วันพุธ ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
ฟิลิปส์ เผยผลสำรวจด้านเฮลท์แคร์ Philips Future Health Index 2025 พบความล่าช้าและการเสียโอกาสการรักษา  เร่งปรับใช้ AI ช่วยบุคลากรทางการแพทย์

ฟิลิปส์ เผยผลสำรวจด้านเฮลท์แคร์ Philips Future Health Index 2025 พบความล่าช้าและการเสียโอกาสการรักษา เร่งปรับใช้ AI ช่วยบุคลากรทางการแพทย์

วันจันทร์ ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2568, 06.00 น.
Tag : ฟิลิปส์
  •  

รอยัล ฟิลิปส์ (NYSE: PHG, AEX: PHIA) ผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อการดูแลสุขภาพระดับโลก เผยผลสำรวจด้านเฮลท์แคร์ที่ใหญ่ที่สุด Future Health Index (FHI) 2025 ซึ่งจัดทำขึ้นเป็นปีที่ 10 ติดต่อกัน โดยรายงานผลสำรวจนี้ได้รวบรวมข้อมูลเชิงลึกจากบุคลากรทางการแพทย์กว่า 1,900 คน และผู้ป่วยกว่า 16,000 คน จาก 16 ประเทศทั่วโลก อาทิ สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และเกาหลีใต้ เป็นต้น โดยชี้ให้เห็นว่าถึงแม้ผลตอบรับการใช้เทคโนโลยี AI ในระบบสาธารณสุขในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะค่อนข้างไปในเชิงบวก แต่ยังมีความกังวลในแง่ความมั่นใจและการนำไปใช้

นายแจสเปอร์ เวสเตอร์ริงค์ รองประธานอาวุโสและกรรมการผู้จัดการ ฟิลิปส์ ประเทศญี่ปุ่น และรักษาการประธานและกรรมการผู้จัดการ ฟิลิปส์ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า “ความจำเป็นของการใช้เทคโนโลยี AI สูงขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน เมื่อผลสำรวจแสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยต้องรอพบแพทย์เฉพาะทางนานกว่าหนึ่งเดือน ในขณะที่บุคลากรทางการแพทย์บางส่วนต้องเสียเวลาทำงานทางคลินิกไปราว 4 สัปดาห์ต่อปี เนื่องจากข้อมูลผู้ป่วยไม่ครบถ้วน ดังนั้น AI จึงมีบทบาทสำคัญที่เข้ามาช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถรักษาผู้ป่วยได้เร็วขึ้น  ตัดสินใจได้ดีขึ้น และตอบสนองต่อความต้องการของผู้ป่วยได้รวดเร็วขึ้น เพื่อยกระดับการดูแลรักษาผู้ป่วยให้มีประสิทธิมากขึ้นแก่ผู้คนจำนวนมากขึ้นเช่นกัน”


แจสเปอร์ เวสเตอร์ริงค์ รองประธานอาวุโสและกรรมการผู้จัดการ ฟิลิปส์ ประเทศญี่ปุ่น และรักษาการประธานและกรรมการผู้จัดการ ฟิลิปส์ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

 

ผลลัพธ์ที่ไม่มีประสิทธิภาพจากการรักษาผู้ป่วยล่าช้า ตัวเร่งให้เกิดการใช้เทคโนโลยี AI

จากผลสำรวจพบว่า ผู้ป่วยในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก 2 ใน 3 (66%) ใช้เวลาในการรอพบแพทย์เฉพาะทางถึงเดือนครึ่ง ซึ่งระยะเวลารอคอยเฉลี่ยสูงถึง 47 วัน โดยผู้ป่วยในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก 1 ใน 3 (33%) ระบุว่าอาการของพวกเขาแย่ลงจากความล่าช้าในการพบแพทย์ และผู้ป่วย 1 ใน 4 (25%) ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเนื่องจากรอพบแพทย์นานเกินไป

เทคโนโลยี AI มีศักยภาพในการยกระดับการให้บริการทางการแพทย์ และช่วยปรับปรุงผลลัพธ์การรักษาผู้ป่วยในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก 81% ของบุคลากรทางการแพทย์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเชื่อว่า เทคโนโลยีดิจิทัลเฮลท์อย่าง AI และระบบวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ น่าจะช่วยลดจำนวนผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในอนาคตได้ 86% ของบุคลากรทางการแพทย์ คาดว่าเทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยลดอัตราการทำหัตถการแบบเร่งด่วน หรือการรักษาแบบฉุกเฉินได้ 89% ของบุคคลากรทางการแพทย์ เชื่อว่าเทคโนโลยี AI และระบบวิเคราะห์เชิงคาดการณ์จะสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยจากการเข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ

 

ความท้าทายด้านบุคลากร และด้านข้อมูลผู้ป่วย ดันให้เทคโนโลยี AI เป็นตัวช่วยสำคัญ

3 ใน 4 (76%) ของบุคลากรทางการแพทย์ในเอเชียแปซิฟิกระบุว่าพวกเขาเสียเวลาสำคัญทางคลินิก เนื่องจากข้อมูลผู้ป่วยไม่ครบถ้วนหรือไม่สามารถเข้าถึงได้ และเกือบ 1 ใน 3 (31%) ของบุคลากรทางการแพทย์กลุ่มนี้ยังระบุว่าพวกเขาเสียเวลาทางคลินิกมากกว่า 45 นาทีต่อ 1 กะการทำงาน หรือคิดเป็นเวลารวมถึง 23 วันต่อปีต่อบุคลากรแต่ละคน ขณะเดียวกัน 2 ใน 5 (39%) ของบุคลากรทางการแพทย์กล่าวว่าปัจจุบันพวกเขามีเวลาในการดูแลผู้ป่วยน้อยลง แต่ต้องใช้เวลามากขึ้นในงานด้านเอกสารเมื่อเทียบกับเมื่อ 5 ปีก่อน

จากผลสำรวจบุคลากรทางการแพทย์กว่า 300 คน พบมีความกังวลหลายประการ หากไม่มีการนำเทคโนโลยี AI มาใช้ 45% กังวลเกี่ยวกับจำนวนผู้ป่วยตกค้างที่เพิ่มขึ้น 42% กังวลถึงการเผชิญภาวะหมดไฟในการทำงานที่เพิ่มขึ้น จากภาระงานด้านเอกสาร 40% กังวลว่าจะไม่สามารถให้การรักษาที่ทันต่อยุคสมัย

ขจัดความกังวลของบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วย ตัวแปรสำคัญสู่การใช้เทคโนโลยี AI ในวงกว้าง

บุคลากรทางการแพทย์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกถึง 81% มีส่วนร่วมในการพัฒนาเทคโนโลยีภายในองค์กรของตัวเอง อย่างไรก็ตาม 39% ของบุคลากรทางการแพทย์ยังเห็นว่าเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาขึ้นมานั้นไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของพวกเขาได้ นอกจากนี้ ข้อกังวลในด้านความน่าเชื่อถือของเทคโนโลยียังเป็นปัจจัยสำคัญ โดย 71% กังวลเกี่ยวกับความรับผิดต่อกฎหมายจากการใช้เทคโนโลยี AI ในขณะที่ 66% กังวลเกี่ยวกับข้อมูลที่ไม่เป็นกลางในระบบที่ใช้ AI อาจส่งผลให้การรักษาและผลลัพธ์ไม่ถูกต้องได้

ในกลุ่มผู้ป่วยถึง 75% ยอมรับต่อการใช้เทคโนโลยีที่เพิ่มมากขึ้น หากสามารถช่วยขยายโอกาสในการเข้าถึงระบบสาธารณสุขและเป็นประโยชน์ต่อพวกเขา แต่กว่าครึ่ง (51%) กังวลเกี่ยวกับการถูกลดเวลาในการเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์แบบตัวต่อตัว และอีก 54% กังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของข้อมูลหากมีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้ในระบบสาธารณสุข

 

“ความเชื่อมั่น” คือหัวใจสำคัญสู่การปฏิวัติวงการเฮลท์แคร์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ผลสำรวจชี้ 84% ของบุคลากรทางการแพทย์เห็นว่าการสร้างความเชื่อมั่นในเทคโนโลยี AI ต้องมาพร้อมกับกรอบแนวทางปฏิบัติ วิธีรับมือหากเกิดปัญหา และความรับผิดทางกฎหมายที่ชัดเจน มากไปกว่านั้น บุคลากรทางการแพทย์ยังระบุว่าการพัฒนาโซลูชั่นส์ AI ควรจะต้องมีหลักฐานพิสูจน์แน่ชัด มีความโปร่งใส และสามารถเฝ้าติดตามได้ (72%) ตามด้วยความชัดเจนในด้านความปลอดภัยของข้อมูล (51%)

ในกลุ่มผู้ป่วย 3 ใน 4 (74%) มีความยินดีที่จะใช้เทคโนโลยีมากขึ้นในระบบสาธารณสุข หากจะช่วยให้พวกเขาสามารถเข้ารับการตรวจวินิจฉัยกับบุคลากรทางการแพทย์ได้ง่ายยิ่งขึ้น และหากช่วยปรับปรุงการดูแลรักษาให้ดีขึ้น (75%) ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์จึงมีบทบาทสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นระหว่างผู้ป่วยและเทคโนโลยี AI โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่ (86%) จะรู้สึกสบายใจเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี AI หากได้รับข้อมูลโดยตรงจากแพทย์ของพวกเขา ซึ่งตอกย้ำให้เห็นว่าแพทย์คือแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือสำหรับผู้ป่วยแม้แต่ในเรื่องเทคโนโลยี

“สิ่งสำคัญ คือ การสร้างความเชื่อมั่นในเทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนด้วย AI ให้กับบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วย ซึ่งจะช่วยให้มีการนำเทคโนโลยีไปใช้ในวงกว้างและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ความร่วมมือของทุกฝ่ายในวงการเฮลท์แคร์เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยยกระดับความเชื่อมั่นและลดความกังวลในการใช้เทคโนโลยี AI และขับเคลื่อนการบูรณาการเทคโนโลยีเข้ากับระบบสาธารณสุขในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอย่างรับผิดชอบและครอบคลุม” นายแจสเปอร์  กล่าวสรุป

สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม และผลสำรวจฉบับเต็ม Future Health Index 2025 ได้ที่ Future Health Index | Philips

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ฟิลิปส์ เผยผลสำรวจด้านเฮลท์แคร์ระดับโลกที่ใหญ่ที่สุด ปีที่ ٩  ชี้เทรนด์เทคโนโลยี AI และ DATA ยกระดับการดูแลรักษาผู้ป่วย มาแรง ฟิลิปส์ เผยผลสำรวจด้านเฮลท์แคร์ระดับโลกที่ใหญ่ที่สุด ปีที่ ٩ ชี้เทรนด์เทคโนโลยี AI และ DATA ยกระดับการดูแลรักษาผู้ป่วย มาแรง
  •  

Breaking News

‘อนุทิน’ยันตรวจสอบ‘คดีเขากระโดง’ตามขั้นตอนกม. ไม่รู้‘อธิบดีที่ดิน’โดนกดดันหรือไม่

‘พปชร.’มติเอกฉันท์ไม่เอา‘กาสิโน-นิรโทษกรรม’

'กล้าธรรม'การันตี สส.พร้อมเป็นองค์ประชุม เชื่อไม่ล่มแน่ รับมีคนเหมาะนั่งรองปธ.สภาฯ ไม่แพ้พรรคใด

‘อนุทิน’ปัดคุย‘เท้ง’ขันอาสานั่ง‘นายกฯชั่วคราว’ผ่าทางตัน ย้ำยึดกลไกสภา-รธน.

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved