วันอาทิตย์ ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
รู้เท่าทัน ‘ผดร้อนในทารก’ อาการที่ไม่ควรมองข้ามในหน้าร้อน

รู้เท่าทัน ‘ผดร้อนในทารก’ อาการที่ไม่ควรมองข้ามในหน้าร้อน

วันอังคาร ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2568, 06.00 น.
Tag : ผดร้อนในทารก
  •  

“ผดร้อน” หรือที่รู้จักกันในชื่อทางการแพทย์ว่า Heat Rash หรือ Prickly Heat เป็นปัญหาทางผิวหนังที่พบได้บ่อยในเด็กทารก โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อนหรือในสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าวและมีความชื้นสูง

ผดร้อนในทารกคืออะไร?

แพทย์หญิง วณิชชา สุ่มศรีสุวรรณ กุมารแพทย์ทั่วไป โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล ให้ข้อมูลว่า ผดร้อนเกิดจากการอุดตันของต่อมเหงื่อใต้ผิวหนัง เนื่องจากผิวของทารกยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ ทำให้เหงื่อไม่สามารถระบายออกได้ตามปกติ ส่งผลให้เกิดผื่นหรือผดบริเวณผิวหนังที่มีเหงื่อสะสม

อาการที่พบบ่อย ผื่นหรือตุ่มเล็ก ๆ สีแดงหรือตุ่มใส มักขึ้นตามบริเวณที่อับชื้น เช่น คอ รักแร้ หลัง ขาหนีบ และหน้าผาก เด็กอาจมีอาการคัน ระคายเคือง หงุดหงิด หรือร้องไห้ง่ายกว่าปกติ

การดูแลและป้องกันผดร้อนในทารก

การป้องกันและดูแลผดร้อนสามารถทำได้ง่ายด้วยวิธีการดังต่อไปนี้ 1. อาบน้ำให้บุตรหลานอย่างสม่ำเสมอ
ควรใช้น้ำอุณหภูมิห้อง ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำอุ่น และหลีกเลี่ยงการใช้สบู่ที่มีน้ำหอมหรือสารเคมีรุนแรง 2. เลือกเสื้อผ้าที่โปร่งสบาย เสื้อผ้าฝ้ายบางเบาที่สามารถระบายอากาศได้ดีจะช่วยลดการสะสมของเหงื่อ ควรหลีกเลี่ยงผ้าไนลอนหรือวัสดุที่ไม่ระบายอากาศ 3. อยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเทได้ดีหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ร้อนหรืออับชื้น ควรใช้พัดลมหรือเครื่องปรับอากาศเพื่อช่วยควบคุมอุณหภูมิภายในห้อง 4. งดการใช้แป้งเย็นหรือครีมที่ไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์แม้บางผลิตภัณฑ์จะช่วยให้เย็นสบายในระยะสั้น แต่อาจทำให้รูขุมขนอุดตันและระคายเคืองผิวเพิ่มขึ้นได้

ควรพบแพทย์เมื่อใด

แม้ผดร้อนส่วนใหญ่จะสามารถหายได้เองภายในไม่กี่วัน แต่ในบางกรณีอาจมีภาวะแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อ หากพบอาการดังต่อไปนี้ ควรพาเด็กไปพบแพทย์ทันที คือ ผื่นมีลักษณะเป็นหนอง บวม แดง หรือมีอาการอักเสบเด็กมีไข้หรือร้องไห้ไม่หยุด อาการไม่ดีขึ้นภายใน 2-3 วันหลังได้รับการดูแลเบื้องต้นแล้ว

อย่างไรก็ตาม ผดร้อนในทารกแม้ไม่ใช่ภาวะร้ายแรง แต่หากละเลยอาจทำให้เกิดการติดเชื้อหรือความไม่สบายตัวในเด็กได้ การป้องกันที่ดีที่สุดคือการดูแลสุขอนามัยพื้นฐานอย่างสม่ำเสมอ และสังเกตความเปลี่ยนแปลงของผิวหนังลูกน้อยอยู่เสมอ หากมีข้อสงสัยหรืออาการผิดปกติ ควรปรึกษากุมารแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและดูแลอย่างเหมาะสม

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

‘ภูมิธรรม’ยันรับมือน้ำท่วม‘แม่สาย’ได้ เตรียมเครื่องมือล้างดินโคลนหลังน้ำลด

'อโมริม'คุมผีต่อ! แจ้ง'การ์นาโช่'หาทีมใหม่ได้เลย

‘เพื่อไทย’พร้อมถกงบ69 เปิดสมัยวิสามัญ เริ่มที่‘พ.ร.ก.แก้คอลเซ็นเตอร์ ต่อด้วย‘ตั๋วร่วม 20 บาท’

วิเคราะห์ 7 ข้อตีแสกหน้า‘ภูมิธรรม’ เบี่ยงประเด็นโต้ครหา‘นายกฯ’ใช้เงินหลวงไปต่างประเทศ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved