ดร.พันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี ผู้ช่วยปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานในพิธีปิดและมอบรางวัล “การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์เยาวชนกลุ่มประเทศอาเซียน ครั้งที่ 11” (The 11th ASEAN Student Science Project Competition (ASPC 2025)) โดยมี รศ.ดร.ธณัฏฐ์คุณ มงคลอัศวรัตน์ นายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ พร้อมด้วย ดร.ชนินทร วรรณวิจิตรรองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM ร่วมแสดงความยินดี พร้อมมอบรางวัลให้แก่ทีมเยาวชนอาเซียนณ ห้องแสงเดือน-แสงเทียน พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า NSM ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
ผลการแข่งขัน ASPC 2025 ปีนี้ เยาวชนไทยสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศด้วยการคว้ารางวัลชนะเลิศถึง 2 สาขา จากทั้งหมด 3 สาขา ได้แก่ สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ ทีมจากโรงเรียนกำเนิดวิทย์ จังหวัดระยอง ประกอบด้วย นายเมธวิน จันทร์ทอง และ น.ส.นิชานาถ ถาวรพานิช ในโครงงาน “การพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพของล้อชนิดแม่เหล็กสำหรับหุ่นยนต์ที่ใช้ในอุตสาหกรรม” (Development and optimization of magnetic adhesion wheels for pipe-climbing robots)
สาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ทีมจากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร ประกอบด้วย นายปฏิพล เจริญผล และนายพีรพัฒน์ พรมจันทร์ ในโครงงาน “ระบบวิเคราะห์คุณภาพและบ่งบอกถึงเหตุผลของระดับคุณภาพของเนื้อโคขุนโพยางคำสำหรับอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์” (AI-Based system for quality analysis and determinants of Phon Yang Kham Beef for the industry)
ส่วนรางวัลชนะเลิศ สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ตกเป็นของประเทศสิงคโปร์ ในโครงงาน “Development of a novel diagnostic tool for antibody responses to vaccines” การพัฒนาเครื่องมือวินิจฉัยการตอบสนองของสารภูมิต้านทานต่อวัคซีน โดย Mr. Aaron Jacob
ดร.พันธุ์เพิ่มศักดิ์ ได้กล่าวแสดงความยินดีกับความสำเร็จของทีมเยาวชนไทยและอาเซียนว่า “ขอชื่นชมและแสดงความยินดีกับเยาวชนอาเซียนทุกคนที่เข้าร่วมการแข่งขันฯ เวทีนี้เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ช่วยแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ผ่านโครงงานวิทยาศาสตร์ระหว่างกันในกลุ่มประเทศอาเซียน ที่สามารถนำไปสู่การประกวดในระดับโลกได้ ทั้งนี้ ต้องขอบคุณ NSM สมาคมวิทย์ฯ และบริษัท เอ็กซอนโมบิล จำกัด และทุกภาคส่วนที่ช่วยกันผลักดันให้เกิดกิจกรรมเพื่อเยาวชนอาเซียนในครั้งนี้ เพราะการส่งเสริมศักยภาพของเยาวชนในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการช่วยขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศกลุ่มอาเซียนอย่างความยั่งยืน โดยเฉพาะการพัฒนากลุ่มคนรุ่นใหม่ให้มีศักยภาพ และความคิดสร้างสรรค์ โดยหวังว่าเยาวชนอาเซียนจะสามารถนำผลงานเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้และต่อยอด พร้อมจะขับเคลื่อนสังคมอาเซียนให้ทัดเทียมระดับโลกต่อไป”
ด้าน ดร.ชนินทร เผยว่า “การประกวดฯ ในปีนี้มีเยาวชนจาก 8 ประเทศสมาชิกอาเซียนเข้าร่วม ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ ลาว เมียนมา และไทย รวมทั้งสิ้น 37 โครงงาน มีผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 105 คน โดยเวทีนี้มุ่งหวังให้เยาวชนได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ แบ่งปันองค์ความรู้ สร้างเครือข่าย และต่อยอดศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ กิจกรรมครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงพลังความคิดสร้างสรรค์ของเยาวชนอาเซียน ตลอดจนความสามารถในการนำความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ที่ได้รับ ไปต่อยอดพัฒนาประเทศของตน ให้ก้าวไกลและยืนหยัดอย่างภาคภูมิใจบนเวทีโลก”
รศ.ดร.ธณัฏฐ์คุณ กล่าวว่า “สมาคมวิทยาศาสตร์ฯ เป็นหนึ่งในองค์กรที่มุ่งมั่นผลักดันกิจกรรมด้านวิทยาศาสตร์ให้กับสังคมไทยมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน พร้อมทั้งบ่มเพาะเยาวชนเพื่อส่งเสริมและยกระดับขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ของประเทศ การทำโครงงานวิทยาศาสตร์จึงเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้กับเยาวชน ไม่เพียงเฉพาะเยาวชนไทยเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเยาวชนในกลุ่มประเทศอาเซียนด้วย การจัดประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ในระดับอาเซียนนอกจากจะเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านSTEM แล้ว ยังช่วยกระตุ้นให้เยาวชนพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 อันเป็นพลังสำคัญที่จะผลักดันศักยภาพของเยาวชน ก้าวสู่การสร้างความเข้มแข็งด้านวิทยาศาสตร์ให้กับประเทศและภูมิภาคอาเซียนต่อไป”
ด้าน นายปฏิพล เจริญผล และนายพีรพัฒน์ พรมจันทร์ จากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร เปิดเผยความรู้สึกหลังคว้ารางวัลชนะเลิศในสาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ว่า “โครงงานของเราเกิดจากความตั้งใจที่จะช่วยเหลือเกษตรกรในการคัดเกรดเนื้อให้ได้มาตรฐานที่มีคุณภาพสูง โดยใช้เพียงโทรศัพท์มือถือในการถ่ายภาพเนื้อ แล้วนำมาประมวลผลด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อวิเคราะห์และจำแนกเกรดของเนื้ออย่างแม่นยำ เราทั้งคู่รู้สึกดีใจและภูมิใจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการได้รับรางวัลจากเวทีนี้ ซึ่งถือเป็นรางวัลใหญ่ครั้งแรกในชีวิตของเรา”
ผลรางวัลอื่น ๆ ใน “การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์เยาวชนกลุ่มประเทศอาเซียน ครั้งที่ 11” (The 11th ASEAN Student Science Project Competition (ASPC 2025)) ประเภทต่าง ๆ มีดังนี้
สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ
•รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้แก่ ประเทศฟิลิปปินส์ โครงงาน Molecular Docking, Principal Component Analysis, and Structure-Activity Relationship Analysis of Terpenoids from Marine Heterobranch Mollusks as Human Neutrophil Elastase Inhibitorsพัฒนาโดย Mr. Breindel Sam T. Luis
•รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้แก่ ประเทศเวียดนาม โครงงาน METAMATERIAL: Absorb electromagnetic waves, especially 5G emitting from electronic devices พัฒนาโดย Mr. Nguyen Duy Manh และ Mr. Do Thai Minh
•รางวัลชมเชย 2 รางวัล ได้แก่ ประเทศอินโดนีเซีย โครงงาน Development and characterization of a durian peel-based nanocellulose TiO₂ NPs nanocomposite for biodegradable packaging applications โดย Mr. Zacarich Widjoyo Arilo และประเทศมาเลเซียโครงงาน Intelligence Flood Alarm System (I-FAS) พัฒนาโดย Mr. Ahmad Irfan Bin Ahmad Shahrul Radzuan และ Mr. Akid Dinie Bin Muhamad Ikhram
สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
•รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้แก่ ประเทศไทย จากโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จ.นครปฐม โครงงาน Utilization of Microalgae Chlorella spp. to absorb carbon dioxide and treat wastewater in industrial systems พัฒนาโดย นายสิรภพ บูรพาสกุล
•รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้แก่ ประเทศไทย จาก โรงเรียนห้วยซ้อวิทยาคม รัชมังคลาภิเษก จ.เชียงราย โครงงาน Development of a smart farming system for rearing the mole cricket (Gryllotalpa orientalis) พัฒนาโดย นายเทพพระคุณ วจนะไพโรจน์ และน.ส.ธันยธรณ์ วรรณพิรุฬ
•รางวัลชมเชย 2 รางวัล ได้แก่ ประเทศอินโดนีเซีย โครงงาน Oil spill remediation with modified natural polysaccharide guar gum: Assessment of the potential of guar gum as an active ingredient of oil absorbent fabrics พัฒนาโดย Ms. Zinnia Mysha Amaia และ Ms. Naura Shafira Raihani และประเทศเวียดนาม โครงงาน Preliminary evaluation of phytochemical composition and antioxidant activity of Tournefortia montana L. leaf and stem extracts collected in Tu Son, Bac Ninh province, Vietnam พัฒนาโดย Mr. Pham Dinh Minh Nghia และ Ms. Luc Phan Bao Thy
สาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์
•รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้แก่ ประเทศฟิลิปปินส์ โครงงาน Production of Poly(Lactic) Acid from Lactic Acid derived via simultaneous saccharification and fermentation of marang seed starch using lactobacillus พัฒนาโดย Mr. Patrick Quinn Regidor Yan
Yan
•รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้แก่ ประเทศอินนีเซีย โครงงาน SMEDI (Smart Message Sender Device) : Short message sending device for underdeveloped areas without credit พัฒนาโดย Mr. Muhammad Fathul Yasir และMr. Tesco Aditya Palijama
•รางวัลชมเชย 2 รางวัล ได้แก่ ประเทศเวียดนาม โครงงาน Study on the development of a detection kit for food additives using an eco-friendly fluorescent solution พัฒนาโดย Ms. Hoang Ngan Duong และMr. Nguyen Minh Khoi และประเทศเวียดนาม โครงงานPhotothermal biomass from watermelon rind for solar-driven desalination and power generation พัฒนาโดย Ms. Nguyen Mai Phuong และ Mr. Pham Quang Duc
-(016)
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี