"รอยเลื่อนสะกาย" (Sagaing Fault) เป็นรอยเลื่อนที่มีพลัง ความยาวประมาณ 1,200 กม. วางตัวอยู่แนวทิศเหนือ-ใต้ ผ่านกลางประเทศเมียนมา โดยถูกขนานนามว่า "ยักษ์หลับกลางเมืองเมียนมา" เคยเกิดแผ่นดินไหวตั้งแต่ขนาด 2.9 - 7.3 กว่า 280 ครั้ง มาแล้ว รอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault) ถือเป็นหนึ่งในรอยเลื่อนมีพลัง (active fault) ที่สำคัญอันดับต้น ๆ ในอาเซียน คำว่า Sagaing Fault คนไทยสมัยก่อนอ่านว่า "รอยเลื่อนสะเกียง" ส่วนชาวต่างชาติเรียก "รอยเลื่อนสะแกง" ส่วนชาวเมียนมาเองนั้นเรียกว่า "รอยเลื่อนสะกาย" ปัจจุบันได้มีการเรียกตรงกันว่า "รอยเลื่อนสะกาย" ตำนานสิงหนวัติกุมารเล่าถึงการเข้ามาในดินแดนบริเวณลุ่มแม่น้ำกก ของชาวไทยเทศ มีผู้นำคือ สิงหนวัติกุมารได้ตั้งถิ่นฐานบ้านเมืองขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ คือ เมืองโยนกนาคพันธุ์ หรือเมืองโยนกนั่นเอง และมีการอยู่อาศัยเรื่อยมา จนถึงราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ได้เกิดเหตุอาเพศ ตำนานเล่าว่าชาวเมืองได้จับปลาไหลเผือกมากิน ทำให้เกิดแผ่นดินไหว บ้านเมืองล่มสลายหายไปในที่สุด. ชื่อเรียก “โยน” หรือ “ยวน” ที่เรียกกลุ่มคนและแคว้นบริเวณลุ่มแม่น้ำกกตั้งแต่สมัยพญามังรายจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์นั้น น่าจะมีที่มาจากชื่อเมืองโยนก ซึ่งแสดงถึงการตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ตั้งแต่ยุคตำนานจนถึงสมัยประวัติศาสตร์ ซึ่งนักประวัติศาสตร์หลายท่านเห็นว่า เมืองโยนกนี้ ไม่น่าจะเป็นเพียงเมืองในตำนาน เพราะลักษณะการเล่าเรื่องในตำนานบอกถึงความทรงจำถึงเมืองที่เคยรุ่งเรืองมาก่อน. นักวิชาการสันนิษฐานว่าเมืองโยนกที่ล่มสลายไป น่าจะมีที่ตั้งอยู่ ๒ บริเวณ คือ บริเวณเวียงหนองล่ม (หรือเวียงหนองหล่ม ในภาษาเหนือ) ในพื้นที่รอยต่อระหว่างอำเภอแม่จันและอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย และอีกบริเวณคือ หนองหลวง ในพื้นที่อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย ซึ่งทั้ง ๒ แห่งนี้ มีการสำรวจทางโบราณคดีพบโบราณสถาน ทั้งวัดร้างและแหล่งเตาเผาโบราณ จำนวน ๗๘ แหล่ง อย่างไรก็ตาม โบราณวัตถุและโบราณสถานที่สำรวจพบในพื้นที่เวียงหนองหล่ม สามารถกำหนดอายุได้ในราวช่วงสมัยล้านนาเท่านั้น ยกเว้น กลองมโหระทึก ที่ชาวบ้านพบจากหนองเขียว ที่มีอายุเก่าแก่ไปถึงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อประมาณ ๒,๐๐๐-๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว. ศิลาจารึกสมัยกรุงสุโขทัยมีจารึกเรื่องแผ่นดินไหวกันแล้ว ส่วนพงศาวดารมีบันทึกแผ่นดินไหวมาตลอดเช่นกัน ครั้งรุนแรงที่สุดซึ่งอาจจะถือว่ารุนแรงที่สุดของย่านนี้ก็ว่าได้ ถึงขั้นเมืองทั้งเมืองพร้อมเวียงวังจมหายกลายเป็นบึงประชุมพงศาวดารภาคที่ ๖๑ กล่าวว่า“....ศาสนาพระพุทธเจ้าล่วงไปได้ ๑๐๐๓ ปี พระองค์มหาชัยชนะเป็นกษัตริย์มาได้ปีหนึ่งอายุได้ ๗๐ ปี เดือน ๗ แรม ๗ ค่ำ วันเสาร์ ครั้งนั้นคนทั้งหลายก็พากันไปเที่ยวยังแม่น้ำกุกกุฎนที ได้เห็นปลาตะเพียนเผือกตัวหนึ่ง ใหญ่เท่าต้นตาล ยาวประมาณ ๗ วา แล้วเขาก็พากันไปทุบปลาตัวนั้นตาย แล้วก็พากันลากมาถวายมหากษัตริย์เจ้า พระองค์ก็มีอาชญาให้ตัดเป็นท่อนแจกกันกินทั่วทั้งเวียงนั้นแล ครั้นว่าบริโภคกันเสร็จแล้วดั่งนั้น สุริยอาทิตย์ก็ตกไปแล้ว ก็ได้ยินเสียงเหมือนดั้งแผ่นดินดังสนั่นหวั่นไหว ประดุจดังว่าเวียงโยนกนครหลวงที่นี้จักเกลื่อนจักพังไปนั้นแล แล้วก็หายไปครั้งหนึ่ง ครั้นถึงมัชฌิมยามก็ซ้ำดังมาเป็นคำรบสองแล้วก็หายนั้นแล ถึงปัจฉิมยามก็ซ้ำดังมาอีกเป็นคำรบสาม หนที่สามนี้ดังยิ่งกว่าทุกครั้งทุกคราวที่ได้ยินมาแล้ว กาลนั้นเวียงโยนกนครหลวงที่นั้นก็ยุบจมลงเกิดเป็นหนองอันใหญ่ ยามนั้นคนทั้งหลายอันมีในเวียงที่นั้น มีพระมหากษัตริย์เป็นประธาน ก็วินาศฉิบหายตกไปในน้ำที่นั้นสิ้น....”นี่คืออวสานของนครโยนกที่กลายเป็นทะเลสาบใหญ่ เนื้อที่กว่า ๑ ตารางกิโลเมตรในอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงรายในปัจจุบัน แผ่นดินไหวในสมัยอยุธยา นั้นพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ได้บันทึกถึงเหตุการณ์ “แผ่นดินไหว” ในสมัยกรุงศรีอยุธยาไว้หลายครั้ง แต่ไม่ได้ระบุว่ามี “ความรุนแรง” มากน้อยแค่ไหน เช่น“ศักราช ๘๘๗ ระกาศก (พ.ศ. ๒๐๖๘) น้ำน้อย ข้าวเสียสิ้นทั้งปวง อนึ่งแผ่นดินไหวทุกเมือง แล้วและเกิดอุบาทว์เป็นหลายประการ ครั้งรุ่งปีขึ้นศักราช ๘๘๘ จอศก (พ.ศ. ๒๐๖๙) (ข้าวสารแพง) เป็น ๓ ทะนานต่อเฟื้องเบี้ยแปดร้อย เกวียนหนึ่งเป็นเงินชั่งหกตำลึง ซึ่งเป็นเหตุการณ์จากรอยเลื่อนสะกา
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี