เปิดให้เข้าชมงานแล้ว อะกริเทคนิก้า เอเชีย และฮอร์ติ เอเชีย ประจำปี 2567 (AGRITECHNICA ASIA และ HORTI ASIA 2024) ตั้งแต่วันที่ 22-24 พฤษภาคม 2024 ณ ฮอลล์ 98-99 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค กรุงเทพฯ เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 10:00 ถึง 18:00 น. ผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนที่บริเวณหน้างาน
อะกริเทคนิก้า เอเชีย และฮอร์ติ เอเชีย จัดขึ้นโดยสมาคมเกษตรกรรมเยอรมัน (DLG – The German Agricultural Society) และ บริษัท วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค จำกัด (VNU Asia Pacific Co. Ltd.) โดยมีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นเจ้าภาพร่วม ถือเป็นเวทีเพื่อการเรียกร้องอย่างเร่งด่วนในการแก้ไขวิกฤติที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้นในอุตสาหกรรมการเกษตรและทั่วโลก ภาวะโลกร้อน มลพิษจากการเผาไม้ในที่โล่ง และการขาดแคลนอาหารไม่ใช่ภัยคุกคามที่ห่างไกลอีกต่อไป แต่เป็นความจริงที่ส่งผลกระทบต่อผู้คนนับล้าน
คณะผู้บริหารระดับสูงจากวงการเกษตรต่างให้ความสำคัญต่อการจัดงานครั้งนี้ นำโดย ดร.วนิดา กำเนิดเพ็ชร์ ผู้อำนวยการสำนักการเกษตรต่างประเทศ, เอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีประจำกรุงเทพฯ ดร. Ernst Reichel, Mrs. Katharina Staske กรรมการผู้จัดการ DLG เอเชียแปซิฟิก, ศาสตราจารย์ ดร. สัตวแพทย์หญิง แคทารีน่า รีห์น รองประธานและประธานกรรมการ สมาคมเกษตรกรรมเยอรมัน, นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แห่งประเทศไทย, นายภูผา ลิกค์ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน), นางสาวปนัดดา ก๋งม้า รองประธานฝ่ายธุรกิจ บริษัท วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค จำกัด และนายอิกอร์ เพาก้า กรรมการผู้จัดการ บริษัท วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค จำกัด
ศาสตราจารย์ ดร. สัตวแพทย์หญิง แคทารีน่า รีห์น (Prof. Dr. Med. Vet. Katharina Riehn) รองประธานและประธานกรรมการ สมาคมเกษตรกรรมเยอรมัน, กล่าวว่า "ความร่วมมือคือหัวใจหลักของการแก้ไขปัญหา นั่นคือที่มาของธีมการจัดงานในปีนี้ ‘การร่วมสร้างสรรค์และเครือข่ายที่ยั่งยืน’ (Co-Creation and Sustainable Networks) สำหรับการจัดงาน อะกริเทคนิก้า เอเชีย และฮอร์ติ เอเชีย ประจำปี 2567 ได้สร้างสถิติใหม่ ด้วยการขยายขนาดของพื้นที่การจัดแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพิ่มขึ้นเท่าตัวจากการจัดงานในครั้งผ่านมา"
พบกับองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมภายในงาน อะกริเทคนิก้า เอเชีย และฮอร์ติ เอเชีย ตื่นตากับการเปิดตัวเทคโนโลยีและนวัตกรรมล่าสุดจากผู้แสดงสินค้ามากกว่า 320 ราย รวมถึงผู้ผลิตทางการเกษตรและพืชสวนชั้นนำของโลก เช่น แบรนด์ เนต้าฟิม (Netafim), คลาสมาน-เดลมันน์ (Klasmann-Deilmann), ดูมเมน ออ-เร้นจ์ (Dummen Orange), จอน เดียร์ (John Deere), มาฮินทรา แอนด์ มาฮินทรา (Mahindra & Mahindra), แอ๊คโค่ (AGCO), ซีเอ็นเอช - นิว ฮอลแลนด์ (CNH - New Holland) และคลาส (CLAAS) โดยบริษัทเหล่านี้จะนำเสนอเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความยั่งยืนในการเกษตร
รวมทั้ง ยังมีเวทีแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดองค์ความรู้ เป็นความร่วมมือระหว่างคณะผู้จัดงานฯ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการจัดเวทีเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรระดับโลกให้กับเกษตรกรไทยกว่า 1,000 คน ผ่านการนำชมงานเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และประสบการณ์ที่มีค่า รวมถึงแนวทางการปฏิบัติโดยการนำนวัตกรรมไปประยุกต์ใช้เพื่อปรับปรุงเทคนิคการทำฟาร์มให้เหมาะสมกับพื้นที่ในท้องถิ่น
นาง ปนัดดา ก๋งม้า รองประธานฝ่ายธุรกิจ บริษัท วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค จำกัด, เน้นว่า "งาน อะกริเทคนิก้า เอเชีย และฮอร์ติ เอเชีย ประจำปี 2567 คณะผู้จัดงานฯ มีความตั้งใจที่จะผลักดันการพัฒนาด้านการเกษตรที่ยั่งยืนในเอเชีย โดยมีการจัดการแสดงสินค้าด้านการเกษตรและพืชสวน จากแบรนด์ระดับโลกมากกว่า 353 แบรนด์ และการจัดให้มีสัมมนามากกว่า 50 หัวข้อ เป้าหมายของเราคือการทำให้กรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางธุรกิจด้านการเกษตรและพืชสวนชั้นนำของโลกในเอเชีย ซึ่งตลาดการเกษตรในเอเชียกำลังเติบโตอย่างมาก โดยเฉพาะในส่วนของการปลูกพืชในเรือนกระจกที่มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยปีละ 14.12% จากปี 2022 ถึง 2027"
ไฮไลท์หัวข้อการสัมมนา “เกษตรยั่งยืน” กำลังมาแรง!
หัวข้อ: เทคโนโลยีสำหรับการเกษตรที่ยั่งยืนของเกษตรกรรายย่อย จัดโดย องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (Deutsche Gesellschaft für Internationale Zusammenarbeit (GIZ) GmbH) และสถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง (Mekong Institute).
หัวข้อ: การลดมลพิษทางอากาศผ่านการหลีกเลี่ยงการเผาไหม้ในที่โล่งทางการเกษตร จัดโดย เฟรนด์ ออฟ ไทย อะกริคัลเชอร์ (FTA) สำหรับหัวข้อนี้ดำเนินรายการโดย ดร. ไกส์ ทูนิสเซ่น (Dr. Gijs Theunissen) อัครราชฑูตที่ปรึกษา (ฝ่ายเกษตร) – สถานเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย และนางสาวอาน่า แคโรไลน่า มิแรนดา ลามี่ (Ms. Ana Carolina Miranda Lamy) อัครราชฑูตที่ปรึกษา (ฝ่ายสถานเอกอัครราชทูตบราซิลประจำประเทศไทย และมีผู้ร่วมอภิปรายประกอบอีกมากมาย
หัวข้อ: แนวคิดการสร้างรายได้จากเครดิตคาร์บอนในภาคพลังงานและการเกษตร จัดโดยธนาคารโลก ซึ่งมีนาย ขวัญพัฒน์ สุทธิธรรมกิจ เจ้าหน้าที่อาวุโสธนาคารโลก จะอภิปรายเกี่ยวกับวิธีการใช้เครดิตคาร์บอนในภาคการเกษตรเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติที่ยั่งยืนและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
การอภิปรายโดยสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (International Rice Research Institute - IRRI) โดยสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ โดยจะเน้นไปที่ "กฎระเบียบและมาตรฐานสำหรับการพัฒนาตลาดคาร์บอน" และ "การจัดการติดตาม การรายงาน และการทวนสอบให้สอดคล้องกับการเงินเพื่อสภาพภูมิอากาศ"
การจัดงานครั้งนี้ เกษตรกร ผู้ประกอบการด้านการเกษตร รวมถึงผู้เข้าร่วมงานทุกท่านจะได้มีโอกาสในการสำรวจนวัตกรรมด้านการเกษตรที่ทันสมัยและหลากหลาย รวมถึงการเข้าร่วมฟังการสัมมนาที่ให้ความรู้ อีกทั้งยังสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้นำในอุตสาหกรรม นี่เป็นโอกาสของเกษตรกรและผู้ประกอบการด้านการเกษตรในการใช้ประโยชน์จากเวทีนี้ในการเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนการสร้างผลกระทบที่ยั่งยืนต่อการเกษตรและโลกของเรา อย่างก้าวหน้าและยั่งยืน
สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานสามารถเข้าชมได้ที่ www.agritechnica-asia.com and www.horti-asia.com
ขอสงวนสิทธิ์สำหรับผู้ที่มีอายุมากกว่า 16 ปีขึ้น และกรุณาแต่งกายสุภาพสำหรับการเยี่ยมชมงาน
-(016)
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี