วันเสาร์ ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
เมื่อ‘โรคกลัวการแยกจาก’กลายเป็นอุปสรรคในชีวิต

เมื่อ‘โรคกลัวการแยกจาก’กลายเป็นอุปสรรคในชีวิต

วันพุธ ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2567, 06.00 น.
Tag : โรคกลัวการแยกจาก
  •  

ทำไมเด็กบางคนถึงร้องไห้ฟูมฟายไม่ยอมไปโรงเรียน หรือผู้ใหญ่ทำงานไม่ได้เพราะคิดถึงลูกตลอดเวลา ปัญหาเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากความดื้อรั้น แต่อาจเป็นอาการแสดงของ โรคกลัวการแยกจาก (Separation Anxiety Disorder) ซึ่งเป็นภาวะทางจิตที่ซ่อนเร้นอยู่เบื้องหลังความกลัว

ที่สามารถส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตเป็นอย่างมาก


นพ.ณชารินทร์ พิภพทรรศนีย์

นายแพทย์ณชารินทร์ พิภพทรรศนีย์ จิตแพทย์โรงพยาบาล BMHH-Bangkok Mental Health Hospital กล่าวว่า โรคกลัวการแยกจาก (Separation Anxiety Disorder) เป็นภาวะทางจิตที่ผู้ป่วยจะรู้สึกกลัวหรือมีความวิตกกังวลอย่างรุนแรงเมื่อต้องแยกจากบุคคลที่ตนรักหรือสถานที่ที่คุ้นเคย เช่น กลัวว่าจะถูกทิ้ง กลัวว่าจะเกิดเรื่องร้ายแรงกับคนที่ตนรัก กลัวว่าตัวเองจะหลงทาง ซึ่งอาการกลัวการแยกจากพบบ่อยในเด็กเล็ก
ที่อายุระหว่าง 6 เดือน ถึง 2 ปี แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้ในวัยผู้ใหญ่เช่นกัน บางคนที่อาการรุนแรงอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การทำงาน การเรียน และความสัมพันธ์กับผู้อื่น

โรคกลัวการแยกจากจะมีอาการดังต่อไปนี้ กังวลและกลัวเป็นอย่างมากเมื่อต้องแยกจากคนที่รัก กลัวว่าคนที่รักจะเป็นอันตรายเมื่อต้องแยก
จากกัน รู้สึกเหงา โดดเดี่ยวเมื่ออยู่คนเดียว อยากรู้ว่าอีกฝ่ายทำอะไร อยู่ที่ไหน ตลอดเวลา กลัวการอยู่คนเดียว ตื่นตระหนก อารมณ์ฉุนเฉียว ในเวลาที่ต้องแยกจากพ่อแม่หรือคนที่รัก แสดงอาการเจ็บป่วยทางกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน นอนไม่หลับ

สาเหตุของโรควิตกกังวลจากการแยกจากกันอาจเกิดจากปัจจัยทางชีวภาพ เช่น พื้นอารมณ์ของเด็กที่ติดตัวมาแต่กำเนิด ปัจจัยทางจิตใจและสิ่งแวดล้อม เช่น เหตุการณ์ความเครียดที่ทำให้ต้องแยกจาก พลัดพราก สูญเสียคนที่รัก การย้ายบ้านหรือเปลี่ยนโรงเรียน การถูกเลี้ยงดูในลักษณะปกป้องหรือประคบประหงมมากเกินไป สมาชิกในครอบครัวมีความวิตกกังวลหรือความผิดปกติทางจิตอื่นๆ และการที่เด็กไม่สามารถสร้างความผูกพันที่มั่นคงปลอดภัยกับพ่อแม่หรือผู้ดูแลได้

การรักษาโรคกลัวการแยกจาก ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยมีวิธีการรักษาหลายวิธี ได้แก่ จิตบำบัด (Psychotherapy) เพื่อให้ผู้ป่วยได้เข้าใจการเจ็บป่วยและลดความวิตกกังวล ปรับตัวต่อภาวะแยกจากได้ ทั้งนี้ อาจใช้วิธีการปรับความคิดและพฤติกรรม (Cognitive behavioral therapy)เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยเรียนรู้ที่จะจัดการกับความคิดและความรู้สึกที่ก่อให้เกิดความวิตกกังวลและพัฒนาทักษะในการเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่ตนกลัว ในบางรายอาจมีการพิจารณาใช้การรักษาด้วยยาเพื่อควบคุมอาการวิตกกังวล เช่น ยาต้านเศร้า หรือยาลดความวิตกกังวล เพื่อให้สามารถเผชิญกับสถานการณ์ และร่วมมือกับการทำจิตบำบัดได้ดีขึ้น

อย่างไรก็ตาม โรคกลัวการแยกจากหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม สามารถนำไปสู่การเกิดโรคทางจิตเวชอื่นๆ ได้ เช่นโรคแพนิก หรือโรควิตกกังวล ดังนั้น หากสังเกตพบว่า บุตรหลานมีอาการวิตกกังวลมากจนเริ่มมีปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวัน แนะนำให้รีบมาพบจิตแพทย์ นักจิตวิทยา เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสม

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

'เสื้อแดงโคราช' แห่ต้อนรับ 'ทักษิณ' เป็นประธานเททองหล่อรูปเหมือน 'หลวงพ่อคูณ'

‘ปาเกียว’พร้อม! ตะบันรุ่นใหญ่สุดรอบ 12 ปี

คุกคืนที่2!‘สีกากอล์ฟ’เครียดบ้าง ทำใจได้ อาจเจอ‘สีกาเก็น’ในแดนระหว่างพิจารณาคดี

หนุ่มดวงถึงฆาต! ขี่จยย.จะไปทำงาน-หลบหลุมน้ำ 'เฉี่ยวรถกระบะเสียชีวิต'

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved