วันจันทร์ ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
หยุดช้อปปิ้งไม่ได้ สัญญาณอันตรายของโรคเสพติดการช้อปปิ้ง

หยุดช้อปปิ้งไม่ได้ สัญญาณอันตรายของโรคเสพติดการช้อปปิ้ง

วันอังคาร ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2567, 07.00 น.
Tag :
  •  

การช้อปปิ้งในออนไลน์ หรือออฟไลน์ ถือเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวันของใครหลายคน แต่ถ้าช้อปจนหยุดตัวเองไม่ได้ ซื้อของเกินความจำเป็น จนเกิดปัญหาหนี้สิน กระทบต่อความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว ซึ่งอาการเหล่านี้อาจเข้าข่ายเป็น Shopaholic หรือ โรคเสพติดการช้อปปิ้งโดยไม่รู้ตัว

แพทย์หญิงอริยาภรณ์ ตั้งชีวินศิริกูล จิตแพทย์โรงพยาบาล BMHH- BangkokMental Health Hospital กล่าวว่า Shopaholic หรือโรคเสพติดการช้อปปิ้ง เป็นโรคทางสุขภาพจิตประเภทหนึ่ง ซึ่งผู้ที่เป็นโรคนี้จะเสพติดการซื้อของโดยที่ไม่คำนึงถึงสถานะทางการเงินของตัวเอง และมีความอยากจะไปช้อปปิ้งอยู่ตลอดเวลาโดยไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ จนทำให้เกิดปัญหาตามมา เช่น ปัญหาหนี้สิน ปัญหาความสัมพันธ์จนต้องทะเลาะกับคนในครอบครัว บางครั้งซื้อมาแล้วต้องโกหกคนในครอบครัวว่ามีคนให้มา หรือบอกราคาที่ถูกกว่าราคาจริงที่ซื้อ ซึ่งโรคนี้พบได้ตั้งแต่วัยรุ่นขึ้นไปทั้งเพศหญิงและเพศชาย


9 พฤติกรรมที่เข้าข่ายการเป็น Shopaholic มีดังนี้ อยากซื้อของตลอดเวลา ซื้อของเกินความ จำเป็น ยับยั้งพฤติกรรมการช้อปปิ้งของตัวเองไม่ได้มีความรู้สึกดีเมื่อได้ซื้อของ โดยมักจะรู้สึกดีได้แค่ช่วงเวลาสั้นๆ รู้สึกผิดหลังจากที่ซื้อมาแล้ว ซื้อมาแล้วไม่ได้ใช้ ซื้อซ้ำๆ ทั้งที่มีอยู่แล้วหลายชิ้น ต้องหลบซ่อนหรือโกหกปกปิดเวลาซื้อของนั้นๆ มีปัญหาด้านอื่นๆ เกิดขึ้นตามมา เช่น เกิดปัญหาหนี้สิน ปัญหาความสัมพันธ์ เป็นต้น

โรคเสพติดการช้อปปิ้ง เกิดได้ทั้งปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยทางสังคม ซึ่งสาเหตุที่มาจากปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ มีภาวะซึมเศร้า ภาวะวิตกกังวล ขาดความภาคภูมิใจในตัวเอง มีปัญหาในการควบคุมตัวเองหรือยับยั้งชั่งใจ ส่วนปัจจัยทางสังคม เช่น การซื้อของผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ รวมไปถึงการใช้บัตรเครดิตในการซื้อของไปก่อนโดยยังไม่ต้องใช้เงินสด สิ่งเหล่านี้ล้วนมีส่วนกระตุ้นให้เกิดการเสพติดช้อปปิ้งได้ง่ายกว่าเมื่อก่อน

โรคเสพติดการช้อปปิ้ง สามารถรักษาให้หายได้ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการเปลี่ยนทัศนคติ เช่น การจำกัดวงเงินบัตรเครดิตหรืองดใช้บัตรเครดิต โดยส่วนใหญ่แล้วจิตแพทย์จะรักษาด้วยการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioural Therapy : CBT) ซึ่งจะเป็นการพูดคุยให้คำปรึกษา เพื่อค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของการมีพฤติกรรมโรคเสพติดการช้อปปิ้ง จากนั้นจึงทำการปรับเปลี่ยนความคิดปรับพฤติกรรม เพื่อให้ผู้รับคำปรึกษาเข้าใจตัวเองและปรับเปลี่ยนนิสัยการเสพติดการช้อปปิ้งได้ เช่น หากใช้การช้อปปิ้งเป็นการระบายความเครียด ก็อาจจะหาวิธีระบายความเครียดวิธีอื่นๆ ที่ไม่ส่งผลเสียต่อตัวเอง หรือถ้ามีภาวะซึมเศร้าร่วมด้วย ก็ต้องรักษาควบคู่กันไป

สำหรับการป้องกันโรคเสพติดการช้อปปิ้งต้องเริ่มจากการวางแผนการใช้จ่าย จดบันทึกรายรับรายจ่าย หลีกเลี่ยงการใช้จ่ายเกินตัว,หากิจกรรมอื่นๆ ทำยามว่าง แทนการช้อปปิ้ง เช่น ออกกำลังกาย อ่านหนังสือ ออกไปสังสรรค์กับเพื่อน, ฝึกฝนการควบคุมตัวเอง และหลีกเลี่ยงสื่อโฆษณา การตลาดที่กระตุ้นให้ซื้อของ

อย่างไรก็ตาม หากพบว่าตัวเองหรือคนใกล้ตัวมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเป็นโรคเสพติดการช้อปปิ้งควรเข้ามาปรึกษาจิตแพทย์ เพื่อรับการวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างเหมาะสม

พญ.อริยาภรณ์ ตั้งชีวินศิริกูล
พญ.อริยาภรณ์ ตั้งชีวินศิริกูล

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : ใช้ยาธาตุให้มีประโยชน์สูงสุด รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : ใช้ยาธาตุให้มีประโยชน์สูงสุด
  • Science Update : จีนเล็งสร้าง ‘บ้านดวงจันทร์’ Science Update : จีนเล็งสร้าง ‘บ้านดวงจันทร์’
  • Health News : ญี่ปุ่น ‘ป่วยจิต’ จากงานพุ่ง Health News : ญี่ปุ่น ‘ป่วยจิต’ จากงานพุ่ง
  • ตะลอนเที่ยว : กรุงศรีอยุธยา ราชธานี ที่แห่งนี้ไม่มีวันลืมเลือน ตะลอนเที่ยว : กรุงศรีอยุธยา ราชธานี ที่แห่งนี้ไม่มีวันลืมเลือน
  • แหวกฟ้าหาฝัน : Art after 1980 in Goulandris Museum Athens แหวกฟ้าหาฝัน : Art after 1980 in Goulandris Museum Athens
  • ททท.ชวนประชาชนร่วมงานแห่เทียนพรรษาพระราชทานฯ พร้อมชมขบวนแห่ 6 ชนเผ่า ในงานประเพณีแห่เทียนพรรษาที่ จ.สกลนคร ททท.ชวนประชาชนร่วมงานแห่เทียนพรรษาพระราชทานฯ พร้อมชมขบวนแห่ 6 ชนเผ่า ในงานประเพณีแห่เทียนพรรษาที่ จ.สกลนคร
  •  

Breaking News

ล้วงย่ามพระ!‘สุชาติ’เล็งตั้ง‘ธนาคารพุทธศาสนา’ ดูแลทรัพย์สิน-แยกเงิน‘สงฆ์-วัด’

ภูมิธรรม รับฟัง ‘เลขาฯกฤษฎีกา’ แนะ ครม. รักษาการนายกฯยุบสภาไม่ได้ บอกความเห็น ‘วิษณุ’ ก็ต้องฟัง

รุกฆาต! ดันนิรโทษกรรมสุดซอย ส้มแดงดีลลับ ปล่อยผี 'คดีทุจริต-ม.112คดีอาญาร้ายแรง'

'ภูมิธรรม'บ่ายเบี่ยง! บอกไม่ทราบชงถอนร่างเอนเตอร์เทนเมนต์ฯ พรุ่งนี้หรือไม่

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved