วันเสาร์ ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
มูลนิธิศุภนิมิตฯ เดินหน้าอย่างเร่งด่วน ‘เด็กไทย (ไม่) ไร้ตัวตน’  เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและความเท่าเทียมในสิทธิขั้นพื้นฐาน

มูลนิธิศุภนิมิตฯ เดินหน้าอย่างเร่งด่วน ‘เด็กไทย (ไม่) ไร้ตัวตน’ เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและความเท่าเทียมในสิทธิขั้นพื้นฐาน

วันพฤหัสบดี ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2568, 06.00 น.
Tag : ‘เด็กไทย(ไม่)ไร้ตัวตน มูลนิธิศุภนิมิตฯ
  •  

มีข้อมูลจาก องค์การสหประชาชาติ (UN) ชี้ให้เห็นว่า ประชากรโลกมีกว่า 8,000 ล้านคน ในปัจจุบัน แต่ยังมีอีกนับล้านที่ "ไม่มีสถานะทางกฎหมาย" โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน และเช่นเดียวกัน สถานการณ์ในประเทศไทย ก็มีข้อมูลจากกระทรวงมหาดไทย ณ ปี 2567 ที่ระบุว่า จำนวนมากกว่า 587,000 คน ที่ประสบปัญหาไร้สัญชาติ และที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนราษฎร โดยในจำนวนนี้เป็น เด็กและเยาวชนกลุ่มเปราะบาง กว่า 300,000 คน ที่ไม่สามารถพิสูจน์สัญชาติได้ ซึ่งตัวเลขนี้สูงเป็นอันดับ 3 ของโลก (รองจากบังกลาเทศและไอวอรี่โคสต์)

นางรสลิน โกแวร์ ผู้อำนวยการมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย ได้ให้ข้อมูลถึงจุดยืนและการดำเนินงานตามแผนนโยบายของมูลนิธิศุภนิมิตฯ ว่า  “ในฐานะที่เราเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงาน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก ครอบครัว และชุมชนที่ยากไร้ เราตระหนักถึงปัญหา พร้อมเร่งดำเนินงานอย่างต่อเนื่องกับกลุ่มเด็กเปราะบาง กลุ่มชาติพันธุ์ชายขอบในหลายจังหวัด โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือและตะวันตก เช่น เชียงราย แม่ฮ่องสอน ตาก และกาญจนบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีประชากรกลุ่มเปราะบางจำนวนมาก ด้วยปณิธานและพันธกิจของมูลนิธิศุภนิมิตฯ กับบทบาทในการปกป้องคุ้มครองเด็ก ด้านสุขภาพและสิทธิ ในกลุ่มประชากรข้ามชาติและชาติพันธุ์  ให้ได้มีโอกาสและสิทธิเท่าเทียมเช่นเดียวกับเด็กไทยคนอื่นๆ เราจึงเดินหน้าพร้อมมีเป้าหมายที่ปรารถนาให้เด็กทุกคนที่อยู่บนผืนแผ่นดินไทย ได้รับการศึกษา ไม่ว่าเชื้อชาติไหน สัญชาติใด ตามหลักปฏิบัติสากลที่เป็นไปตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก กลุ่มนักเรียนรหัส G (Guest หรือ Group without nationality) น้องๆ สามารถเข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ตามกฎหมาย แต่ยังไม่สามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานหรือบริการอื่นๆ ของรัฐได้ เช่น สิทธิการรักษาพยาบาล การเข้าถึงกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)  เป็นต้น


รสลิน โกแวร์

 

ในปี 2567 เราขยายการทำงานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก ภายใต้ โครงการนำร่องเด็กไร้สัญชาติให้เข้าถึงสถานะทางกฎหมายและระบบบริการของรัฐ เราจึงริเริ่มพัฒนาภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ เอกชน จิตอาสาและภาคประชาชน เพื่อแก้ไขปัญหาสถานะบุคคลของกลุ่มนักเรียนรหัส G ในอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว เพื่อดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง ทั้งการประชุม เพื่อสร้างความเข้าใจและพัฒนาแผนการทำงานกับภาคีเครือข่าย การอบรมพัฒนาศักยภาพ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในประเด็นนี้ แนวทางแก้ไขปัญหาสถานะบุคคลตามกฎหมาย การฝึกปฏิบัติกรอกแบบสำรวจเพื่อจัดทำทะเบียนสำหรับบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน หรือ(แบบ 89) และ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์อื่น ๆ อีกมากมาย รวมไปถึง การจัดหน่วยบริการเชิงรุกในสถานศึกษา โดยร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่ เพื่อจัดกระบวนการสืบข้อเท็จจริงและหารือแนวทางแก้ไขสถานะบุคคลของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อสนับสนุนการยื่นคำขอสถานะทางทะเบียนตามที่กฎหมายกำหนดได้อย่างถูกต้อง พร้อมถอดบทเรียน สะท้อนการทำงาน และพัฒนาการทำงานร่วมกันให้เข้มแข็งขึ้น 

หลินฟ้า อุปัชฌาย์

 

ผลจากการดำเนินโครงการนำร่องฯ ดังกล่าว สามารถสนับสนุนการคัดกรองเด็ก จำนวน 127 คน ซึ่งส่งผลให้เด็ก 3 คนได้รับสถานะทางกฎหมาย รวมถึงเด็ก 4 คนและผู้ใหญ่ 1 คนได้รับสัญชาติไทย ความสำเร็จที่ได้รับมานี้ สะท้อนให้เห็นความร่วมมือร่วมใจกันเป็นอย่างดีของมูลนิธิศุภนิมิตฯ และภาคีเครือข่ายในพื้นที่ ที่ให้ความสำคัญกับเด็กกลุ่มเปราะบางกลุ่มนี้    อย่างไรก็ตาม เราไม่เพียงแต่มุ่งให้เด็กได้รับสิทธิที่พึงจะได้รับตามกฎหมาย แต่รวมถึงโอกาสการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานที่จะได้รับ รวมถึงการส่งเสริมพัฒนาการตามช่วงวัยเพื่อการเจริญเติบโตและการเรียนรู้ของเด็กในทุกด้าน ซึ่งเปรียบเสมือนรากฐานที่มั่นคงสำหรับอนาคตของเด็กทุกคน ทั้งนี้ เรายังคงมุ่งมั่นต่อยอดความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง เพื่อคุณภาพชีวิตของเด็กกลุ่มเปราะบาง ในพื้นที่อื่น ๆ ต่อไปอีกด้วย”

 

ขณะเดียวกัน มูลนิธิศุภนิมิตฯ ก็ยังคงเดินหน้าขยายผลอย่างต่อเนื่องในปี 2568 กับ โครงการพัฒนาสถานะบุคคลและสิทธิสำหรับเด็กและเยาวชนไร้รัฐไร้สัญชาติ เพื่อสนับสนุนเด็กเปราะบางในอีก 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ (พื้นที่ อ.ฝาง อ.เวียงแหง อ.แม่อาย)  จังหวัดแม่ฮ่องสอน (พื้นที่ อ.ปาย อ.ปางมะผ้า อ.เมือง อ.ขุนยวม) จังหวัดสระแก้ว (พื้นที่ อ.อรัญประเทศ อ.ตาพระยา อ.โคกสูง) ซึ่ง นางสาวหลินฟ้า อุปัชฌาย์ ผู้จัดการด้านผู้หญิงและเด็กที่ได้รับผลกระทบจากการโยกย้ายถิ่นฐาน มูลนิธิศุภนิมิตฯ ขยายความถึงเป้าหมายและเหตุผลที่เลือกดำเนินการในพื้นที่ดังกล่าว

 “เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ยังไม่มีกลุ่มเครือข่าย หรือมีการดำเนินงานเกี่ยวกับปัญหาคนไร้สัญชาติน้อย ทีมงานของเราจะเข้าไปโดยมีเป้าหมายในการให้ความช่วยเด็กที่มีสถานะรหัส G ให้ได้รับหมายเลขประจำตัว 13 หลัก โดยตั้งเป้าว่าจะมีผู้ได้รับผลประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ได้เข้าถึงผ่านโครงการนี้ ประมาณ 5,000 คน ใน 3 พื้นที่ ได้แก่ เชียงใหม่ 3,000 คน แม่ฮ่องสอน 1,000 คน และสระแก้ว 1,000 คน ผ่าน 3 กิจกรรมหลัก คือ สรรหาอาสาสมัคร เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ส่งเสริมความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการแจ้งเกิดและการพัฒนาสถานะทางกฎหมายให้กับสมาชิกในชุมชน แสวงหาและพัฒนาความร่วมมือ ในรูปแบบของหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐและภาคประชาสังคม การอาศัยทีมลงทะเบียนเคลื่อนที่แบบ บูรณาการ เพื่อลดภาระงานของเจ้าหน้าที่อำเภอ รวมถึงบรรเทาอุปสรรคด้านการเดินทาง เพื่อเร่งกระบวนการ ให้ได้รับการแก้ไขปัญหาของเด็กที่อยู่ในกลุ่มเปราะบางอย่างเร่งด่วนที่สุด ซึ่งโครงการดังกล่าว เราได้เริ่มดำเนินการไปแล้วกว่า 40%” นางสาวหลินฟ้า กล่าว.

แม้เศรษฐกิจ หรือเทคโนโลยีจะก้าวล้ำไปไกลเพียงใด แต่ยังมี “เด็กไทยกลุ่มเปราะบางอีกจำนวนไม่น้อย” ที่ยังต้องการโอกาส เพียงเพราะพวกเขาถูกจำกัดด้วยคำว่า “ไม่มี” ใน “สิทธิ์” ที่เด็กไทยทุกคนพึงมีอย่างเท่าเทียมกัน มูลนิธิศุภนิมิตฯ ในฐานะองค์กรภาคประชาสังคม จึงมุ่งมั่นต่อยอดความร่วมมืออย่างต่อเนื่องกับทุกภาคส่วน เพื่อเป็นอีกก้าวสำคัญของการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและครอบครัวที่เปราะบาง เพราะเด็กทุกคนควรมีสิทธิในสัญชาติ ได้รับการคุ้มครอง และเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานที่จำเป็น เพื่อให้พวกเขาเติบโตขึ้นอย่างมั่นคง และสามารถมีส่วนร่วมในสังคมได้อย่างเต็มที่

อัพเดตความเคลื่อนไหวการทำงานของมูลนิธิศุภนิมิตได้ที่ www.worldvision.or.th, FB: https://www.facebook.com/worldvisionthailand,   IG: https://www.instagram.com/worldvision_thailand และ

Youtube: https://www.youtube.com/@worldvisionthailand-wvft

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

‘นาวิกโยธิน’ตอบโต้‘กัมพูชา’หนีกระเจิง ถอยร่นออกจากพื้นที่อธิปไตย

‘ทัพเรือ’ลั่น‘ฝึกอย่างไร รบอย่างนั้น’ ลุยฝ่าทุ่นระเบิด ผลักดันกำลังต่างชาติรุกล้ำอธิปไตย

‘ธนกร’หนุนสภาฯไม่ตัดงบจัดซื้อ‘อาวุธ’กลาโหม ชี้เร่งเพิ่มขีดความสามารถกองทัพไทย

กองทัพภาค2 ส่งกำลังใจ'กองทัพเรือ' เจอ'เขมร'โจมตี ทหารไทยโต้กลับแบบสาสม

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved