วันเสาร์ ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
การให้อาหารทางสายให้อาหาร (enteral tube feeding) คืออะไร และผู้ป่วยแบบไหนควรได้รับ

การให้อาหารทางสายให้อาหาร (enteral tube feeding) คืออะไร และผู้ป่วยแบบไหนควรได้รับ

วันอังคาร ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2567, 06.00 น.
Tag : การให้อาหาร enteral tube feeding
  •  

การให้อาหารทางสายให้อาหาร (enteral tube feeding) หรือการให้อาหารทางทางเดินอาหาร (enteral nutrition, EN) คือ การให้สารอาหารเข้าทางทางเดินอาหาร โดยผ่านสายยางหรือท่อ โดยปลายสายมักอยู่ในกระเพาะอาหาร การให้อาหารรูปแบบนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่เพียงพอ โดยยังมีการใช้ทางเดินอาหารอยู่ ซึ่งจะช่วยให้ระบบทางเดินอาหารยังมีการทำงานเป็นปกติ ป้องกันการฝ่อของเซลล์เยื่อบุผนังลำไส้ ซึ่งการฝ่อนี้จะทำให้เกิดภาวะแบคทีเรียหรือสารพิษที่อยู่ในลำไส้เคลื่อนเข้าในกระแสเลือด ทำให้เพิ่มการอักเสบและความเสี่ยงของการติดเชื้อได้ ดังนั้นการให้อาหารรูปแบบนี้จึงควรพิจารณาก่อนการให้อาหารทางหลอดเลือดดำ (parenteral nutrition, PN) เสมอ ยกเว้นในผู้ป่วยที่มีภาวะทางเดินอาหารไม่สามารถทำงานได้ หรือภาวะลำไส้ล้มเหลว (intestinal failure)

ผู้ป่วยที่ควรได้รับอาหารทางสายให้อาหาร คือ ผู้ป่วยที่ทางเดินอาหารยังสามารถทำงานได้ เช่น ไม่มีภาวะลำไส้อุดตัน ลำไส้ทะลุ หรือลำไส้เคลื่อนไหวผิดปกติอย่างรุนแรง ร่วมกับไม่สามารถรับประทานอาหารทางปากได้อย่างเพียงพอหรืออย่างปลอดภัย เช่น มีการอุดตันที่คอหรือหลอดอาหารจากมะเร็ง มีการอักเสบอย่างรุนแรงในช่องปาก มีภาวะเบื่ออาหารอย่างรุนแรง หรือมีภาวะกลืนลำบากอย่างรุนแรงทำให้เกิดอาการสำลักในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหรือโรคอื่นๆ เป็นต้น การให้อาหารทางสายให้อาหารในผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีประโยชน์ ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหาร รวมถึงสารน้ำที่เพียงพอโดยยังได้รับประโยชน์ของการใช้ทางเดินอาหารอยู่ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ดังนั้นถ้ามีข้อบ่งชี้เหล่านี้ โดยเฉพาะถ้ามีความเสี่ยงของภาวะทุพโภชนาการ (malnutrition) เช่น น้ำหนักลด กินได้น้อย หรือดัชนีมวลกายน้อยกว่า 18.5 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ควรปรึกษาแพทย์ที่ดูแลเพื่อพิจารณาการให้อาหารทางสายให้อาหาร


สำหรับชนิดของการให้อาหารทางสายให้อาหาร สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ การให้อาหารทางสายให้อาหารผ่านรูจมูกหรือปาก และการให้อาหารทางสายให้อาหารผ่านการเจาะทางหน้าท้อง โดยทั่วไปมักเริ่มให้อาหารทางสายให้อาหารผ่านรูจมูกก่อน และจะพิจารณาให้อาหารผ่านการเจาะทางหน้าท้องในกรณีที่ต้องการหรือคาดว่าจะต้องการการให้อาหารทางสายให้อาหารนานมากกว่า 4-6 สัปดาห์ ซึ่งการให้อาหารทางการเจาะทางหน้าท้องจะมีประโยชน์ คือ การให้อาหารจะง่ายกว่า เนื่องจากสายมักจะมีขนาดใหญ่กว่า และไม่ต้องเปลี่ยนสายบ่อยทุก 4 สัปดาห์เหมือนการให้อาหารทางจมูก โดยการให้อาหารผ่านการเจาะหน้าท้องสามารถทำได้ผ่านการส่องกล้อง การใช้เทคนิคทางรังสี หรือการผ่าตัด

สำหรับผู้ป่วยที่กลัวหรือกังวลว่าการใส่สายจะมีความเจ็บปวดหรือทำให้รับประทานอาหารทางปากไม่ได้ขอแนะนำว่าไม่ต้องกังวล การเจ็บจากการใส่สายจะมีแค่ในช่วงสั้นๆ ที่ใส่และแพทย์จะพยายามใส่โดยการใช้สารหล่อลื่นช่วย โดยหลังจากใส่เสร็จแล้วหลังจากนั้นมักจะไม่มีความเจ็บปวดอีก และการใส่สายมักไม่ได้ขัดขวางการรับประทานอาหารทางปากผู้ป่วยยังสามารถรับประทานอาหารทางปาก หรือฝึกกลืนโดยอาหารฝึกกลืนได้หลังใส่สายให้อาหาร

โดยสรุปการให้อาหารทางสายให้อาหาร เป็นรูปแบบหนึ่งของการดูแลรักษาทางโภชนาการในผู้ป่วยที่ทางเดินอาหารยังสามารถทำงานได้และผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานอาหารทางปากได้เพียงพอ หรือปลอดภัย ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารเพียงพอ และได้รับประโยชน์ของการใช้ทางเดินอาหารอีกด้วย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์นริศร ลักขณานุรักษ์

สาขาวิชาโภชนาการคลินิก ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

และราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

'ภคมน ลิซ่า' สอน 'ณัฐวุฒิ' เก็บอาการหน่อย! บอกควรยืนข้างนายกฯ ไม่ใช่พ่อของนายกฯ

ปรับโครงสร้างครั้งใหญ่! 'พานาโซนิค'เตรียมเลย์ออฟพนักงาน10,000ตำแหน่งทั่วโลก

เพื่อไทย ส่ง 'อนุสรณ์' ลุยช่วย 'อัศนี' เบอร์ 3 นายกเทศมนตรีเทศบาลนครเชียงใหม่

วิชัยเวชฯ จับมือโรงเรียนบ้านด่านโง ร่วมใจปลูกป่า เนื่องในวันต้นไม้ประจำปีของชาติ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved