วันเสาร์ ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
อันตรายจากแมงดาทะเลและปลาปักเป้า

อันตรายจากแมงดาทะเลและปลาปักเป้า

วันอังคาร ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2566, 06.00 น.
Tag : ปลาปักเป้า แมงดาทะเล
  •  

ข้อมูลจากศูนย์พิษวิทยารามาธิบดีพบว่า ในช่วงประมาณ 20 ปีที่ผ่านมา จะมีผู้เจ็บป่วยและเสียชีวิตจากการบริโภคแมงดาทะเลและปลาปักเป้าในช่วงตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน จำนวนจะเพิ่มสูงขึ้นตามจนสูงสุดในช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ของทุกปี โดยที่อาการของโรคจากการรับประทานสัตว์สองชนิดนี้เหมือนกัน ทั้งนี้เนื่องจากการเจ็บป่วยจากสัตว์ทั้งสองชนิดนี้เกิดจากสารพิษตัวเดียวกันคือ“เตโตรโดท็อกซิน” (tetrodotoxin) สำหรับปลาปักเป้าน้ำจืดในประเทศไทยพบว่ามีสารพิษชื่อ “ซาซิท็อกซิน” (saxitoxin) ซึ่งมีความเป็นพิษคล้ายคลึงกัน ในบทความนี้จึงขอเรียกรวมว่าเตโตรโดท็อกซิน

เตโตรโดท็อกซินเป็นสารที่สร้างขึ้นจากแบคทีเรียและสิ่งมีชีวิตเล็กๆที่อยู่ในน้ำ สัตว์บางชนิด เช่น แมงดาทะเล ปลาปักเป้า และหมึกสายวงน้ำเงิน (blue ring octopus) มีความสามารถในการรับสารนี้เข้าไปและเก็บสะสมในร่างกายโดยไม่เกิดอันตรายกับตัวเอง แต่หากสัตว์อื่นไปกินหรือสัมผัสถูกเตโตรโดท็อกซินที่สะสมไว้ ก็จะเกิดการเจ็บป่วยจากพิษนี้ได้ อวัยวะที่จะมีการสะสมสารพิษชนิดนี้ไว้สูงได้แก่ อวัยวะภายใน เช่น ไข่ และชั้นใต้ผิวหนัง สัตว์เหล่านี้จะมีเตโตรโดท็อกซินสะสมอยู่ในแต่ละช่วงเวลาไม่เท่ากัน บางช่วงเวลาอาจจะเกิดเป็นพิษน้อย บางช่วงเป็นพิษมาก ทำให้ผู้ป่วยบางคนเข้าใจผิดว่ามันกินได้ เพราะเคยรับประทานแล้วไม่เกิดเป็นพิษ ช่วงเวลาที่กล่าวถึงนี้จะเป็นช่วงที่มีการสะสมเตโตรโดท็อกซินไว้สูง นอกจากนี้เตโตรโดท็อกซินยังทนความร้อนและละลายน้ำได้ดี ถึงแม้นำไปปรุงให้สุกหรือผ่านความร้อนก็ไม่สามารถทำลายมันได้ ยังสามารถเกิดเป็นพิษได้อาการเป็นพิษจากเตโตรโดท็อกซินจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ภายในเวลาไม่กี่นาทีถึง 2-3 ชั่วโมง เริ่มจากอาการคลื่นไส้อาเจียน มึนเวียนศีรษะ ต่อจากนั้นก็จะก่อให้เกิดอาการของระบบประสาทส่วนที่เป็นเส้นประสาท โดยจะเริ่มต้นจากอาการชาบริเวณลิ้น รอบปากและปลายมือปลายเท้า ต่อจากนั้นก็จะมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อบริเวณศีรษะทำให้กลืนลำบาก พูดไม่ชัด ลืมตาไม่ขึ้น พร้อมๆ กับมีอาการอ่อนแรงของแขนขา เริ่มจากปลายมือปลายเท้าขึ้นมาสู่กล้ามเนื้อส่วนต้น หากได้รับพิษจำนวนมากก็จะทำให้กล้ามเนื้อทั้งร่างกายรวมถึงกล้ามเนื้อในการหายใจอ่อนแรงด้วย ในขณะที่เกิดอาการดังกล่าวผู้ป่วยมักจะยังมีระดับสติปกติ แต่อาจจะไม่สามารถสื่อสารกับคนอื่นให้เข้าใจได้ จึงทำให้ดูเหมือนหมดสติไปแล้ว หากผู้ป่วยไม่ได้รับการช่วยเหลือด้วยการช่วยการหายใจผู้ป่วยก็จะหยุดหายใจและเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว แต่ถ้าผู้ป่วยได้การช่วยหายใจได้ทัน และแพทย์รักษาประคับประคองไว้เกินกว่า 48 ชั่วโมง ผู้ป่วยก็สามารถจะหายเป็นปกติได้ในเวลาไม่นาน


ในประเทศญี่ปุ่นปลาปักเป้านี้เรียกว่า “ฟุกุ” (Fugu) จัดเป็นจานอาหารที่มีราคาแพง แต่ผู้ปรุงอาหารจะต้องได้รับการฝึกอบรมและการรับรองแล้วเท่านั้นว่าสามารถแล่เนื้อปลาโดยไม่ทำให้เตโตรโดท็อกซินออกจากอวัยวะที่มีสารพิษมาปนเปื้อนเนื้อปลา และผู้รับประทานเองก็ทราบว่ารับประทานปลาอะไร จึงสามารถลดโอกาสเกิดเป็นพิษที่รุนแรงและเสียชีวิตได้ แต่สำหรับประเทศไทย สารเตโตรโดท็อกซินพบอยู่ในไข่ของแมงดาทะเลชนิดแมงดาถ้วยหรือเหรา และปลาปักเป้า การเกิดเป็นพิษจากการรับประทานไข่แมงดาทะเลนั้น บ่อยครั้งที่ผู้บริโภคไม่สามารถแยกระหว่างแมงดาจานซึ่งไม่มีพิษกับแมงดาถ้วยซึ่งมีพิษได้บางครั้งไข่แมงดาทะเลที่นำมาขายก็ไม่ได้อยู่ในตัวแมงดาทะเล ให้ผู้บริโภคได้เห็นอย่างชัดเจน จึงมีรายงานผู้ป่วยกินไข่แมงดาทะเลแล้วเกิดเป็นพิษจนทำให้เสียชีวิตอยู่ทุกปี สำหรับปลาปักเป้านั้น ทางการไทยห้ามนำมาจำหน่าย จึงจะไม่เห็นการวางขายปลาปักเป้าเป็นตัว แต่ในอดีตพบว่ามีการนำปลาปักเป้าไปแล่เนื้อปลาโดยคนงานที่ไม่ได้มีการฝึกเพียงพอ แล้วลักลอบนำออกขายเนื้อปลาเป็นชิ้นในชื่ออื่นๆ เช่น ปลาไก่ หรือปลอมแปลงว่าเป็นเนื้อปลาชนิดอื่น เช่น ปลากะพงเป็นต้น ทำให้ผู้ที่บริโภคเนื้อปลาเหล่านี้ไม่ทราบว่าตนเองรับประทานปลาปักเป้า เมื่อเกิดเป็นพิษก็มักจะนึกไม่ถึงทำให้การวินิจฉัยและช่วยเหลือที่เหมาะสมทำได้ช้า

จึงขอแนะนำว่าควรหลีกเลี่ยงการรับประทานไข่แมงดาทะเลในช่วงเวลาที่กล่าวมานี้ แต่หากรับประทานไข่แมงดาทะเล หรือเนื้อปลาทะเลแล้วหลังจากนั้นเกิดอาการชาปลายลิ้นรอบปาก และปลายมือปลายเท้า ขอให้สงสัยว่าอาจจะเกิดเป็นพิษจากสารเตโตรโดท็อกซินที่เจือปนอยู่ในอาหารนั้น ผู้ป่วยควรแจ้งให้ผู้ที่อยู่ด้วยทราบ และขอให้นำส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด ในระหว่างทาง ผู้นำส่งควรสังเกตการหายใจของผู้ป่วยอยู่ตลอดเวลา หากพบว่าผู้ป่วยเริ่มหายใจแผ่วลงมีอาการกระสับกระส่ายหรือซึมลงให้รีบช่วยหายใจ ด้วยวิธีนี้ก็จะสามารถทำให้ผู้ป่วยสามารถรอดชีวิตได้หากได้รับพิษในปริมาณมาก

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

พลังรักชาติ! หนุ่มตัดผมภาพ 'แม่ทัพภาค2' พ่นสีธงชาติไทย

‘อ.ต่อตระกูล’โพสต์คำถามคาใจเด็กไทย ทำไมต้องการบ้าน รถ ชื่อเสียง ต้องฟังพระที่ไม่มีอะไรเลย

ชาวโคราชจัดหนักบัส 2 คันเคลื่อนพลเข้ากรุงร่วมชุมนุมขับไล่'แพทองธาร'ออกจากนายกฯ

‘รวมพลังแผ่นดิน’พรึ่บอนุสาวรีย์ชัยฯ จับตา‘บิ๊กเนม’ขึ้นชำแหละ‘รัฐบาลอุ๊งอิ๊งค์’

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved