วนกึ่งกลางห้องโถงเป็นที่ประดิษฐานพระเกี้ยว องค์ที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระเกี้ยวองค์นี้จะถูกอัญเชิญไปในงานพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาตั้งแต่ปี 2533 และในห้องโถงนี้ยังมีพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ประดิษฐานอยู่ด้วย

และยังมีห้องจัดแสดงนิทรรศการอีกสามห้อง โดยสองห้องใช้จัดแสดงประวัติความเป็นมาก่อนจะสถาปนาเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในรัชสมัยของรัชกาลที่ 6 รวมถึงจัดแสดงประวัติการก่อตั้งคณะวิชาต่างๆ ในยุคแรกเริ่มของจุฬาฯ พร้อมทั้งประวัติการเสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์สร้างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมถึงประวัติการเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกของสยามประเทศ ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ส่วนอีกห้องหนึ่งจัดแสดงเรื่องที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีสมเด็จเจ้าฟ้านิสิตพระองค์แรกทรงเข้าศึกษาในจุฬาฯ เมื่อปี 2516 โดยห้องจัดแสดงนิทรรศการนี้เป็นการทำงานร่วมกันของนิสิตเก่าจุฬาฯรุ่นที่เข้าศึกษาเมื่อปี 2513 โดยมีดำริร่วมกันจัดนิทรรศการเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์แรกของจุฬาฯ ในโอกาสที่รุ่นพี่รุ่นนี้ได้เข้าศึกษาในจุฬาฯ ครบ 50 ปี เมื่อปี 2563 การจัดทำนิทรรศการได้เริ่มมาตั้งแต่ปี 2563 แต่ในยุคนั้นมีปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 หนักมาก การนำเสนอข่าวเรื่องนิทรรศการน้องใหม่จุฬาฯ ที่ทรงเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์แรกจึงไม่ได้เผยแพร่ต่อสาธารณะมากนัก

อย่างไรก็ตาม รุ่นพี่ที่เข้าศึกษาต่อเมื่อปี 2513 ได้กราบบังคมทูลทรงทราบ เพื่อทูลเชิญเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดนิทรรศการ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดนิทรรศการนี้ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2566 นับเป็นโอกาสอันดี เพราะเป็นวาระครบรอบ 50 ปี ที่จุฬาฯ มีน้องใหม่เป็นสมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์แรกทรงเข้าศึกษาต่อในคณะอักษรศาสตร์

ภายในห้องจัดแสดงนิทรรศการน้องใหม่จุฬาฯ ที่ทรงเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์แรกมีความน่าสนใจมาก เพราะบอกเล่าเหตุการณ์ประวัติศาสตร์นับตั้งแต่วันแรกที่ทรงเข้ารายงานพระองค์ที่คณะอักษรศาสตร์ การทรงร่วมกิจกรรมรับน้องใหม่ และกิจกรรมต่างๆ ของมหาวิทยาลัย และของคณะอักษรศาสตร์ และยังพระราชทานสิ่งของส่วนพระองค์เมื่อครั้งทรงมีพระราชสถานะเป็นนิสิตของจุฬาฯ อาทิ บัตรประจำตัวนิสิตของพระองค์ทั้งสี่ชั้นปีฉลองพระองค์ชุดนิสิต และฉลองพระองค์ครุย เป็นต้น

ขอเชิญชวนทุกท่านเข้าชมนิทรรศการ ณ หอประวัติจุฬาฯ ได้ทุกวันในเวลาราชการ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น 

หมายเหตุ ตึกจักรพงษ์อยู่ติดกับหอนาฬิกาจุฬาฯ อยู่ไม่ไกลจากหอประชุมจุฬาฯ โดยเมื่อหันหน้าเข้าหอประชุม ให้สังเกตด้านขวามือของตนเอง จะพบหอนาฬิกา และพบตึกจักรพงษ์

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ตะลอนเที่ยว : ปีนัง (ก็แค่ปากซอย) ไปทุกครั้งก็มีรอยยิ้ม ตะลอนเที่ยว : ปีนัง (ก็แค่ปากซอย) ไปทุกครั้งก็มีรอยยิ้ม
  • ตะลอนเที่ยว : ปีนัง เดินทอดน่องท่องเมืองเก่า ตะลอนเที่ยว : ปีนัง เดินทอดน่องท่องเมืองเก่า
  • ตะลอนเที่ยว : 120 ปี ชาตกาล ครูเตือน พาทยกุล ตะลอนเที่ยว : 120 ปี ชาตกาล ครูเตือน พาทยกุล
  • ตะลอนเที่ยว : พระเขี้ยวแก้ว เมืองแคนดี ศรีลังกา ตะลอนเที่ยว : พระเขี้ยวแก้ว เมืองแคนดี ศรีลังกา
  • ตะลอนเที่ยว : พระราชพิธีพืชมงคล เพื่อความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหาร ตะลอนเที่ยว : พระราชพิธีพืชมงคล เพื่อความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหาร
  • ตะลอนเที่ยว : ทำหมันสุนัขและแมว : ลดจำนวนสัตร์จรจัด ตะลอนเที่ยว : ทำหมันสุนัขและแมว : ลดจำนวนสัตร์จรจัด
  •  

Breaking News

'อั๋น เจษฎา'ยื้อรักสุดใจผ่าน 'ห้ามไม่ไหว'เพลงของคนที่รู้ว่าเธอต้องไป แต่อยากขอโอกาสใหม่อีกครั้ง

'อีอึนแซม – เยริ'คัมแบ็คสู่สงครามแห่งชนชั้น ในซีรีส์มัธยมสุดแซ่บ

(คลิป) ‘ดร.เอ้’เปิดใจ! ลั่นเปลี่ยนเป้าเล่นการเมืองระดับประเทศ

'นฤมล'มั่นใจ แคมป์ ASC 2025 เป็นโอกาสสร้างแรงบันดาลใจด้านวิทยาศาสตร์ให้เด็กไทย

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved