บริษัท DKSH (ประเทศไทย) จำกัด พันธมิตรเชิงกลยุทธ์ด้านโซลูชั่นการดูแลสุขภาพและผู้นำด้านการขยายตลาด สำหรับบริษัทผู้ผลิตเวชภัณฑ์ยา บริษัทผู้ผลิตยาจำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์ (OTC) ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ และเครื่องมือแพทย์ ได้ร่วมมือกับ FrontierView บริษัท ที่ปรึกษาและให้บริการด้านข้อมูลชั้นนำจัดทำเอกสารการศึกษา (Whitepaper) ในหัวข้อ “ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โอกาสแห่งการเติบโตของธุรกิจดูแลสุขภาพ” ซึ่งนำเสนอเกี่ยวกับโอกาสและความท้าทายของตลาดสุขภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทย ซึ่งมีการเติบโตสูงและได้รับความสนใจจากบริษัทผู้ผลิตเวชภัณฑ์ยาทั่วโลกเป็นอย่างมาก ในขณะเดียวกันก็ยังมีความท้าทายที่หลายฝ่ายต้องหาแนวทางจัดการบริหารร่วมกัน เพื่อให้คนไทยสามารถเข้าถึงระบบการดูแลสุขภาพได้มากขึ้น
อุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพของไทยกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยได้รับปัจจัยบวกจากการขยายตัวของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การขยายธุรกิจการดูแลสุขภาพของภาคเอกชน และความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน (PPPs) อย่างไรก็ตาม การเติบโตนี้มาพร้อมกับความท้าทายหลายประการ ตั้งแต่การขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ ความต้องการด้าน
งบประมาณ และข้อจำกัดด้านนโยบายและกฎระเบียบต่างๆ หากสามารถบริหารจัดการความท้าทายเหล่านี้ได้จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและสามารถแข่งขันในระดับภูมิภาคได้
นายแพทริค แกรนเด รองประธานฝ่ายบริหาร และหัวหน้าฝ่าย Commercial Outsourcing ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก DKSH กล่าวว่า “เอกสารการศึกษานี้ช่วยยืนยันในความเชื่อมั่นที่เรามีต่อตลาดในประเทศไทย ซึ่งยังคงเป็นหนึ่งในตลาดที่มีศักยภาพสูงที่สุดในภูมิภาค สำหรับบริษัทผู้ผลิตเวชภัณฑ์ยา สินค้าสุขภาพ และอุปกรณ์การแพทย์ การขยายตัวของชนชั้นกลางอย่างต่อเนื่องและการก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ ส่งผลให้ความต้องการบริการด้านสุขภาพจากภาคเอกชนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภาคส่วนต่างๆในอุตสาหกรรมนี้จึงต้องร่วมมือกันเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยและผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพในประเทศไทยทุกคนสามารถเข้าถึงการรักษาและการดูแลที่มีคุณภาพได้อย่างเท่าเทียมกัน”
เมื่อความต้องการด้านสุขภาพในประเทศไทยเพิ่มขึ้น ภาครัฐจึงสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน (PPPs) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับผู้ป่วยในระบบสุขภาพภาครัฐตัวอย่างที่เด่นชัดคือ โครงการโรงพยาบาลปลวกแดง 2 ที่ภาครัฐและเอกชนทำร่วมกัน ความร่วมมือเช่นนี้จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านสุขภาพ ภายใต้ทรัพยากรที่ภาครัฐมีอยู่ นอกจากนี้ การมีส่วนร่วมของภาคเอกชนยังนำเอาความเชี่ยวชาญ ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน และนวัตกรรมที่จำเป็น มาช่วยจัดการกับความต้องการด้านสุขภาพที่ซับซ้อนมากขึ้นของประเทศไทยอีกด้วย
เอกสารการศึกษาได้ระบุว่า ประเทศไทยจะต้องบริหารจัดการเรื่องการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์การจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอ และข้อจำกัดจากกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้ได้ การแสวงหาความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนเป็นทางแก้ปัญหาที่ดี แต่ก็ต้องให้ความสำคัญกับการร่วมมือกันระหว่างรัฐบาล ภาคเอกชน และบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อสร้างความยั่งยืนให้แก่ระบบการดูแลสุขภาพ
“DKSH ยังคงเดินหน้าสนับสนุนอุตสาหกรรมสุขภาพในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ผ่านความเชี่ยวชาญด้านการขยายตลาดเชิงพาณิชย์ การปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆ และการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน เรามุ่งมั่นที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยช่วยให้ผู้บริโภคเข้าถึงการดูแลสุขภาพได้มากขึ้นด้วยประสบการณ์กว่า 100 ปี ในการเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์เคียงข้างคู่ค้าของเราในการดำเนินธุรกิจในภูมิภาคเอเชีย เราได้สะสมองค์ความรู้มากมายและมีความภาคภูมิใจและยินดีอย่างยิ่งที่ได้แบ่งปันองค์ความรู้ของเราเพื่อเป็นข้อมูลในการดำเนินธุรกิจในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ผ่านเอกสารการศึกษาฉบับนี้” นายแพทริค กล่าวทิ้งท้าย
ผู้สนใจสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับความท้าทายและโอกาสในอุตสาหกรรมดูแลสุขภาพของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทย จากเอกสารการศึกษาฉบับเต็มได้ที่ https://bit.ly/hecwhitepaper.
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี