รายงานฉบับล่าสุดของสถาบันจัดอันดับระดับโลกด้านสวัสดิภาพสัตว์ Business Benchmark on Farm Animal Welfare (BBFAW) ซึ่งเผยแพร่เมื่อเร็วๆ นี้เผยให้เห็นถึงความก้าวหน้าที่มั่นคงด้านสวัสดิภาพสัตว์ในฟาร์มทั่วอุตสาหกรรมอาหารระดับโลก รวมถึงอันดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
กลุ่มบริษัทชั้นนำแสดงให้เห็นถึงมาตรฐานด้านมนุษยธรรมของสวัสดิภาพสัตว์ในฟาร์มว่าเป็นส่วนสำคัญของกลยุทธ์ทางธุรกิจ อาทิ การจัดพื้นที่ให้สัตว์มากขึ้น หรือการใช้วิธีการเชือดที่ดีที่สุด อย่างไรก็ตาม บริษัทอาหารขนาดใหญ่จำนวนมาก (79%) อย่าง เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (ประเทศไทย) และเซเว่น แอนด์ ไอ โฮลดิ้งส์ (ญี่ปุ่น) ยังคงอยู่ในอันดับที่ 5 และ 6 เป็นปีที่สองติดต่อกัน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการมองหาโอกาสในการกำหนดนโยบายและการเปิดเผยข้อมูลที่เข้มงวดมากขึ้นเกี่ยวกับแนวทางด้านสวัสดิภาพสัตว์
BBFAW คือการประเมินประจำปีชั้นนำระดับโลกเกี่ยวกับนโยบาย แนวปฏิบัติ และผลการดำเนินงานด้านสวัสดิภาพสัตว์ในฟาร์มของอุตสาหกรรมอาหาร ที่ทำการประเมินบริษัทอาหารระดับโลก 150 แห่งตามเกณฑ์ 51 ข้อและ 5 เสาหลัก และจัดอันดับใน 6 ระดับ (ดูตารางผลลัพธ์ทั้งหมดท้ายบทความ) โปรแกรมนี้ได้รับการสนับสนุนโดยพันธมิตร Compassion in World Farming และ FOUR PAWS โดยผลลัพธ์ในปีนี้เป็นการประเมินครั้งที่สองนับตั้งแต่ BBFAW ได้นำเกณฑ์ที่เข้มงวดขึ้นมาใช้ซึ่งให้ความสำคัญไปที่ผลการดำเนินงานด้านสวัสดิภาพของบริษัทและแนวทางในการลดการพึ่งพาอาหารจากสัตว์
คะแนนเฉลี่ยของภูมิภาคในปี 2024 คือ 9% ซึ่งต่ำกว่าลาตินอเมริกา (20%) อเมริกาเหนือ (12%) ยุโรป (20%) และสหราชอาณาจักร (41%)
ในภูมิภาคดังกล่าวนี้ ผู้ผลิตรายใหญ่อย่างฟอนเทียร่า (Fonterra) ประเทศนิวซีแลนด์ ได้แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาที่โดดเด่นจากรายงานและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ ฟอนเทียร่า (Fonterra) ได้เลื่อนจากอันดับที่ 4 เป็นอันดับที่ 3 และปรับปรุงอันดับผลกระทบจาก E เป็น B ในขณะที่บริษัทอื่น ๆ ในภูมิภาคยังคงมีการเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อยหรืออยู่ในอันดับเท่าเดิม
อย่างไรก็ตาม ความคืบหน้าของบริษัทอาหารส่วนใหญ่มีความคืบหน้าอย่างค่อยเป็นค่อยไป บริษัท 118 แห่ง (79%) รวมถึงบริษัทในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เช่น เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (ประเทศไทย) มารุฮะ นิชิโระ (ญี่ปุ่น) เมจิ โฮลดิ้งส์ (ญี่ปุ่น) อยู่ใน อันดับที่ 5 และ 6 ซึ่งบ่งชี้ถึงความคืบหน้าเล็กน้อยในการกำหนดนโยบายสวัสดิภาพสัตว์ในฟาร์มอย่างเป็นทางการ หรือการให้รายงานที่มีความสำคัญ ซึ่งรวมถึงบริษัท 22 แห่งทั่วโลก (15%) ที่ยังไม่ได้เผยแพร่นโยบายสวัสดิภาพสัตว์โดยรวมอย่างเป็นทางการ
สถาบันจัดอันดับระดับโลกด้านสวัสดิภาพสัตว์ (The Business Benchmark on Farm Animal Welfare: BBFAW) ในปี 2023 BBFAW ได้ปรับปรุงมาตรฐานการจัดอันดับโดยการกำหนดมาตรฐานใหม่ เพื่อเน้นการส่งเสริมการพัฒนาสวัสดิภาพสัตว์ในฟาร์มอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ ยังได้ขยายชุดคำถามเกี่ยวกับ "ผลกระทบต่อประสิทธิภาพ" และนำเสนอหลักการประเมินใหม่ที่มุ่งเน้นการลดการใช้ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ สำหรับการพัฒนาในปี 2024 ยังคงยึดมาตรฐานเดิมโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญประการใด
การจัดอันดับผลกระทบ ‘Impact Rating’ ของ BBFAW ให้คะแนนบริษัทตั้งแต่ ‘A’ ถึง ‘F’ ตามผลกระทบที่เป็นรูปธรรมต่อสวัสดิภาพสัตว์ คะแนนนี้อ้างอิงจากคำถามเกี่ยวกับผลกระทบด้านประสิทธิภาพ เช่น สัดส่วนของแม่ไก่ไข่ที่เลี้ยงแบบปลอดกรงในห่วงโซ่อุปทานของบริษัท สัดส่วนของโคนมที่ไม่ถูกตัดเขาหรือเผาเขา และสัดส่วนของสุกรที่ไม่ถูกตัดหาง
ในปี 2567 สามบริษัทที่มีอันดับสูงสุดใน Impact Ratings (Marks & Spencer, Premier Foods และ Fonterra) ซึ่งได้รับเกรด ‘B’ เป็นครั้งแรก โดยในปีนี้มีบริษัททั้งหมด 14 แห่ง (คิดเป็น 9%) ที่ได้รับการปรับอันดับ Impact Rating ขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Fonterra ซึ่งมุ่งเน้นไปที่อุตสาหกรรมนมเป็นหลัก ได้ให้ความสำคัญกับการรายงานและผลกระทบในระดับโลกอย่างมาก ส่งผลให้ Impact Rating เพิ่มขึ้นถึงสามอันดับ (จาก ‘E’ เป็น ‘B’)
นิกกี้ อามอส ผู้อำนวยการบริหาร BBFAW กล่าวว่า “นี่เป็นปีที่สองของการประเมินนับตั้งแต่ BBFAW ได้กำหนดเกณฑ์ที่เข้มงวดขึ้น และเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่เห็นว่าบริษัทต่าง ๆ ตอบสนองในเชิงบวก โดยมี 14 บริษัทที่ได้เลื่อนอันดับ และอีก 14 บริษัทที่พัฒนา Impact Rating ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ไม่เพียงแต่ส่งผลดีต่อสัตว์ในด้านการมีพื้นที่มากขึ้นในการเคลื่อนไหว การลดการทำทารุณกรรม การตัดอวัยวะ หรือการขนส่งทางไกลแบบมีชีวิต แต่บริษัทเองยังได้รับผลประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นการเสริมสร้างชื่อเสียงในหมู่ผู้บริโภค หรือการเตรียมพร้อมล่วงหน้าสำหรับกฎระเบียบที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต สิ่งที่โดดเด่นที่สุดในปีนี้อาจเป็น ‘Atlantic Gap’ โดยสหราชอาณาจักรเป็นภูมิภาคที่มีผลการดำเนินงานดีที่สุด”
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี