วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
แค่ยกมือขึ้นก็ปวด สัญญาณเตือนก่อนเอ็นหัวไหล่ฉีกขาด

แค่ยกมือขึ้นก็ปวด สัญญาณเตือนก่อนเอ็นหัวไหล่ฉีกขาด

วันอังคาร ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2568, 07.15 น.
Tag : เอ็นหัวไหล่ฉีก
  •  

เคยสงสัยไหมว่าทำไมเวลายกแขนสูงๆ ถึงรู้สึกปวดไหล่ หรือปวดไหล่จนทำให้นอนไม่หลับ อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณเตือนของ เอ็นหัวไหล่ฉีกขาด โรคที่ค่อยๆ กัดกินคุณภาพชีวิตให้แย่ลง ซึ่งบางคนอาการอาจรุนแรงจนไม่สามารถใช้แขนได้เหมือนเดิม

นายแพทย์รัฐภูมิ วัชโรภาส ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ – เวชศาสตร์การกีฬาและโรคข้อไหล่และข้อเข่า โรงพยาบาลเวชธานี กล่าวว่าเอ็นหัวไหล่ฉีกขาด (Rotator Cuff Tear) เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในกลุ่มคนที่ใช้งานหัวไหล่อย่างหนัก ไม่ว่าจะเป็นนักกีฬา ผู้ที่ต้องทำงานยกของหนัก หรือผู้สูงอายุที่มีกล้ามเนื้อและเอ็นอ่อนแอลงตามวัย หรืออาจเกิดจากอุบัติเหตุ ปัญหานี้สามารถส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวและคุณภาพชีวิต


อาการเอ็นหัวไหล่ฉีกขาด จะทำให้ปวดไหล่เวลานอนโดยเฉพาะตอนนอนตะแคงทับ, ปวดไหล่เวลายกแขนขึ้นหรือลงในบางท่า, อ่อนแรงในขณะยกหรือหมุนหัวไหล่ และเสียงเสียดสีในขณะขยับบางท่าของไหล่

เอ็นหัวไหล่ฉีกขาดมีหลายสาเหตุ ดังนี้ การใช้งานไหล่ที่มากเกินไป คือ การใช้ไหล่ทำงานซ้ำๆ เช่น ยกของหนัก หรือเล่นกีฬาที่ต้องใช้แขนมาก เช่น เทนนิส ว่ายน้ำ แบดมินตัน, อาการบาดเจ็บ เช่น การล้ม การสะดุด หรือการเคลื่อนไหวที่ผิดท่าจนอาจทำให้เอ็นหัวไหล่ฉีกขาดทันที, ความเสื่อมตามวัย โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ เอ็นหัวไหล่อาจเสื่อมสภาพ ทำให้มีความเสี่ยงต่อการฉีกขาดเพิ่มขึ้น, โครงสร้างร่างกาย ความผิดปกติในโครงสร้างข้อไหล่อาจทำให้เอ็นเกิดการเสียดสีจนเสียหาย

การวินิจฉัยเริ่มต้นด้วยการตรวจร่างกาย เพื่อประเมินอาการเจ็บปวดและความผิดปกติ จากนั้นแพทย์อาจพิจารณาการทำ MRI เพื่อให้ได้ภาพรายละเอียดของโครงสร้างในบริเวณไหล่อย่างชัดเจน ซึ่งจะช่วยให้สามารถวางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสม

ทั้งนี้ การรักษาเอ็นหัวไหล่ฉีกขาดจะขึ้นอยู่กับอาการและระดับความรุนแรง สามารถแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบหลัก ดังนี้ ระยะอักเสบหรือฉีกขาดบางส่วน แพทย์จะให้รับประทานยาร่วมกับการทำกายภาพบำบัด และพักการใช้งานไหล่หากรับประทานยาและกายภาพบำบัดแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น แพทย์จะแนะนำให้ฉีดสเตียรอยด์หรือยาต้านอักเสบ เพื่อลดการอักเสบ และระยะฉีกขาดรุนแรงหรือฉีกขาดทั้งหมด แพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัดด้วยการส่องกล้องเพื่อซ่อมแซมเส้นเอ็น ซึ่งผู้ป่วยจะมีแผลขนาดเล็ก ฟื้นตัวเร็ว สามารถกลับไปใช้งานไหล่และแขนได้ตามปกติหรือใกล้เคียงปกติเร็วขึ้น

แต่ในผู้ป่วยที่มีเส้นเอ็นขาดขนาดใหญ่ หลังเย็บซ่อมเส้นเอ็น อาจมีโอกาสฉีกขาดซ้ำได้ปัจจุบันจึงมีวิธีการต่างๆ มากมายเพื่อลดโอกาสในการฉีกขาดซ้ำ การใช้ Biologic collagenpatch มาช่วยเสริมความแข็งแรงในการเย็บซ่อมเส้นเอ็น สามารถกระตุ้นให้เกิดการสมานเส้นเอ็นกับกระดูกได้ดีขึ้น ถือเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการพิสูจน์ทางการแพทย์ว่า สามารถช่วยลดการฉีกขาดซ้ำหลังผ่าตัด รวมทั้งช่วยลดระยะเวลาการกายภาพหลังผ่าตัด สามารถกลับไปใช้หัวไหล่ได้เร็วขึ้นส่งผลให้ผู้ป่วยได้ผลการรักษาที่ดีขึ้น

หลังจากการผ่าตัดเอ็นไหล่ฉีก ขั้นตอนการฟื้นฟูเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้งานได้เต็มที่ โดยทั่วไปจะแบ่งการฟื้นฟูเป็น 3 ระยะดังนี้ 1.ระยะพักฟื้นเริ่มต้น 1-6 สัปดาห์แรกในช่วงนี้ต้องให้ไหล่อยู่ในสลิงเพื่อป้องกันการเคลื่อนไหวที่อาจทำให้แผลฉีกขาดอีก หลีกเลี่ยงการใช้งานหนัก อาจจะขยับเบาๆ เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนเลือด เช่น การหมุนข้อมือ หรือการยืดกล้ามเนื้อเบื้องต้น 2.ระยะฟื้นฟูกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหว 6-12 สัปดาห์ เมื่อแผลเริ่มสมานดีแล้ว ให้เริ่มกายภาพบำบัดฝึกการเคลื่อนไหวไหล่แบบเบาๆ และเพิ่มการยืดหยุ่นของข้อไหล่ รวมถึงการเสริมสร้างกล้ามเนื้อรอบๆ ไหล่เพื่อให้มั่นคงขึ้น 3.ระยะฟื้นตัวเต็มที่ 3-6 เดือน เน้นการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและความคล่องตัว โดยระยะเวลาฟื้นตัวทั้งหมดจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการฉีกขาด ส่วนใหญ่จะใช้เวลาประมาณ 4-6 เดือนในการกลับมาใช้ชีวิตปกติ

อย่างไรก็ตาม เอ็นหัวไหล่ฉีกเป็นปัญหาที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่สามารถป้องกันได้ด้วยการดูแลสุขภาพกล้ามเนื้อหัวไหล่และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยง หากคุณมีอาการเจ็บปวดหรือข้อไหล่ติดแข็ง ควรรีบมาพบแพทย์ เพราะถ้าหากปล่อยไว้อาจทำให้อาการปวดเรื้อรังและเส้นเอ็นบาดเจ็บมากขึ้น กลายเป็นความทรมานที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต

นพ.รัฐภูมิ วัชโรภาส

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

แคชเมียร์ระอุ! 'ปากีสถาน'ยกระดับโจมตี ยิงถล่มเสียชีวิต 1 ราย

ละเมิดสิทธิเด็ก! ‘ยูเอ็น’ประณาม‘อิสราเอล’สั่งปิดโรงเรียนในเยรูซาเล็มตะวันออก อ้าง‘ฮามาส’แฝงตัว

โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายทหารราชองครักษ์ในพระองค์ จำนวน 18 นาย

ชาวปากช่องไม่เอา! 'ค้านเหมืองแร่ดิน' หวั่นมลพิษสิ่งแวดล้อมเสียสมดุล

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved