วันเสาร์ ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
‘เครื่องรัก-เครื่องมุก’ มรดกภูมิปัญญาที่ใกล้สูญหาย  SACIT ตอกย้ำคุณค่าผ่านนโยบาย ‘หัตถศิลป์ที่คิดถึง’

‘เครื่องรัก-เครื่องมุก’ มรดกภูมิปัญญาที่ใกล้สูญหาย SACIT ตอกย้ำคุณค่าผ่านนโยบาย ‘หัตถศิลป์ที่คิดถึง’

วันพฤหัสบดี ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568, 06.00 น.
Tag : เครื่องรัก เครื่องมุก หัตถศิลป์
  •  

สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ SACIT เดินหน้าตอกย้ำคุณค่าศิลปหัตถกรรมไทย ชูงาน “เครื่องรัก-เครื่องมุก” ผ่านนโยบาย “หัตถศิลป์ที่คิดถึง” ขับเคลื่อนนโยบายการอนุรักษ์งานฝีมือทรงคุณค่า และสืบทอดมรดกทางภูมิปัญญาอันล้ำค่าให้อยู่คู่สังคมไทย มุ่งสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนทักษะเชิงช่าง และเชิดชูผู้สร้างสรรค์ศิลปหัตถกรรม ควบคู่ผลักดันการถ่ายทอดองค์ความรู้ไม่ให้สูญหายไปตามกาลเวลา


ผศ.ดร.อนุชา ทีรคานนท์

ผศ.ดร.อนุชา ทีรคานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย กล่าวว่า เพื่อตอกย้ำการดำเนินงานของ SACITในการส่งเสริมงานศิลปหัตถกรรมไทยให้มีคุณค่าอย่างยั่งยืน จึงมีนโยบายในการสืบสาน อนุรักษ์ “หัตถศิลป์ที่คิดถึง”หรือกลุ่มงานศิลปหัตถกรรมไทยมรดกทางภูมิปัญญาของประเทศที่ใกล้สูญหายให้ยังคงอยู่กับคนรุ่นหลัง โดยในปี 2568 นี้ SACIT ได้มุ่งเน้นถ่ายทอดองค์ความรู้ และให้ความสำคัญกับงาน “เครื่องรัก-เครื่องมุก” ซึ่งเป็นงานศิลปหัตถกรรมที่สะท้อนถึงคุณค่า และเสน่ห์ของงานหัตถศิลป์ที่มีการสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน ผลักดันการถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อไม่ให้สูญหายไปตามกาลเวลาพร้อมปูทางเชื่อมโยงองค์ความรู้ และกระบวนการทักษะเชิงช่างในระดับนานาชาติ

ครูจักรกริศษ์ สุขสวัสดิ์

“สำหรับนโยบายการสืบสานและส่งเสริมคุณค่าหัตถกรรมไทยที่ใกล้สูญหาย มีวัตถุประสงค์เพื่อการอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมไทยอันทรงคุณค่าและสืบทอดมรดกภูมิปัญญา พร้อมทั้งผลักดันผลิตภัณฑ์ในกลุ่มงาน “หัตถศิลป์ที่คิดถึง” ให้เป็นที่รู้จักทั้งในและต่างประเทศ โดย SACIT มุ่งเชื่อมโยงองค์ความรู้และสร้างเครือข่ายงานศิลปหัตถกรรมประเภทเครื่องรักในระดับสากล ผ่านการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม อาทิ การสร้างเครือข่ายงานศิลปหัตถกรรม “Local Craft to Global Market” เพื่อแลกเปลี่ยนแนวทางพัฒนางานศิลปหัตถกรรมและแนวทางการส่งเสริมองค์ความรู้งานศิลปหัตถกรรมประเภทเครื่องรัก ผ่านการจัดนิทรรศการ ณ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่ง SACIT ได้ทำความร่วมมือแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในการนำช่างฝีมืองานศิลปหัตถกรรมศึกษาดูงานระหว่างกัน พร้อมทั้งได้ประสานความร่วมมือเชิญมาร่วมในงาน SACIT Symposium การประชุมวิชาการด้านศิลปหัตถกรรม จากผู้เชี่ยวชาญและผู้สร้างสรรค์งานหัตถกรรมจากกลุ่มประเทศอาเซียน รวมไปถึงจีน เกาหลี และญี่ปุ่น ซึ่งจะจัดขึ้นในเดือนสิงหาคมนี้ ณ สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) เป็นการเปิดมุมมองใหม่ในการพัฒนางานหัตถศิลป์ไทย งาน “เครื่องรัก-เครื่องมุก” และงานศิลปหัตถกรรมไทยอื่น ๆ อีกหลายแขนง”

อัจฉราภรณ์ กล่ำเกลื่อน

ผศ.ดร.อนุชา กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ SACIT ยังคงให้ความสำคัญกับผู้สร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรม โดยเฟ้นหาและนำมายกย่อง เชิดชู เป็นครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรม และทายาทช่างศิลปหัตถกรรม ให้การสนับสนุนเหล่าผู้สร้างสรรค์งานหัตถกรรมในทุกมิติ อาทิ การพัฒนาทักษะฝีมือ การส่งเสริมการสร้างรายได้ เพื่อสร้างการรับรู้ถึงคุณค่าของงานหัตถศิลป์ไทย ดังเช่นผลงานหัตถศิลป์ที่คิดถึงในงาน เครื่องรักและเครื่องมุก โดย ครูจักรกริศษ์ สุขสวัสดิ์ ครูศิลป์ของแผ่นดิน ปี 2564 ของ SACIT ผู้สืบสานงานประดับมุกที่วิจิตรบรรจง และ อัจฉราภรณ์ กล่ำเกลื่อนทายาทช่างศิลปหัตถกรรม ปี 2567 ของ SACIT คนรุ่นใหม่ที่ถ่ายทอดเทคนิคเชิงช่างในกระบวนการลงรักปิดทองควบคู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้อย่างร่วมสมัย

ครูจักรกริศษ์ สุขสวัสดิ์ ครูศิลป์ ของแผ่นดิน ปี 2564 ของ SACITผู้สืบสานอนุรักษ์งานประดับมุกที่มีความวิจิตรบรรจง กล่าวว่า “งานประดับมุก”เป็นหนึ่งในมรดกทางวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่า และควรแก่การอนุรักษ์เนื่องจากเป็นศิลปะอีกแขนงหนึ่งที่สะท้อนอัตลักษณ์ไทยที่ใกล้สูญหาย ซึ่งเป็นงานที่ต้องอาศัยฝีมือและความประณีตบรรจง โดยการนำเปลือกหอยที่มีความแวววาว เช่น หอยมุกไฟ หรือหอยโข่งทะเล มาตัด เจียร ฉลุและประดับลงบนชิ้นงาน โดยในอดีตเครื่องประดับมุกเป็นที่นิยมในหมู่ชนชั้นสูงและนิยมนำไปใช้ประดับตกแต่งหุ่นไม้โต๊ะหมู่บูชา ซึ่งในปัจจุบันหอยมุกเป็นวัสดุที่หายากและมีราคาสูง ทำให้ต้องนำเข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้าน อย่างไรก็ตาม ในประเทศไทยมีช่างรักที่ชำนาญเทคนิคไม่มากนัก จึงเป็นวาระสำคัญของทุกคนในการร่วมกันสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมไทยแขนงนี้ไว้ไม่ให้สูญหาย

“ในฐานะครูศิลป์ของแผ่นดินจึงให้ความสำคัญต่อการนำองค์ความรู้ด้านงานช่างประดับมุกเข้าไปถ่ายทอดในสถานศึกษาที่เปิดหลักสูตรงานช่างสิบหมู่ อีกทั้ง ยังถ่ายทอดตามอัธยาศัยให้กับบุคคลทั่วไปที่สนใจจนสามารถสร้างช่างฝีมือเพื่อรับใช้สังคม สร้างสิ่งของเครื่องใช้ในพระพุทธศาสนา ตลอดจนถวายงานสถาบันพระมหากษัตริย์ อาทิ งานฉลุลายพระโกศจันทน์ งานอนุรักษ์บานประตูวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
และงานอนุรักษ์บานประตูหอพระมณเฑียร”

ขณะที่ อัจฉราภรณ์ กล่ำเกลื่อน ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม ปี 2567 ของ SACIT คนรุ่นใหม่ที่มีความเชี่ยวชาญในงานหัตถกรรม “ลงรักปิดทอง” และยังเป็นอาจารย์ประจำสาขาวิชาหัตถศิลป์ วิทยาลัยเพาะช่าง กล่าวว่า เป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้รับการเชิดชูเป็นทายาทช่างศิลปหัตถกรรมจาก SACIT เพราะจากจุดเริ่มต้นที่ได้มีโอกาสเข้ามาเป็นสมาชิก SACIT และมีความมุ่งมั่นสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ร่วมสมัยที่ใช้ทักษะเชิงช่างในด้านงานหัตถกรรมลงรักปิดทอง ก็ได้มีโอกาสร่วมกิจกรรมต่างๆ ของ SACIT

“เมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรม SACIT Academy ที่ได้มีการเปิดอบรมสำหรับเทคนิคการสร้างสรรค์งานหัตถศิลป์เพื่อการศึกษา และการต่อยอด “งานเครื่องรัก” อันทรงคุณค่าประณีตวิจิตรในหลากมิติ และได้รับการอบรมพิเศษสำหรับเทคนิคการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่มีความประณีตโดยเรียนรู้จากรูปแบบของเครื่องรักจากแหล่งผลิตสำคัญของประเทศพม่าจากนักวิชาการผู้มีความเชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากในการนำไปประยุกต์ใช้กับหลักสูตรการเรียนการสอนประจำสาขาวิชาฯ โดยยังส่งเสริมการใช้ทักษะ เทคนิคเชิงช่างควบคู่กับการผสมผสานความคิดสร้างสรรค์เพื่อรังสรรค์ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ลงรักปิดทองที่มีความร่วมสมัย เช่นเครื่องประดับ กระเป๋า ปากกา ฯลฯ ที่สามารถใช้งานได้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะเป็นโอกาสที่ช่วยสืบสานองค์ความรู้ทักษะเชิงช่างในด้านงานลงรักปิดทองไม่ให้สูญหายไป

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารของสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) ได้ที่เว็บไซต์ https://sacit.or.thth หรืออัปเดตกิจกรรมงานคราฟต์ต่างๆ ได้ทางเฟซบุ๊ก https://www.facebook.com/sacitofficial และ TikTok SACIT Officialhttps://www.tiktok.com/@sacit_official

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • SACIT จัดงาน‘Crafts Bangkok 2024’โชว์งานหัตถศิลป์ศิลปินไทยและต่างประเทศนับ 10,000 ชิ้น SACIT จัดงาน‘Crafts Bangkok 2024’โชว์งานหัตถศิลป์ศิลปินไทยและต่างประเทศนับ 10,000 ชิ้น
  • สยามพารากอนเชิญชมหัตถศิลป์ผ่านงานประติมากรรมสุดอลังการ  ‘บุษบัญชลี มาลีนพรัตน์เฉลิมพระชนม์’ โดย ‘สกุล อินทกุล’ สยามพารากอนเชิญชมหัตถศิลป์ผ่านงานประติมากรรมสุดอลังการ ‘บุษบัญชลี มาลีนพรัตน์เฉลิมพระชนม์’ โดย ‘สกุล อินทกุล’
  •  

Breaking News

'น้าแพน'เชื่อมีคนยุยงเบื้องหลังพ่อ-น้องชายปมมรดก 4.8 ล้าน 'ทนายไพศาล'ลุยช่วยคดี

(คลิป) 'หมอตุลย์' เผย! เขียนใบรับรองเป็นเท็จ ซัด! หมอน่าจะวิกฤต กับ ม.157

'วิรังรอง'ตั้งข้อสงสัย ทำไมหมอเขียนใบส่งตัวล่วงหน้า คดี'ทักษิณ' โดนแค่ตักเตือน?

‘บุญจันทร์’ พร้อมแจง ‘กกต.’ ปม ‘ฮั้ว สว.’ 19 พ.ค.นี้ทุกประเด็น

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved