วันเสาร์ ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
กสศ.เดินหน้าสร้างสายพานอาชีพสู่ประชากรวัยแรงงานนอกระบบ

กสศ.เดินหน้าสร้างสายพานอาชีพสู่ประชากรวัยแรงงานนอกระบบ

วันจันทร์ ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2568, 19.40 น.
Tag : กสศ. การศึกษา อาชีพ แรงงานนอกระบบ
  •  

ผนึกกำลังทีมวิจัยประเมินผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ และ System Change Evaluation ถอดบทเรียนโมเดลการทำงานลดความเหลื่อมล้ำ โดยใช้ ‘การศึกษา’ เป็นเครื่องมือ  การพัฒนาคนเชื่อมโยงมิติเศรษฐกิจ สังคม การเรียนรู้ และศักยภาพชุมชน 
 
     กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ให้ความสำคัญกับกลุ่มเยาวชนนอกระบบการศึกษาและประชากรวัยแรงงานนอกระบบ เพราะคนกลุ่มนี้ไม่ใช่แค่ประชากรวัยแรงงานเท่านั้นที่มีความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แต่ยังเป็นพ่อแม่ของเด็กและเยาวชนที่มีฐานะยากลำบากด้วย การสร้างความเสมอภาคทางการศึกษารวมถึงการส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้เพื่อการมีงานทำจะนำไปสู่การประกอบอาชีพตามความถนัดและศักยภาพที่จะสามารถทำให้กลุ่มคนเหล่านี้สามารถพึ่งพาตนเองในการดำรงชีวิตได้ 
 
     “เยาวชนที่ออกจากระบบการศึกษาและแรงงานนอกระบบ เป็นกลุ่มทรัพยากรมนุษย์ที่รายได้ต่ำและอ่อนแอที่สุดในระบบเศรษฐกิจของไทย”


การพัฒนาประชากรวัยแรงงาน โดยเฉพาะกลุ่มที่มีการศึกษาและรายได้น้อย หากมีการลงทุนพัฒนาอย่างเป็นระบบจะมีมูลค่าสูงมาก จากงานวิจัยของธนาคารโลก พบว่า หากไทยยังมีประชากรที่มีทักษะพื้นฐานชีวิตต่ำ ไทยจะสูญเสียทางมูลค่าเศรษฐกิจมหาศาลคิดเป็น 20% ของ GDP นอกจากนี้รายได้ของประชากรวัยแรงงานที่มีทักษะพื้นฐานชีวิตต่ำ แตกต่างกันถึง 6,300 บาทต่อเดือน หากไทยมีรูปแบบมาตรการทำงานการพัฒนาประชากรวัยแรงงานที่ดี จะช่วยยกระดับรายได้ให้แก่ประชาชนได้

นางสาวธันว์ธิดา วงศ์ประสงค์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมเพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้ กสศ. กล่าวว่า กสศ. มุ่งพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับเยาวชนนอกระบบการศึกษาและแรงงานนอกระบบที่ยากจนหรือด้อยโอกาส โดยให้ความสำคัญกับการออกแบบการเรียนรู้ที่เสริมพลัง (Empower) สร้างความเชื่อมั่น และที่สำคัญคือ ทำให้กลุ่มเป้าหมายเห็นตนเองเป็นมนุษย์ที่มีศักยภาพ และมีศักดิ์ศรีในตนเอง โดยใช้รูปแบบการจัดการศึกษาหรือว่าการเรียนรู้ที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน เป็นทางเลือกหนึ่งในการพัฒนาศักยภาพเยาวชนนอกระบบการศึกษาและแรงงานนอกระบบ ให้สามารถหลุดพ้นจากความยากจนได้ โดยสร้างการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์ชีวิตและสร้างรายได้เพื่อการดำรงชีวิตได้อย่างยั่งยืน ซึ่งโครงการส่งเสริมโอกาสการเรียนรู้ที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน ก้าวสู่ปีที่ 7 (โครงการดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2562-ปัจจุบัน) ที่ดำเนินการมาและยังเป็นโครงการที่มีความสำคัญต่อการหาองค์ความรู้และต้นแบบการจัดการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นที่นำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา โดยใช้การศึกษาหรือการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคนที่เชื่อมโยงกับมิติเศรษฐกิจ สังคม การเรียนรู้ และศักยภาพชุมชน สามารถแก้ปัญหาความยากจนตามยุคสมัยได้ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงระบบและการขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบาย 
 
     “เราสามารถสร้างสายพานอาชีพให้ทั้งหมู่บ้านได้ เมื่อเราเข้าไปส่งเสริมการเรียนรู้หรือสร้างอาชีพให้พวกเขาแล้ว เราเห็นคนกลุ่มนี้มีทักษะที่สูงขึ้นและมากกว่าทักษะ คือการสร้างความสัมพันธ์ให้กับชุมชน เช่น เราไปส่งเสริมโอกาสการเรียนรู้ให้กับชุมชนหนึ่ง เราพบว่ามีคนเป็นโรคซึมเศร้า พอเราใช้เรื่องของทักษะอาชีพเข้าไปส่งเสริมความสามารถที่เขามีอยู่แล้วเป็นทุนเดิม ก็พบว่าสิ่งที่ได้มากกว่าการสร้างรายได้ให้เขาคือช่วยฟื้นฟูสภาพจิตใจให้บุคคลนั้นหายจากการเป็นซึมเศร้าได้ค่ะ และพบว่าชุมชนมีการเกื้อหนุนกันไม่ต่างคนต่างอยู่ ทุกคนหันมาทำงานด้วยกัน ลดปัญหาอัตราการฆ่าตัวตายลงในชุมชนด้วย ส่งต่อโอกาสให้ลูกหลานได้เข้าไปเรียนหนังสือ ตัวอย่างแบบนี้มันทำให้เห็นว่าการที่เราไปส่งเสริมโอกาสทางการเรียนรู้ไม่ได้มอบแค่เรื่องของทักษะ หรือว่าการศึกษาเท่านั้น แต่มันได้อย่างอื่นที่ที่สามารถต่อยอได้หลายๆ มิติด้วยแต่เหมือนเป็นประตูไปสู่เรื่องอื่นๆ ได้ด้วยค่ะ” นางสาวธันว์ธิดา กล่าว

นายเศรษฐภูมิ บัวทอง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาเครื่องมือด้านการประเมินผลตอบแทนทางสังคม วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า การถอดบทเรียนแลกเปลี่ยนข้อค้นพบสำคัญ รวมถึงการประเมินผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคมจากการลงทุนในโครงการส่งเสริมโอกาสการเรียนรู้ที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน และการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ (System Change) ของหน่วยจัดการเรียนรู้ต้นแบบซึ่งได้รับการคัดเลือกให้เป็นกรณีศึกษาในฐานะที่ทำงานต่อเนื่องกับ กสศ. มากกว่า 1 ปี ผ่านเครื่องมือวิจัย Social Return of Investment (SROI) ซึ่งปีนี้ กสศ. ก็ตั้งเป้าหมายไว้ว่าโครงการนี้จะเป็นโครงการหนึ่งที่จะช่วยสร้างระบบนิเวศน์แห่งการเปลี่ยนแปลงให้กับชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืน ภายใต้บริบทของทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม จึงเป็นโอกาสที่ที่จะได้ร่วมขับเคลื่อนไปกับ กสศ. เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
 
     “ด้วยรูปแบบกลไกการเปลี่ยนผ่านของโลกยุคปัจจุบัน สังคมไทยก็เช่นกันมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างเร็ว และด้วยมิติของความต้องการของผู้เรียนหรือมิติปัญหาสังคมแต่ละพื้นที่ก็แตกต่างกันออกไป ทำให้การทำวิจัยและประเมินผลครั้งนี้ต้องการที่จะหาคำตอบว่ามิติการขับเคลื่อนของ กสศ. ต่อโครงการส่งเสริมโอกาสการเรียนรู้ที่ใช้ชุมชนเป็นฐานให้กับกลุ่มเยาวชนนอกระบบการศึกษาและแรงงานนอกระบบจะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและมุ่งไปสู่กลไกลการขับเคลื่อนขยายโอกาสในการพัฒนาได้อย่างยั่งยืน ซึ่งมั่นใจว่า สิ่งที่ กสศ. ได้ดำเนินการหลายปีต่อเนื่องจะสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบได้แน่นอน”

ดร.นฤมล นิราทร ประธานกรรมการ มูลนิธิ เอ.ที.ดี. เพื่อนผู้ยากไร้และประธานอนุกรรมการวิชาการจัดงานสมัชชากรุงเทพ และกรรมการบริหารจัดการแรงงานนอกระบบแห่งชาติ และคณะทำงานกำกับทิศทางโครงการส่งเสริมโอกาสทางการเรียนรู้และพัฒนาทักษะประชากรวัยแรงงานนอกระบบ กสศ. กล่าวว่า กลุ่มผู้ใช้แรงงานนอกระบบเป็นกลุ่มที่ค่อนข้างน่าเห็นใจ ซึ่งมีปัจจัยหลายอย่างทางด้านเศรษฐกิจและสังคมซับซ้อนทำให้พวกเขาตกอยู่ในสถานะแบบนี้ การได้รับการส่งเสริมโอกาสด้านการเรียนรู้และเสริมสร้างศักยภาพจะทำให้พวกเขามีชีวิตอยู่รอดในสังคม ในฐานะที่ได้ทำงานกับกลุ่มแรงงานนอกระบบเจาะจงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พบว่าพวกเขาต้องการได้รับการส่งเสริมด้านการเรียนรู้และสร้างอาชีพเพื่อพึ่งพาตนเอง หรือสร้างรายได้เพื่อการดำรงชีวิตได้อย่างยั่งยืน จึงอยากให้ กสศ. ดึงกลุ่มแรงงานนอกระบบในพื้นที่ กทม. เข้ามาอยู่ในสมการการขับเคลื่อนของการส่งเสริมโอกาสร่วมกับกลุ่มแรงงานนอกระบบในจังหวัดอื่นๆ ทั่วทุกภูมิภาค

“อยากเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาออกแบบการทำงานร่วมกันในการแก้ปัญหาแรงงานนอกระบบในกรุงเทพมหานครให้เป็นไปในลักษณะการทำงานแบบเชิงลึก ระยะยาวและต่อเนื่อง อยากให้มีโครงการลักษณะนี้เพราะจะส่งผลดีต่อผู้คนชุมชนในกรุงเทพฯ เท่าที่ลงพื้นที่ไปสำรวจหลายพื้นที่ไม่ได้จัดตั้งให้เป็นหลักเป็นแหล่งไม่มีกรรมการชุมชน เช่น ชุมชนหลังวัด ดังนั้นจึงอยากทำให้คนกลุ่มนี้มีพื้นที่ในการเข้าถึงโอกาสการเรียนรู้และมีงานทำไปสู่การประกอบอาชีพตามความถนัดและศักยภาพที่พึ่งพาตนเองในการดำรงชีวิตได้” ดร.นฤมล กล่าว

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • กสศ.ปักหมุดช่วยเหลือ 200 โรงเรียนเร่งด่วน จับมือตลาดหลักทรัพย์ฯผนึกเฟทโก้ มอบคอมพิว เตอร์สื่อการเรียนรู้ กสศ.ปักหมุดช่วยเหลือ 200 โรงเรียนเร่งด่วน จับมือตลาดหลักทรัพย์ฯผนึกเฟทโก้ มอบคอมพิว เตอร์สื่อการเรียนรู้
  • มูลนิธิ ซี.ซี.เอฟฯ จับมือ กสศ. ผลิตครูคุณภาพเพื่อเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร มูลนิธิ ซี.ซี.เอฟฯ จับมือ กสศ. ผลิตครูคุณภาพเพื่อเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร
  • กสศ. จับมือ สปสช. ช่วยเด็กยากจนเข้าถึงสิทธิคัดกรองสายตา-ตัดแว่นฟรี กสศ. จับมือ สปสช. ช่วยเด็กยากจนเข้าถึงสิทธิคัดกรองสายตา-ตัดแว่นฟรี
  •  

Breaking News

แชร์ว่อน! หนังสือกรมการปกครอง ขอเลิกเรียก'ลุง-ป้า' 'มท.'ชี้แจงแล้ว

ผู้ตรวจ กกต.ลงพื้นที่เยี่ยม'วังหินโมเดล'ต้นแบบเลือกตั้งสีขาวชื่นชมปลุกพลัง ปชช.ต้านซื้อเสียง

เช็กด่วน! 'การบินไทย'ประกาศยกเลิกเที่ยวบินไป'ปากีสถาน' 10-15 พ.ค.68

อัปเดตอาการ'ด้งเด้ง' ผ่าตัดด้วยดี-งดเยี่ยม อยู่ในความดูแลแพทย์ใกล้ชิด

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved