วันพุธ ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
โพรไบโอติกส์กุญแจสำคัญสู่ 'มดลูกสมบูรณ์' เพิ่มโอกาสตั้งครรภ์สำเร็จอย่างมีนัยสำคัญ

โพรไบโอติกส์กุญแจสำคัญสู่ 'มดลูกสมบูรณ์' เพิ่มโอกาสตั้งครรภ์สำเร็จอย่างมีนัยสำคัญ

วันอังคาร ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2568, 12.34 น.
Tag : ครูก้อย ท้องยาก โพรไบโอติกส์ มดลูก มีบุตรยาก
  •  

โพรไบโอติกส์  ดีต่อมดลูก! งานวิจัยเผย “จุลินทรีย์ดีในมดลูกเกิน 80%” เพิ่มโอกาสท้องอย่างมีนัยสำคัญ

สุขภาพของ “มดลูก” ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลโดยตรงต่อความสำเร็จของการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในผู้หญิงที่อยู่ระหว่างการรักษาภาวะมีบุตรยาก เช่น การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) หรืออิ๊กซี่ (ICSI) ซึ่งแม้เทคโนโลยีทางการแพทย์จะก้าวหน้าเพียงใด แต่สภาพแวดล้อมภายในโพรงมดลูกยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ไม่อาจมองข้าม โดยมีรายงานวิจัยเปิดเผยว่า การมีโพรไบโอติกส์ (Probiotics) หรือ จุลินทรีย์ชนิดดี อย่าง Lactobacillus และ Bifidobacterium spp. มากกว่าหรือเท่ากับ 80% ในมดลูก มีความสัมพันธ์กับอัตราการฝังตัวอ่อนและการตั้งครรภ์ที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ


ครูก้อย นัชชา ลอยชูศักดิ์ ครูวิทยาศาสตร์ผู้ก่อตั้งเพจให้ความรู้เตรียมตั้งครรภ์ BabyAndMom.co.th ยืนหนึ่งในใจผู้มีบุตรยาก เปิดเผยว่า จากประสบการณ์ที่ครูก้อยสืบค้นงานวิจัยเกี่ยวกับภาวะเจริญพันธุ์เพื่อให้ความรู้เตรียมตั้งครรภ์กับผู้มีบุตรยากในเพจ BabyAndMom.co.th ทำให้ครูก้อยได้ทราบถึงปัญหาที่ส่งผลต่อการมีบุตรยาก ว่ามีหนึ่งสาเหตุที่หลายคนอาจมองข้าม นั่นคือ เรื่องของจุลินทรีย์ในลำไส้ จุลินทรีย์ในช่องคลอด จุลินทรีย์ในรังไข่ และจุลินทรีย์ในมดลูก ซึ่งปัจจุบันมีงานวิจัยใหม่ ๆ ออกมาค่อนข้างมาก เกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ชนิดดีที่เรียกว่า โพรไบโอติกส์ ซึ่งส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์อย่างมีนัยสำคัญ

 

โพรไบโอติกส์ (Probiotics) หรือ จุลินทรีย์ชนิดดี คือแบคทีเรียมีประโยชน์ที่อาศัยอยู่ในร่างกาย โดยพบได้ในระบบทางเดินอาหาร ช่องคลอด ผิวหนัง และเยื่อบุโพรงมดลูกของผู้หญิง ซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญในการฝังตัวของตัวอ่อนหลังการปฏิสนธิ โดยโพรไบโอติกส์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างสมดุลของจุลินทรีย์ในมดลูก ซึ่งสมดุลนี้เป็นปัจจัยหลักที่ช่วยให้โพรงมดลูกมีสภาพแวดล้อมเหมาะสมต่อการฝังตัวของตัวอ่อน โดยเฉพาะสำหรับผู้หญิงที่อยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมก่อนการย้ายตัวอ่อนจากกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) หรืออิ๊กซี่ (ICSI) การเสริมโพรไบโอติกส์ตั้งแต่ช่วงบำรุงไข่ไปจนถึงกระบวนการเตรียมผนังมดลูกก่อนย้ายตัวอ่อนจึงนับเป็นอีกหนึ่งแนวทางสำคัญที่ช่วยเตรียมโพรงมดลูกให้พร้อมสำหรับการตั้งครรภ์

โดยการมีโพรไบโอติกส์ที่ไม่สมดุลในระบบสืบพันธุ์และลำไส้ ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันแย่ลง และเพิ่มค่าการอักเสบในร่างกาย ซึ่งส่งผลต่อโรคทางสูติศาสตร์และภาวะมีบุตรยาก เช่น การติดเชื้อในช่องคลอดเนื่องจากมีจุลินทรีย์ที่ไม่ดี มากขึ้น ทำให้ pH ในช่องคลอดไม่สมดุล ส่งผลต่อการตายของสเปิร์มและทำให้เกิดอัตราการปฏิสนธิที่ต่ำ นอกจากนี้ยังมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับโรคทางสูติศาสตร์อื่นๆ อีกมากมาย เช่น ท่อนำไข่อุดตัน การติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน ทางเดินปัสสาวะ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ทั้งหมดนี้เกิดจากความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในระบบสืบพันธุ์

ครูก้อย กล่าวเสริมว่า โพรไบโอติกส์สัมพันธ์กับการฝังตัวของตัวอ่อน จากการศึกษาค้นคว้าวิจัยเรื่อง Does dysbiotic endometrium affect blastocyst implantation in IVF patients. ที่ตีพิมพ์ใน วารสาร Journal of Assisted Reproduction and Genetics ปี2019

ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างจุลินทรีย์ในเยื่อบุมดลูกกับผลลัพธ์ของการทำ IVF โดยวิเคราะห์อัตราการตั้งครรภ์ของผู้ที่มีภาวะจุลินทรีย์ในเยื่อบุมดูกอยู่ในสภาวะสมดุล (Eubiotic) เปรียบเทียบกับผู้ที่มีภาวะไม่สมดุล (Dysbiotic) ณ เวลาที่ย้ายตัวอ่อนแช่แข็งเข้าสู่โพรงมดลูก

ทดสอบโดยกำหนดเยื่อบุมดลูกที่เป็น Eubiotic เมื่อมี Lactobacillus และ Bifidobacterium spp. มากกว่าหรือเท่ากับ 80% เพื่อเปรียบเทียบกับเยื่อบุมดลูกที่เป็น Dysbiotic เมื่อมี Lactobacillus และBifidobacterium spp. น้อยกว่า 80% พร้อมกับแบคทีเรียชนิดอื่น มากกว่าหรือเท่ากับ 20%

การศึกษาพบว่า อัตราการตั้งครรภ์จากการทำ IVF มีค่าสูงขึ้น ในเยื่อบุมดลูกของผู้หญิงที่มี Lactobacillus และ Bifidobacterium อยู่มากกว่าหรือเท่า 80% กล่าวคือสภาพที่จุลินทรีย์ในเยื่อบุมดลูกมีสมดุลดี (Eubiotic) สามารถช่วยเพิ่มอัตราการตั้งครรภ์ได้อย่างมีนัยสำคัญ

ครูก้อยกล่าวด้วยว่า  โพรไบโอติกส์ (Probiotics) หรือ จุลินทรีย์ชนิดดี นอกจากจะมีส่วนช่วยสร้างสมดุลจุลินทรีย์ชนิดดีในมดลูกแล้ว มีส่วนช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ป้องกันการติดเชื้อที่อาจรบกวนมดลูก ปรับความเป็นกรด-ด่างในช่องคลอดให้อยู่ในสมดุลที่เหมาะสมเพิ่มจุลินทรีย์ดีในมดลูก ช่วยให้โพรงมดลูกพร้อมรับตัวอ่อน ลดโอกาสเกิดภาวะลำไส้แปรปรวน ท้องผูก ท้องอืด ที่อาจเพิ่มแรงดันในมดลูกในช่วงใส่ตัวอ่อนสำหรับผู้หญิงที่ทำอิ๊กซี่ (ICSI) หรือ IVF และยังช่วยกระตุ้นการสร้างโฟเลตที่สำคัญต่อการพัฒนาตัวอ่อน ควบคุมน้ำตาลในเลือด เสริมสุขภาพโดยรวมของแม่อีกด้วย

 

นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยที่ศึกษาพบว่าความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในช่องคลอดสามารถก่อให้เกิดการอักเสบ และนำไปสู่ปัญหาทางสูติศาสตร์และภาวะมีบุตรยากได้ โดยอ้างอิงจากงานวิจัยเรื่อง Biological control of vaginosis to improve reproductive health ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Indian Journal of Medical Research, Supplement เดือนพฤศจิกายน ปี 2014 ศึกษาในผู้หญิงที่มีภาวะอักเสบของช่องคลอด พบว่ามีจำนวนแบคทีเรียแอนแอโรบส์ (Anaerobes) สูง ซึ่งเป็นกลุ่มแบคทีเรียที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ การติดเชื้อในลักษณะนี้ไม่ได้เกิดจากแบคทีเรียชนิดใดชนิดหนึ่งโดยเฉพาะ แต่เป็นผลจากความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในช่องคลอด ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางสูตินรีเวช เช่น ภาวะถุงน้ำคร่ำอักเสบ การคลอดก่อนกำหนด การติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งล้วนส่งผลกระทบต่อสุขภาพการเจริญพันธุ์ และอาจนำไปสู่ภาวะมีบุตรยากได้

ดังนั้นผู้หญิงที่อยู่ระหว่างการเตรียมตั้งครรภ์ หรือเตรียมผนังมดลูกก่อนย้ายตัวอ่อนควรเลือกทานโพรไบโอติกส์ที่มีสายพันธุ์ Lactobacillus และ Bifidobacterium ซึ่งเป็นสายพันธุ์สำคัญที่อยู่ในมดลูก แนะนำควรเริ่มทานได้ตั้งแต่ช่วงบำรุงไข่ เพื่อที่จะช่วยปรับและรักษาสมดุลจุลินทรีย์ในมดลูกให้คงที่อยู่เสมอ หรือศึกษารายละเอียดเพิ่มเกี่ยวกับ Ferty Probiotics ที่ครูก้อยร่วมกับนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยคิดค้นผลิตภัณฑ์ขึ้นมา โดยคัดเลือกสายพันธุ์โพรไบโอติกส์ 2 กลุ่ม ได้แก่กลุ่ม Lactobacillus และ Bifidobacterium ทั้งหมด 9 สายพันธุ์ ได้ที่ https://www.babyandmom.co.th/all-products/ferty-probiotics-by-krukoy และสามารถศึกษาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโพรไบโอติกส์ที่ช่วยเสริมภาวะเจริญพันธุ์ ได้ใน รายการ Research​ Talk​ Ep.20 เรื่อง งานวิจัยเผย โพรไบโอติกส์ มีส่วนช่วยส่งเสริมภาวะเจริญพันธุ์ ได้ที่ลิงค์ https://www.youtube.com/watch?v=NapTCqZRTzA  

อย่างไรก็ตามนอกจากจะทานโพรไบโอติกส์แล้ว ต้องรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ปรับโภชนาการ เพิ่มโปรตีน ลดคาร์บ ทานกรดไขมันดี เสริมสารต้านอนุมูลอิสระ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ เพราะการเตรียมตัวที่ดี ปรับเปลี่ยนโภชนาการและปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ เป็นการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่กระบวนการทางการแพทย์เพื่อเพิ่มโอกาสสำเร็จ

และติดตามความรู้เตรียมตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยากได้ที่

Facebook: https://www.facebook.com/BabyAndMom.co.th/

TikTok: https://www.tiktok.com/@babyandmom.co.th

Line OA: @BabyAndMom.co.th (ปรึกษาครูก้อยและคัมภีร์บำรุงเตรียมตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก)

 

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

สุดภูมิใจ! 'เชียงใหม่-กรุงเทพฯ'ติดท็อป 3 เมืองที่ดีที่สุดในเอเชีย

เปิดคำวินิจฉัย‘กกต.’ยกคำร้อง 206 ผู้สมัครสว.อำนาจเจริญ ชี้ไม่พบเส้นเงินจ้างสมัคร-ตั้งกลุ่มฮั้ว

ชำแหละ 3 ประเด็นปม‘แพทองธาร’ขอขยายเวลาชี้แจง‘คลิปเสียง’ สะท้อนล้มเหลว

ปภ.เชียงรายเตือน! 'น้ำท่วมฉับพลัน-น้ำป่าไหลหลาก' พื้นที่อำเภอเทิง-หลังฝนตกหนัก

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved