วันจันทร์ ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
Life & Health : เรียนรู้จักโรคลมชัก..โรคที่รักษาได้

Life & Health : เรียนรู้จักโรคลมชัก..โรคที่รักษาได้

วันพุธ ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2567, 07.15 น.
Tag :
  •  

อาการแสดงของโรคลมชัก อาจเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด เช่น ขับรถ ว่ายน้ำ หรือทำภารกิจสำคัญ ซึ่งหากเกิดขึ้นก็อาจก่อให้เกิดอันตราย ปัจจุบันมีการพัฒนาตัวยารักษาโรคลมชักที่ทันสมัย ผู้ป่วยโรคลมชักที่เข้ารับการรักษากว่า 60-70 เปอร์เซ็นต์จึงสามารถหายได้ด้วยการเลือกและปรับยากันชักให้เหมาะสม

โดยส่วนใหญ่อาการชักสามารถหยุดเองได้ในระยะเวลา 1-2 นาที เพราะฉะนั้นหากพบเห็นผู้ป่วยมีอาการชักแบบเกร็งกระตุก สิ่งที่คนทั่วไปจะช่วยได้คือจับผู้ป่วยนอนตะแคง เพื่อไม่ให้เกิดการสำลัก และที่สำคัญคือห้ามใส่อะไรก็ตามเข้าไปในช่องปากของผู้ป่วย ซึ่งจะทำให้เกิดอันตรายทั้งกับผู้ป่วยและผู้ปฐมพยาบาลเอง


สำหรับการดูแลตัวเองของผู้ป่วยโรคลมชักสามารถทำได้ดังนี้

l รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ ยาเป็นส่วนสำคัญในการควบคุมอาการชัก ควรรับประทานตามคำแนะนำของแพทย์และห้ามหยุดยาด้วยตนเอง

l รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และควรเลือกอาหารที่ส่งเสริมสุขภาพสมอง เช่น ผัก ผลไม้ และโปรตีน

l การพักผ่อนให้เพียงพอ การนอนหลับที่เพียงพอช่วยลดความเครียดและเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน

l การออกกำลังกาย ออกกำลังกายเป็นประโยชน์ในการควบคุมอาการชัก แต่ควรปฏิบัติอย่างระมัดระวัง หากมีอาการชักเกิดขึ้นในช่วงการออกกำลังกาย ควรหยุดทันทีและปรึกษาแพทย์

l หลีกเลี่ยงความเครียด ควรลดความเครียดในชีวิตประจำวัน อาจใช้เทคนิคการผ่อนคลาย เช่น โยคะ การหายใจลึกๆหรือการทำสมาธิ

l หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด แอลกอฮอล์อาจเป็นส่วนที่เสี่ยงทำให้อาการชักกำเริบ

l หากมีไข้สูง ควรรีบรักษาให้หายโดยเร็วที่สุด ไข้สูงอาจเป็นส่วนที่เสี่ยงทำให้อาการชักกำเริบ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาทันที

ข้อมูลจาก นายแพทย์ชูศักดิ์ ลิโมทัย อายุรแพทย์ระบบประสาทเฉพาะทางด้านโรคลมชัก โรงพยาบาลเวชธานี อธิบายว่า โรคลมชัก (Epilepsy) เกิดจากการที่เซลล์สมองปล่อยคลื่นไฟฟ้าออกมามากผิดปกติ โดยแบ่งประเภทของโรคลมชักเป็น 2 ประเภท คือ โรคลมชักที่มีจุดกำเนิดชักเฉพาะที่หรือเกิดขึ้นกับสมองบางส่วน (Focal epilepsy) และโรคลมชักที่กระจายไปทั่วสมอง 2 ข้างอย่างรวดเร็ว (Generalized epilepsy) ซึ่งสาเหตุของโรคลมชักจะแตกต่างกันไปตามช่วงอายุ เช่นในกลุ่มเด็ก พบว่าอาจมีสาเหตุมาจากพันธุกรรม ความผิดปกติของสมองที่เป็นมาแต่กำเนิด หรือมีการติดเชื้อในสมองและจากไข้สูง เป็นต้น,ในกลุ่มผู้ใหญ่ พบว่ามีสาเหตุจากอุบัติเหตุทางสมอง เนื้องอกสมอง เป็นต้น, ในกลุ่มผู้สูงอายุ มักมีสาเหตุจากโรคหลอดเลือดสมอง อย่างไรก็ตาม พบว่า 2 ใน 3 ของผู้ป่วยโรคลมชักมักไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคที่แน่ชัด

ผู้ป่วยโรคลมชักสามารถมีอาการชัก (seizures) โดยไม่มีเหตุกระตุ้น ขณะที่ผู้ป่วยบางส่วนอาจเกิดอาการชักเมื่อมีปัจจัยกระตุ้น เช่น เมื่อมีการอดนอน มีความเครียด

รูปแบบอาการชัก (seizure) จะแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบง่ายๆ ได้แก่

1.อาการชักแบบเกร็ง กระตุก

2.อาการชักแบบเหม่อลอย ผู้ป่วยอาจทำอะไรไม่รู้ตัว มีการเคลื่อนไหวแบบอัตโนมัติ เช่น มีการเคี้ยวปาก มือคลำสิ่งของหรือเสื้อผ้า เป็นต้น ซึ่งคนทั่วไปมักไม่ทราบว่าลักษณะนี้เป็นรูปแบบหนึ่งของอาการชัก

ทั้งนี้ พบว่าหากผู้ป่วยมีอาการชักบ่อยๆ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก อาจส่งผลต่อพัฒนาการที่ล่าช้า ไม่เป็นไปตามช่วงอายุ ในขณะที่ผู้ใหญ่ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าการชักบ่อยส่งผลต่อเซลล์สมองอย่างไร แต่พบว่าในช่วงหลังจากเกิดอาการชักใหม่ๆ ภายใน 5 นาที-1 ชั่วโมง ผู้ป่วยอาจทำอะไรช้าลง สับสน ซึ่งจะเป็นอาการที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น

การตรวจวินิจฉัยโรคลมชัก แพทย์จะต้องใช้เวลาในการซักประวัติทั้งจากผู้เห็นเหตุการณ์หรือครอบครัว และตัวผู้ป่วยเอง โดยผู้ป่วยจะสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาการนำก่อนชัก เช่น แน่นท้อง ใจสั่น ใจหวิว เห็นแสงแปลกๆ หรือหูแว่ว ส่วนผู้เห็นเหตุการณ์จะบอกลักษณะอาการในขณะที่ผู้ป่วยไม่รู้ตัว ซึ่งจะนำมาวิเคราะห์ได้ว่าเกิดจากความผิดปกติจากสมองส่วนใด นอกจากนี้ ยังสามารถวินิจฉัยได้ด้วยการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (Electroencephalography : EEG) เพื่อช่วยยืนยันว่ามีคลื่นที่บ่งชี้ในการเป็นโรคลมชัก และช่วยแยกประเภทของอาการชักซึ่งมีผลต่อการเลือกใช้ยาในการรักษาอย่างเหมาะสม

โรคลมชักเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายด้วยการควบคุมไม่ให้มีอาการชักด้วยยากันชักได้ถึง 60-70 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น วิธีการรักษาโดยทั่วไปจะเริ่มจากการใช้ยากันชักเป็นหลัก แต่ในกลุ่มผู้ป่วยลมชักที่เกิดเฉพาะที่ (Focal epilepsy) หากได้ยาไปแล้ว ยังไม่สามารถควบคุมอาการชักได้ แพทย์อาจพิจารณาตรวจหาจุดกำเนิดชักเพื่อวางแผนผ่าตัด นอกจากนี้ ในกลุ่มผู้ป่วยทั้งกลุ่มโรคลมชักแบบเฉพาะที่ (Focal epilepsy) และแบบกระจายทั้งสมอง (Generalized epilepsy) ยังสามารถใช้รักษาได้ด้วยการใช้คลื่นกระตุ้นสมองส่วนลึก (Deep Brain Stimulation) หรือเครื่องกระตุ้นเส้นประสาทเวกัส (Vagus nerve stimulation : VNS) เพื่อควบคุมอาการชัก ในกลุ่มที่สามารถให้ความร่วมมือด้านโภชนาการได้ ยังสามารถใช้วิธีการรับประทานอาหารแบบคีโตเจนิค (Ketogenic Diet) เพื่อช่วยลดอาการชักได้เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม การป้องกันโรคลมชักจะเน้นไปที่การป้องกันตามสาเหตุ เช่น ในเด็กควรป้องกันไม่ให้เกิดไข้สูงบ่อยๆ ในผู้ใหญ่ควรป้องกันหรือระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุที่จะกระทบต่อสมอง และในผู้สูงอายุ ควรป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง

ขอประชาสัมพันธ์ข้อมูลจาก ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ในการรณรงค์ส่งเสริมให้ผู้บริจาคโลหิตมีการบริจาคโลหิตอย่างสม่ำเสมอทุก 3 เดือนหรือปีละ 4 ครั้งการบริจาคโลหิต เป็นการสละโลหิตส่วนที่ร่างกายยังไม่จำเป็นต้องใช้มาให้กับผู้ป่วย โดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายใดๆ แก่ร่างกาย ทั้งนี้ขอเชิญร่วมบริจาคโลหิตทั่วประเทศ ได้ที่

l ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ถนนอังรีดูนังต์

l หน่วยรับบริจาคโลหิตประจำที่ (Fixed Station) ได้แก่ สถานีกาชาด 11 วิเศษนิยม (บางแค) เดอะมอลล์ สาขาบางแค สาขาบางกะปิสาขางามวงศ์วาน สาขาท่าพระ ศูนย์การค้าดิ เอ็มโพเรียม และบ้านทรงไทย (ย่านวงศ์สว่าง)

l ภาคบริการโลหิตแห่งชาติ 12 แห่งทั่วประเทศ ได้แก่ จังหวัดลพบุรี ชลบุรี ราชบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น อุบลราชธานี นครสวรรค์ พิษณุโลก เชียงใหม่ นครศรีธรรมราช (ทุ่งสง) สงขลา และภูเก็ต

l โรงพยาบาลสาขาบริการโลหิตทั่วประเทศ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ฝ่ายจัดหาผู้บริจาคโลหิตและสื่อสารองค์กร ศูนย์บริการ โลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย โทร.02-2564300, 02-2639600-99 ต่อ 1101, 1760, 1761

ผศ.(พิเศษ)ดร.อภิสิทธิ์ ฉัตรทนานนท์

ประธานกรรมการ มูลนิธิคุณแม่คุณภาพ

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : ใช้ยาธาตุให้มีประโยชน์สูงสุด รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : ใช้ยาธาตุให้มีประโยชน์สูงสุด
  • Science Update : จีนเล็งสร้าง ‘บ้านดวงจันทร์’ Science Update : จีนเล็งสร้าง ‘บ้านดวงจันทร์’
  • Health News : ญี่ปุ่น ‘ป่วยจิต’ จากงานพุ่ง Health News : ญี่ปุ่น ‘ป่วยจิต’ จากงานพุ่ง
  • ตะลอนเที่ยว : กรุงศรีอยุธยา ราชธานี ที่แห่งนี้ไม่มีวันลืมเลือน ตะลอนเที่ยว : กรุงศรีอยุธยา ราชธานี ที่แห่งนี้ไม่มีวันลืมเลือน
  • แหวกฟ้าหาฝัน : Art after 1980 in Goulandris Museum Athens แหวกฟ้าหาฝัน : Art after 1980 in Goulandris Museum Athens
  • ททท.ชวนประชาชนร่วมงานแห่เทียนพรรษาพระราชทานฯ พร้อมชมขบวนแห่ 6 ชนเผ่า ในงานประเพณีแห่เทียนพรรษาที่ จ.สกลนคร ททท.ชวนประชาชนร่วมงานแห่เทียนพรรษาพระราชทานฯ พร้อมชมขบวนแห่ 6 ชนเผ่า ในงานประเพณีแห่เทียนพรรษาที่ จ.สกลนคร
  •  

Breaking News

นักวิชาการ‘กัมพูชา’ยกโพลเย้ยการเมืองไทยเปราะบาง ไม่เหมือน‘ฮุน เซน’ชาวเขมรศรัทธาท่วมท้น

'อดีตสว.สมชาย'สิ้นหวัง! พ.ร.บ.ตำรวจไร้ผล ชี้ระบบอุปถัมภ์-การเมืองทำปฏิรูปแป๊ก

แก้เสียงปริ่มน้ำ!‘สุชาติ’จ่อลาออกสส. เปิดทาง‘ปาร์ตี้ลิสต์’ลำดับถัดไปทำหน้าที่ในสภา

‘ภูมิธรรม’หนุนข้อเสนอ‘รมต.’ไม่มีบทบาทในสภาฯ ควรทิ้งเก้าอี้สส.‘ปาร์ตี้ลิสต์’

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved