วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
‘โรคจิตเภท’ 1 ใน 5 โรคจิตเวชที่พบบ่อยในวัยทำงาน

‘โรคจิตเภท’ 1 ใน 5 โรคจิตเวชที่พบบ่อยในวัยทำงาน

วันพุธ ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2567, 06.05 น.
Tag : โรคจิตเวช โรคจิตเภท
  •  

ทุกๆ วันที่ 24 พฤษภาคมของทุกปีองค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดให้เป็นวันจิตเภทโลก เพื่อรณรงค์ให้ทุกคนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคจิตเภทอย่างถูกต้องและลดการตีตราผู้ป่วยโรคจิตเภทจากสังคมซึ่งจากสถิติพบว่าโรคจิตเภท มักเกิดขึ้นในกลุ่มวัยทำงานมากกว่าวัยอื่นๆ เนื่องจากความเครียดเป็นหนึ่งในสาเหตุการก่อโรค

แพทย์หญิงณัฏฐพัชร์ ลำเลียงพล จิตแพทย์ โรงพยาบาล BMHH-Bangkok Mental Health Hospital กล่าวว่า วัยทำงานเป็นวัยที่ต้องเผชิญกับสภาวะความเครียดจากปัญหาต่างๆ ในชีวิตมากกว่าวัยอื่นๆ ทั้งเรื่อง การทำงาน การเข้าสังคม หรือการแบกความรับผิดชอบในวัยที่มากขึ้น ดังนั้น วัยทำงานจึงเป็นช่วงอายุที่พบโรคทางจิตเวชได้มากที่สุด


“โรคจิตเภท” หรือ Schizophreniaเป็น 1 ใน 5 โรคทางจิตเวชที่พบบ่อยในวัยทำงาน เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของสมอง ส่งผลให้มีความคิดและการรับรู้ที่ผิดปกติไปจากเดิม โดยมักจะมีอาการหูแว่ว ประสาทหลอน พูดไม่รู้เรื่องหรือมีพฤติกรรมแปลก ๆ สาเหตุของการเกิดโรคแบ่งเป็น 3 สาเหตุ ได้แก่ พันธุกรรม, ความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมอง, และภาวะทางด้านจิตใจ ซึ่งโรคจิตเภทเป็นโรคที่มีความรุนแรงจำเป็นต้องรีบรักษา

นอกจากนี้ โรคอื่นๆ ที่สามารถพบได้บ่อยในกลุ่มวัยทำงาน ได้แก่ ติดสารเสพติดพบมากในวัยผู้ใหญ่ แต่ก็พบเพิ่มมากขึ้นในเยาวชนตั้งแต่อายุ 15 ปีขึ้นไป ยาเสพติดที่ถูกใช้มากที่สุดในประเทศไทย คือ สุรา ร้อยละ 18บุหรี่ ร้อยละ 14.9 และติดยาเสพติดอื่นๆ เช่น กัญชา ยาบ้า ยาไอซ์ ร้อยละ 2.8

พญ.ณัฏฐพัชร์ ลำเลียงพล

โรคซึมเศร้า มีคนจำนวนมากที่ยังไม่รู้ว่าตัวเองเป็นโรคซึมเศร้า ทำให้ไม่ได้เข้ารับการรักษาหรือบางคนอาจรู้ตัวแต่ไม่ยอมรักษาจนทำให้มีอาการที่รุนแรงขึ้น

โรควิตกกังวลในกลุ่มวิตกกังวลมีหลายชนิดที่พบมาก ได้แก่ โรคแพนิค โรคกลัวสถานที่ โรควิตกกังวลไปทั่ว และโรคเครียดหลังประสบเหตุการณ์รุนแรง

โรคอารมณ์แปรปรวนหรือโรคไบโพลาร์ ผู้ป่วยจะมีลักษณะอารมณ์เปลี่ยนไป-มา ระหว่างซึมเศร้าสลับกับช่วงอารมณ์ดีมากกว่าปกติ

ไม่เพียงแต่วัยทำงานเท่านั้นที่เป็นโรคทางจิตเวชได้ ในวัยอื่นๆ ก็สามารถเกิดโรคทางจิตเวชได้เช่นกัน โดยจะแบ่งเป็นตามกลุ่มวัยดังนี้ วัยเด็กและวัยรุ่น มักได้รับการวินิจฉัยโรคในช่วงอายุ 7-14 ปี โดยในช่วงวัยนี้พบความชุกของโรคตามลำดับ ดังนี้ โรคสมาธิสั้น, โรคออทิสติก, โรคพฤติกรรมเกเรก้าวร้าว และสติปัญญาต่ำกว่าวัย

วัยสูงอายุ เป็นวัยที่มักเกิดโรคสมองเสื่อมซึ่งเป็นภาวะที่สมองทำงานผิดปกติส่งผลให้มีอาการหลงลืม ความจำเสื่อม บุคคลิกภาพเปลี่ยนแปลงหรือผิดปกติ จนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต โดยส่วนใหญ่มักเกิดกับผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป

ทั้งนี้ โรคทางจิตเวช หลายโรครักษาให้หายได้ หลายโรครักษาให้ดีขึ้นได้ เพราะฉะนั้นการเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้องและต่อเนื่องเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ป่วยและคนใกล้ชิดควรต้องให้ความร่วมมือ เพื่อผู้ป่วยจะสามารถกลับมาใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างปกติสุข

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

'ทักษิณ'หมดทางแล้ว! 'เสรีพิสุทธ์' ชี้ยัดคุกได้เลย

'สว.จิระศักดิ์-สว.วุฒิชาติ'ปิดบ้านเงียบ! กกต.-ดีเอสไอ แปะหมายเรียกหน้าบ้าน

หวดไทยพร้อมลุย! สู้ศึกชิงแชมป์โลกที่คาซัคฯ

'จุลพันธ์'พร้อมคุย'อนุทิน'ทำประชามติ กม.คอมเพล็กซ์ ไม่ใช่เป็นการเสนอขึ้นมาลอยๆ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved