วันศุกร์ ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
รู้และเข้าใจกรดไหลย้อนกันให้ดีกว่าเดิม

รู้และเข้าใจกรดไหลย้อนกันให้ดีกว่าเดิม

วันอังคาร ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2566, 06.35 น.
Tag : กรดไหลย้อน
  •  

กรดไหลย้อน เป็นโรคหรือภาวะที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะประชากรวัยทำงาน ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต และคุณภาพการทำงาน แม้จะเป็นโรคที่พบบ่อย แต่เนื่องจากอาการของโรคมีความหลากหลาย และซ้ำซ้อนกับโรคหรือภาวะอื่นได้ การให้การวินิจฉัยอย่างถูกต้องตั้งแต่เริ่มแรก เพื่อให้ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม และยังลดการใช้ยาที่ไม่จำเป็นด้วย บทความนี้ จะตอบคำถามที่พบบ่อยในผู้ป่วยกรดไหลย้อน

กรดไหลย้อนคืออะไร


คือภาวะที่เกิดจากการที่มีสารจากกระเพาะอาหารย้อนขึ้นมาในหลอดอาหาร จนผู้ป่วยเกิดอาการ จนรบกวนการใช้ชีวิต หรือในผู้ป่วยบางรายอาจเกิดการอักเสบ เป็นแผล บริเวณหลอดอาหารส่วนปลาย ก็เป็นผลจากกรดไหลย้อนได้ ทั้งนี้ผู้ป่วยอาจมีหรือไม่มีอาการใดๆ ก็ได้

อาการอะไร ให้นึกถึงกรดไหลย้อน

อาการของโรคกรดไหลย้อน แบ่งตามตำแหน่งของหลอดอาหาร

● กรดไหลย้อนหลอดอาหาร มีอาการ แสบร้อนยอดอกเรอเปรี้ยว และ /หรือ จุกแน่นหน้าอก อาการมักเกิดหลังรับประทานอาหาร โดยเฉพาะอาหารมื้อใหญ่ๆ

● กรดไหลย้อน นอกหลอดอาหาร มีอาการที่หลากหลาย ได้แก่ จุกคอ ไอเรื้อรัง หอบหืด กระแอมเป็นเสมหะ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ควรหาสาเหตุอื่นก่อนจะสรุปว่าเป็นกรดไหลย้อน

ควรปฏิบัติตนเช่นไร ทำอย่างไร หากมีอาการของกรดไหลย้อน

● ลดน้ำหนัก หากมีภาวะอ้วนหรือน้ำหนักตัวเกิน

● รับประทานอาหารให้เป็นเวลา ไม่รับประทานอาหารพร่ำเพรื่อ

● หากมีอาการตอนเข้านอนกลางคืน ให้เลี่ยงอาหารอย่างน้อย 3 ชั่วโมงก่อนเข้านอน และนอนศีรษะสูง

● รับประทานยาลดการหลั่งกรด หรือ ยากลุ่มอัลจิเนต เพื่อบรรเทาอาการ

● ลด หรือ เลี่ยงอาหารมัน และแอลกอฮอล์ เพราะมักกระตุ้นให้อาการกรดไหลย้อนกำเริบ

กรดไหลย้อน มีอาการแค่ไหนจึงควรไปพบแพทย์

● อาการไม่ดีขึ้นหลังปรับการใช้ชีวิตแล้ว

● อาการไม่ดีขึ้นหลังรับประทานยา

● อาการดีขึ้น แต่หยุดยาไม่ได้

อาการร่วมใดที่ต้องรีบไปพบแพทย์

● กลืนติด กลืนเจ็บ

● มีภาวะซีด และ/หรือ ถ่ายดำ

● น้ำหนักลด

● มีน้ำหรืออาหารไหลย้อนออกมาบ่อยๆ

● มีอาการ คลื่นไส้ อาเจียน

กรดไหลย้อน เป็นเรื้อรังได้หรือไม่ และก่อให้เกิดมะเร็งได้หรือไม่

กรดไหลย้อน มีอาการเรื้อรังเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งหากตอบสนองกับการรักษาไม่ดี ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อพิจารณาการตรวจสืบค้นเพิ่มเติม กรณีที่กรดไหลย้อนจนเกิดการอักเสบรุนแรง (วินิจฉัยโดยการส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนต้น) ของหลอดอาหารส่วนล่าง และไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมพบว่าสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งหลอดอาหาร

ยารักษากรดไหลย้อน

1.ยาลดการหลั่งกรด เป็นยาเม็ด รับประทานง่าย ประสิทธิภาพดี ข้อจำกัดคือ ยาส่วนใหญ่ต้องกินก่อนอาหารอย่างน้อย 30 นาที และอาจมีผลต่อการดูดซึม หรือการออกฤทธิ์ของยาอื่นๆ

2.ยาที่ออกฤทธิ์ลดความเป็นกรด ได้แก่ alum milk และยากลุ่มอัลจิเนต มีทั้งชนิดน้ำและเม็ด ออกฤทธิ์เร็ว รับประทานเพื่อระงับอาการกำเริบเป็นครั้งคราวได้ดีโดยไม่จำเป็นต้องกินตามมื้ออาหาร และมีผลต่อยาอื่นน้อยมาก

หากมาพบแพทย์ มีการสืบค้นอย่างไรบ้าง เพื่อยืนยันว่าเป็นกรดไหลย้อน

● ส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนบน เพื่อดูรอยโรคที่มีการอักเสบของหลอดอาหารส่วนล่าง

● การสอดสายเพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงการทำงานของหลอดอาหาร เพื่อดูความกระชับของหูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง และประเมินแรงบีบไล่อาหารของหลอดอาหาร

● การใส่สายวัดความเป็น กรด ด่าง ในหลอดอาหาร วิธีนี้ผู้ป่วยจะมีสายเล็กๆ สอดใส่ผ่านรูจมูกข้างใดข้างหนึ่ง โดยส่วนปลายสายอยู่ในกระเพาะอาหาร ส่วนต้นสายจะโผล่ออกมาทางรูจมูก และติดต่อกับอุปกรณ์บันทึกข้อมูลชนิดติดตามตัว เพราะต้องใช้เวลาในการตรวจอย่างน้อย 24 ชั่วโมง และต้องบันทึกรายละเอียดของอาการด้วยเพื่อใช้ประกอบในการแปลผล

กรดไหลย้อนรักษาโดยการผ่าตัดได้หรือไม่

มีการรักษาผ่านการส่องกล้องเพื่อไปทำให้หูรูดหลอดอาหารกระชับขึ้น ทั้งนี้ แพทย์จะทำการประเมินผู้ป่วย และพิจารณาถึงข้อบ่งชี้ ดังนั้น ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนการรักษาด้วยวิธีดังกล่าว

รศ. พญ.มณฑิรา มณีรัตนะพร

สาขาวิชาโรคระบบทางเดินอาหาร 

ภาควิชาอายุรศาสตร์ 

คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล

ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

'ลิณธิภรณ์'น้อมรับดราม่าสะกดคำผิด บอกมีปัญหาสุขภาพ ทำพูดสั่งการโทรศัพท์เพี้ยน

เจดีย์อัฐิ ‘พระราชมนู’ ทหารเอกสมเด็จพระนเรศวรฯ ที่วัดช้าง จ.อ่างทอง

'อั๋น เจษฎา'ยื้อรักสุดใจผ่าน 'ห้ามไม่ไหว'เพลงของคนที่รู้ว่าเธอต้องไป แต่อยากขอโอกาสใหม่อีกครั้ง

'อีอึนแซม – เยริ'คัมแบ็คสู่สงครามแห่งชนชั้น ในซีรีส์มัธยมสุดแซ่บ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved