วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
สศท.โชว์สุดยอด 10 ผลงานสร้างสรรค์ศิลปหัตถกรรมร่วมสมัยกับการประกวด 'I.CCA.2025'

สศท.โชว์สุดยอด 10 ผลงานสร้างสรรค์ศิลปหัตถกรรมร่วมสมัยกับการประกวด 'I.CCA.2025'

วันพุธ ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2568, 14.01 น.
Tag : I.CCA.2025
  •  

สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. จัดงานตัดสินรอบชิงชนะเลิศ และพิธีเปิดนิทรรศการโครงการประกวดแนวคิดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมระหว่างประเทศ (International Craft Creation Concept Award 2025: I.CCA. 2025) ณ อาคารพระมิ่งมงคล ชั้น 2 (บริเวณหน้าหอเกียรติยศ) สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) ผลนักออกแบบ จ.พะเยาคว้ารางวัลชนะเลิศ จากผลงาน Light Hitting Water


ผศ.ดร.อนุชา ทีรคานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) เปิดเผยถึงการประกวด International Craft Creation Concept Award 2025: I.CCA.2025) ถือได้ว่าเป็นการจัดการประกวดเพื่อสร้างนักออกแบบรุ่นใหม่ ให้มีเวทีแสดงความสามารถในการออกแบบ โดยนำงานหัตถกรรมดั้งเดิม มาประยุกต์สู่การสร้างสรรค์ให้เกิดความร่วมสมัย และแสดงศักยภาพผลงานนวัตศิลป์ที่มีความน่าสนใจ อีกทั้งยังแสดงอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ของไทยให้ก้าวไกลในระดับสากล เป็นการต่อยอดจากการประกวดที่นักออกแบบของไทยต่างให้ความสนใจมาอย่างต่อเนื่อง

การจัดประกวดปี 2568 ดำเนินการจัดขึ้นเป็นปีที่สอง เพื่อเปิดโอกาสให้กลุ่มบุคคลทั่วไปที่ผลิตงานศิลปหัตถกรรม นักออกแบบ นักสร้างสรรค์ นิสิต นักศึกษา ที่มีความสามารถด้านการออกแบบสร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรม นำเสนอแนวคิด “Innovative Heritage Craft: หัตถศิลป์แห่งมรดกหัตถกรรม” การสร้างสรรค์นวัตกรรมงานศิลปหัตถกรรมไทยจากเดิม อาทิ เครื่องไม้ เครื่องสาน เครื่องดิน เครื่องทอ เครื่องโลหะ เครื่องหนัง เครื่องกระดาษ เครื่องแก้ว หรือเครื่องหิน ตลอดจนถึงปัจจุบันในกลุ่มผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมที่เกิดจากการผสมผสานวัสดุ เทคนิคเชิงช่าง กระบวนการที่คิดค้นขึ้นใหม่ ตลอดจนการนำเทคโนโลยีนวัตกรรมมาประยุกต์ในการพัฒนารูปแบบผลงานประกวด

สศท. มีพันธกิจหลักในด้านการสืบสาน สร้างสรรค์ ส่งเสริม งานศิลปหัตถกรรมไทยทั่วประเทศให้สามารถเผยแพร่และต่อยอดองค์ความรู้เชิงช่าง สู่การเป็นผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมที่ร่วมสมัย ที่ขยายผลงานสู่การต่อยอดเชิงพาณิชย์ทั้งในระดับประเทศและสากล โดยการประกวดในปีนี้จะเป็นก้าวแรกในการเปิดโอกาสให้นักออกแบบเจ้าของผลงาน ทั้ง 10 ราย/ทีม ที่ผ่านการคัดเลือกให้เข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ ได้ร่วมเรียนรู้และสร้างสรรค์ผลงานไปพร้อมกับนักออกแบบรุ่นพี่ รวมถึงทายาทช่างศิลปหัตถกรรมทั้ง 10 ท่าน ที่ให้เกียรติร่วมแลกเปลี่ยนความคิด ประสบการณ์ เพื่อให้ได้ 10 ผลงาน ที่ตอบโจทย์ความเป็น INNOVATIVE HERITAGE CRAFT ได้อย่างน่าชื่นชม ได้แก่    

1.ผลงาน เก้าอี้กนก นักออกแบบ นายสหรัฐ ศรีสมร แนวคิดจากการหลอมรวมการหลอมรวมระหว่าง ศิลปะไทยดั้งเดิม และ งานออกแบบเฟอร์นิเจอร์ร่วมสมัย ผ่านการตีความลวดลาย กนกเปลวไทยใหม่ ให้อยู่ในรูปแบบของโครงสร้างที่อ่อนช้อยมีมิติและใช้งานได้จริง

2.ผลงาน โคมระย้าอัมพวา Amphawa Chandelier นักออกแบบ อภิเษก นรินท์ชัยรังษี แนวคิดจากการออกแบบเครื่องประดับตกแต่งบ้านร่วมสมัยจากเศษวัสดุเครื่องถ้วยเบญจรงค์ โดยนำเศษเครื่องถ้วยเบญจรงค์ที่ชำรุดเสียหาย บิ่น แตก หัก หรือไม่สมบูรณ์แบบจากกระบวนการผลิต มาสร้างสรรค์ให้เกิดคุณค่าและลดทรัพยากรที่สิ้นเปลือง

3.ผลงาน ต้มยำกุ้ง (เพอรานากัน) นักออกแบบ ช่อฟ้า หงษ์สิทธิชัยกุล แนวคิดการผสมสานงานหัตถศิลป์ ได้แก่ การประดับมุก เปรียบเสมือนน้ำต้มยำ และประดับตกแต่งด้วยอัญมณี (พลอยเนื้ออ่อน) สีเขียว-เหลือง-ส้ม-แดง เป็นแทนสีสันของวัตถุดิบปรุงรส และผสมผสานการปักดิ้นโบราณ

4.ผลงาน วาบุลัน นักออกแบบ อัรกาน หะยีสาเมาะ ใช้เทคนิค การเหลา การขึงเชือกและการฉลุแกะลายกระดาษมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบ

5.ผลงาน วิถีใต้ นักออกแบบ สุจิตรา พาหุการณ์ , ขนิฐา นารา, เพชรน้ำหนึ่ง เจริญภูมิ ลวดลายรดน้ำ ลายกำมะลอและลายประดับมุขแบบโบราณนำมาคลี่คลายดัดแปลงวิธีการและปรับเปลี่ยนวัสดุในการสร้างสรรค์ผลงานขึ้นใหม่เพื่อแสดงถึงทัศนคติส่วนตัว ผ่านเรื่องราวในวิถีชีวิตของชาวประมงและเพื่อเป็นการสืบทอดเทคนิคที่สำคัญบางประการของช่างไทยโบราณ

6.ผลงาน เหลี่ยม/ทอ/ประกาย นักออกแบบ ภัทรบดี พิมพ์กิ ออกแบบเป็นเครื่องประดับที่มุ่งหวังนำเสนอความงดงามและเชิดชูคุณค่าของงานหัตถกรรม “เสื่อกกจันทบูร” ซึ่งเปรียบเสมือนอัญมณีน้ำงามอีกเม็ดหนึ่งที่อยู่คู่กับชาวจันทบุรีมากว่า 120 ปี    

7.ผลงาน ฮูปแต้ม นักออกแบบ รัฐพล ทองดี, วัชรพล คำพรมมา จากการถ่ายทอดวิถีชีวิตพื้นบ้านผ่านศิลปะแห่งความศรัทธา ด้วยเทคนิคการเพ้นท์สีครามธรรมชาติ สีประดู่ สนิมเหล็ก ในรูปแบบสิมอีสาน เพิ่มมิติให้ภาพด้วยการปักมือด้วยเส้นฝ้าย

8.ผลงาน Light Hitting Water นักออกแบบ ศรัณย์ เหมะ, เหมวรรณ ศรีสุวรรณ์ จากการสะท้อนความเชื่อ ความศรัทธา ประเพณีอันงดงามของชาวล้านนา ผ่านผลงานการออกแบบผลิตภัณฑ์โคมไฟที่สืบสานภูมิปัญญาหัตถกรรมจักสานผักตบชวา

9.ผลงาน พาราคราฟท์ นักออกแบบ ถากูร เชาว์ภาษี โดยการใช้รูปร่างของ LICHEN (ไลเคน) ที่สามารถพบได้ทั่วไปในบริเวณผิวของต้นยางพาราซึ่งเป็นการบ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของพืชพรรณ

10และผลงาน Under the Sea นักออกแบบ ปัทวี เข็มทอง ขยะในท้องทะเลคือขวดพลาสติก จึงได้นำขยะจากขวดพลาสติกที่เก็บมาจากในทะเล และนำมาผ่านการแปรรูปเป็นเส้นใย Recycled มาสร้างสรรค์ผลงาน

ที่สำคัญโครงการ I.CCA.2025 ครั้งนี้ยังได้รับเกียรติจาก ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการออกแบบ อาทิ ม.ล.คฑาทอง ทองใหญ่ , ผศ.ดร.วิทวัน จันทร , คุณเพลินจันทร์ วิญญรัตน์, คุณจิตต์สิงห์ สมบุญ, คุณวิชระวิชญ์ อัครสันติสุข ซึ่งคณะกรรมการฯ แต่ละท่านมีความเชี่ยวชาญด้านการออกแบบ การต่อยอดทางศิลปะ รวมถึงการต่อยอดทางการตลาด เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสิน

ซึ่งทำให้ผู้ประกวดได้มุมมองการออกแบบ การวิเคราะห์โจทย์ให้สอดคล้องกับแนวคิดในหัวข้อการประกวด และแนวทางการสร้างสรรค์ผลงานออกแบบรูปแบบร่วมสมัยใหม่ๆซึ่งเป็นโจทย์ที่ท้าทายสำหรับนักออกแบบเป็นอย่างมากและเป็นการผลักดันศักยภาพให้กับนักออกแบบรุ่นใหม่ที่ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดในครั้งนี้อีกด้วย

ผลงานชนะเลิศ

ชื่อผลงาน Light Hitting Water

ชื่อนักออกแบบ ศรัณย์ เหมะ, เหมวรรณ ศรีสุวรรณ์

“Light Hitting Water แสงกระทบผิวน้ำ” สะท้อนความเชื่อ ความศรัทธา ประเพณีอันงดงามของชาวล้านนา ผ่านผลงานการออกแบบผลิตภัณฑ์โคมไฟที่สืบสานภูมิปัญญาหัตถกรรมจักสานผักตบชวา ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ นำมาผสานกับเทคนิคและภูมิปัญญาท้องถิ่นจนเกิดเป็นโคมไฟดีไซน์ร่วมสมัย รูปทรงของโป๊ะโคมไฟได้แรงบันดาลใจ

ผลงานรองชนะเลิศ

ชื่อผลงาน วิถีใต้

ชื่อนักออกแบบ สุจิตรา พาหุการณ์, ขนิฐา นารา, เพชรน้ำหนึ่ง เจริญภูมิ

แรงบันดาลใจ ข้าพเจ้าคิดเห็นว่างานศิลปกรรมไทยโบราณโดยเฉพาะงานจิตรกรรมลายรดน้ำ ลายกำมะลอ และลายประดับมุขนั้นเป็นงานช่างชั้นสูงและเปรียบเสมือนศิลปกรรมประจำชาติของไทยที่กำลังจะสูญหายไปตามกาลเวลาอาจด้วยเหตุที่กรรมวิธีกระบวนการในการสร้างสรรค์มีความซับซ้อน

สำหรับผู้สนใจเชิญเข้าร่วมชมนิทรรศการแสดงผลงานโครงการประกวดแนวคิดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมระหว่างประเทศ (International Craft Creation Concept Award 2025: I.CCA. 2025) ในธีม “Innovative Heritage Craft: หัตถศิลป์แห่งมรดกหัตถกรรม” ทั้ง 10 ผลงาน สถานที่ หน้าหอเกียรติยศ อาคารพระมิ่งมงคล สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย ชั้น 2 ในวันที่ 17 มีนาคม 2568 เป็นต้นไป เวลา 10.00 – 16.00 น.

-(016)

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

'ทวี'เผย'กกต.'ประสาน'ดีเอสไอ'แปะหมายเรียกหน้าบ้าน 6 สว. คดีฮั้ว

วัฒนธรรมโบราณ! พิธีล้างพระธาตุศรีสองรัก สักขีพยานสัมพันธไมตรีสองแผ่นดิน 465 ปี

ไอจีไฟลุก! 'เป้ย ปานวาด'อวดหุ่นเซ็กซี่ในชุดชั้นในลูกไม้

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง! ‘นายก-สท.เทศบาลเมืองมุกดาหาร’ ออกหาเสียงกันเข้มข้น

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved