วันจันทร์ ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
มูลนิธิเอสซีจี ชวน Key Drivers ของประเทศ  จุดประกายเยาวชน ‘Learn to Earn เรียนรู้ เพื่ออยู่รอด’

มูลนิธิเอสซีจี ชวน Key Drivers ของประเทศ จุดประกายเยาวชน ‘Learn to Earn เรียนรู้ เพื่ออยู่รอด’

วันเสาร์ ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2566, 06.00 น.
Tag : มูลนิธิเอสซีจี
  •  

เกรียงไกร เธียรนุกุล

มูลนิธิเอสซีจี มุ่งลดความเหลื่อมล้ำด้วยการสนับสนุนทุนการศึกษาแก่เด็กและเยาวชนมานานกว่า 60 ปี จนถึงปัจจุบัน ได้ให้ทุนการศึกษาไปแล้วกว่า 100,000 โดยเน้นหลักสูตรการเรียนที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงาน ได้แก่ หลักสูตรด้านการแพทย์และสาธารณสุข เช่น ผู้ช่วยพยาบาล ผู้ช่วยทันตแพทย์ หลักสูตรด้านอุตสาหกรรม S-curve และ New S-curve หลักสูตรด้านเทคโนโลยี IT เป็นต้น พร้อมขยายแนวคิด Learn to Earn เรียนรู้เพื่ออยู่รอดอย่างต่อเนื่อง


ล่าสุดมูลนิธิเอสซีจี ได้จัดงาน Learn to Earn : The Forum จุดประกายและเปิดมุมมองใหม่ ให้เยาวชน ได้เรียนรู้ปรับตัว เพิ่มทักษะความรู้ และทักษะชีวิต (Soft skill & Hard skill) ให้สามารถอยู่รอดได้ในโลกยุคปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ผนึกกำลังความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ได้รับเกียรติจาก 4 Key Drivers ของประเทศ มาร่วมแลกเปลี่ยนแนวคิดและมุมมองผ่านการเสวนาหัวข้อ “เรียนรู้ เพื่ออยู่รอด”ผนึกกำลังชาติ เพื่ออนาคตไทย มุ่งให้ความสำคัญและเน้นการพัฒนาศักยภาพของคนในทุกมิติ และส่งเสริมให้เกิดการ เรียนรู้ตลอดชีวิต Lifelong learning และร่วมผลักดันแนวคิดดังกล่าว ให้เกิดเป็นรูปธรรม และนำไปปฏิบัติจริงเพื่อให้เกิดผลอย่างยั่งยืน

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกยุคปัจจุบันส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบโดยเฉพาะเรื่องของ Digital Transformationและการขาดแคลนแรงงานอันเนื่องมาจากสังคมผู้สูงวัยทางรอดของไทยคือต้องปรับตัวเป็น High skills labor เป็นแรงงานที่มีทักษะขั้นสูง และเป็นที่ต้องการของตลาด พร้อมทั้งเติม innovation และ งานวิจัย ที่ใช้งานได้จริง ส่วนภาคอุตสาหกรรมไทยปัจจุบันได้ปรับตัวมุ่งไปสู่  Next GEN INDUSTRIES อุตสาหกรรมใหม่แห่งอนาคต รองรับการผลิต 3  กลุ่มคือ S curves และ New S curve ทักษะที่เป็นที่ต้องการสูงสุด 3 อันดับแรก คือ วิศวกรรม ดิจิทัล และ data analytic

ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล

ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประธานกรรมการบริหาร กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) กล่าวว่า การแก้ปัญหาในเรื่องการศึกษาของเด็กและเยาวชนมีทั้งกลุ่มที่ยังอยู่ในระบบการศึกษาและที่ออกนอกระบบไปแล้ว กลุ่มที่ยังอยู่ในระบบการศึกษาพบว่าปัญหาปัจจุบันคือหลักสูตรที่เรียนรู้ไม่ตอบโจทย์ทักษะการทำงาน ทำให้เกิดปัญหาการว่างงาน ส่วนกลุ่มที่ออกนอกระบบการศึกษาไปแล้ว ควรหันมาพัฒนาทักษะอาชีพเพื่อเพิ่มโอกาสการมีงานทำ ซึ่งตนเห็นด้วยกับการเรียนหลักสูตรอาชีพระยะสั้น ที่ใช้เวลาเรียนประมาณ 1 ปี จบแล้วมีงานทำแน่นอน เช่น หลักสูตรผู้ช่วยทันตแพทย์ หรือผู้ช่วยพยาบาล ซึ่งเป็นสายอาชีพที่ตลาดมีความต้องการสูง ทั้งนี้ การจัดการเรื่องการศึกษาของเด็กและเยาวชนนั้นส่วนตนแล้วมองว่าสำหรับเด็กและเยาวชนที่หลุดไปจากระบบการศึกษาแล้วผู้ที่เกี่ยวข้องควรต้องตามกลับมาให้เด็กและเยาวชนกลับมาเรียนต่อ แต่หากตามกลับมาไม่ได้ก็ควรต้องมีโอกาสให้พวกเขาได้เรียนรู้ต่อไปได้แม้จะหลุดออกไปนอกระบบการศึกษาแล้วก็ตาม

ศ.คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร

ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ส่วนตัวแล้วในระบบการศึกษาอยากให้เป็นการเรียนแบบ learn on anywhere ซึ่งสถาบันการศึกษาหลายแห่งสามารถสนับสนุนการเรียนในลักษณะของ micro credential ประกาศนียบัตรฉบับจิ๋ว ใช้เวลาในการเรียนไม่นาน เน้นเรียนในสิ่งที่จะตอบโจทย์ตลาดแรงงานได้ นอกจากจะได้งานทำแล้ว ผู้เรียนยังสามารถนำความรู้ความสามารถที่ได้รับมาใช้ต่อยอดหากต้องการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้นไปได้อีกด้วย นอกจากทักษะด้านเทคโนโลยีต่างๆ ทักษะด้านการวิเคราะห์ ด้านบริหารและความเป็นผู้นำแล้ว ทักษะที่ตลาดยังคงมีความต้องการสูงคือทักษะด้านภาษาและด้านการสื่อสาร ซึ่งส่วนตัวแล้วมองว่า การพัฒนาหลักสูตรหรือสร้างหลักสูตรใหม่ๆ ขึ้นมานั้น ควรต้องทำงานร่วมกันระหว่างสถาบันการศึกษากับองค์กรที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้หลักสูตรนั้นตอบโจทย์ความต้องการของตลาดได้อย่างแท้จริง และหลักสูตรที่เหมาะสมกับยุคของการเปลี่ยนแปลงนี้ควรต้องเป็นหลักสูตรที่เป็นการเรียนรู้ข้ามศาสตร์ ด้วยการนำหลายศาสตร์มาผสมผสานกัน ไม่ใช่การเรียนรู้เพียงเรื่องเดียวหรือศาสตร์เดียวเหมือนอย่างในอดีต

ดร.พิเชฐ โพธิ์ภักดี

ดร.พิเชฐ โพธิ์ภักดี รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ปัญหาที่พบในปัจจุบันคือการผลิตคนที่บางครั้งไม่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาด ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการกำลังพยายามเปลี่ยนแปลง และทำให้เป็นการเรียนแบบ anytime, anywhere ทั้งเพื่อเร่งผลิตคนให้ตอบโจทย์ตลาด อีกทั้งเพื่อตอบรับสังคมผู้สูงวัย โดยได้ทำงานร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยในการเรียนรู้ความต้องการตลาดแรงงานในปัจจุบันและนำมาพัฒนาหลักสูตรเพื่อให้ตอบโจทย์ทักษะที่ตลาดต้องการ พบว่าปัจจุบันมีหลายหลักสูตรใหม่ๆ ที่ออกมา ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนแล้วยังมีรายได้ในขณะเรียนด้วย เช่น หลักสูตรอีสปอร์ต ส่วนความร่วมมือกับองค์กรอื่นๆ นั้น ทางกระทรวงศึกษาธิการได้ร่วมกับกระทรวงอื่นในการช่วยกันส่งเสริมการเรียนรู้ในลักษณะที่เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นต้น

ปรียา พรมแดง

ด้าน นางสาวปรียา พรมแดงหนึ่งในรุ่นพี่นักเรียนทุนมูลนิธิเอสซีจี กล่าวว่า ตนเองมีความเชื่อว่าสิ่งที่นำพาให้มาอยู่ในจุดนี้ได้ คือการไม่หยุดพัฒนาตนเอง ด้วยความมุ่งมั่นที่ต้องการเป็นครูเพราะต้องการส่งต่อโอกาสและความคิดให้กับคนรุ่นใหม่ หลังจากที่คว้าเกียรตินิยมอันดับ 1 จากคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยนเรศวร มาได้แล้ว ก็ได้สมัครเป็นครูสมใจที่โรงเรียนนานาชาติคิงส์คอลเลจกรุงเทพฯ แม้ว่าจะเรียนจบเอกภาษาไทย แต่ก็ใช้เวลาฝึกฝนอย่างหนักกับภาษาอังกฤษที่เป็นวิชาที่ชอบ และยังมีโอกาสได้เรียนภาษาบาฮาซา ที่อินโดนีเซีย ปัจจุบันยังเรียนเพิ่มเติมภาษาเยอรมันอีกด้วย

“เวลาที่นอกเหนือจากการสอนที่เป็นงานประจำ จะหมดไปกับการ up skills ด้วยการอ่านและดูสื่อต่างๆ หรือการเข้าร่วมกิจกรรมหรือการแข่งขันเพื่อเปิดโลกทัศน์และทดสอบทักษะที่มีอยู่ รวมถึงการ re skills ด้วยการฝึกฝนในสิ่งที่เรียนมา นั่นก็คือทุกภาษาที่มีความรู้ความชำนาญ ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาบาฮาซา รวมถึงทักษะอื่นๆ ที่จำเป็นกับการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการวิเคราะห์ ทักษะชีวิต หรือทักษะการปรับตัวที่ตนเองมองว่าจำเป็นมากสำหรับการทำงาน เพราะไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนหากเรียนรู้ที่จะอยู่องค์กรนั้นได้จะทำให้ชีวิตมีความหมายมากขึ้น สำหรับแนวคิด Learn to Earn นั้น ตนเองมองว่าเป็นการฝึกฝนและพัฒนาทักษะที่ถนัดหรือสนใจ เพื่อต่อยอดให้กลายเป็นอาชีพได้ โดย up skills เพิ่มเติมเพื่อเพิ่มคุณสมบัติให้ตัวเอง และ re skills เพื่อรักษาคุณค่านั้นไว้หรือเพิ่มทักษะสำคัญเพื่อต่อยอดการทำงาน เมื่อทำได้ จะทำให้สามารถ Earn from Learn ได้อย่างมีความสุข”

มูลนิธิเอสซีจี เชื่อว่าคุณภาพของทรัพยากรบุคคลมีความสำคัญที่สุด หากจะพัฒนาประเทศให้ได้ผล พื้นฐานต้องเริ่มต้นที่การพัฒนาคนทั้งเรื่องการพัฒนาทักษะ หรือการเรียนรู้ตลอดชีวิต ในวันนี้มีบทบาทและความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการศึกษาภาคบังคับ นอกจากนี้ ยังต้องมีการร่วมมือกันของทุกภาคส่วน เพื่อที่จะทำให้เกิดผลที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อจะช่วยกันผลักดันประเทศให้เติบโตไปได้ไกลกว่าที่เป็นอยู่ ติดตามข้อมูลข่าวสารของมูลนิธิเอสซีจี ได้ที่ www.scgfoundation.org และเฟซบุ๊ก LEARNtoEARN

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • มูลนิธิเอสซีจี เปิดแนวคิด Learn to Earn เรียนรู้ เพื่ออยู่รอด  ผ่านหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล สร้างการอยู่รอดให้เยาวชน จบไว-มีงานทำ มูลนิธิเอสซีจี เปิดแนวคิด Learn to Earn เรียนรู้ เพื่ออยู่รอด ผ่านหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล สร้างการอยู่รอดให้เยาวชน จบไว-มีงานทำ
  •  

Breaking News

นักวิชาการ‘กัมพูชา’ยกโพลเย้ยการเมืองไทยเปราะบาง ไม่เหมือน‘ฮุน เซน’ชาวเขมรศรัทธาท่วมท้น

'อดีตสว.สมชาย'สิ้นหวัง! พ.ร.บ.ตำรวจไร้ผล ชี้ระบบอุปถัมภ์-การเมืองทำปฏิรูปแป๊ก

แก้เสียงปริ่มน้ำ!‘สุชาติ’จ่อลาออกสส. เปิดทาง‘ปาร์ตี้ลิสต์’ลำดับถัดไปทำหน้าที่ในสภา

‘ภูมิธรรม’หนุนข้อเสนอ‘รมต.’ไม่มีบทบาทในสภาฯ ควรทิ้งเก้าอี้สส.‘ปาร์ตี้ลิสต์’

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved