วันพุธ ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2562
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์ผู้หญิง / สถานีพัฒนาสังคม
สถานีพัฒนาสังคม

สถานีพัฒนาสังคม

สถานีพัฒนาสังคม
วันเสาร์ ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2562, 06.00 น.

ปัญหาและอุปสรรคในการบังคับใช้กฎหมายการส่งเสริมการมีงานทำของคนพิการ ตามมาตรา ๓๕

ดูทั้งหมด

  • Tweet

‘ปัญหาและอุปสรรคในการบังคับใช้กฎหมายการส่งเสริมการมีงานทำของคนพิการ

ตามมาตรา ๓๕ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ’


(ต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว)

สรุปของวิทยากร

๑.นางภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้กล่าวสรุปว่าสสส. ขอยืนยันการสนับสนุนมาตรา ๓๕ ซึ่งเชื่อว่ามีประโยชน์และเป็นทางเลือกสำคัญ สำหรับสถานประกอบการที่ไม่สามารถจ้างงานตามมาตรา ๓๓ และทำให้คนพิการได้มีทางเลือกในการทำงานอยู่ที่บ้านและชุมชน มาตรานี้มีประโยชน์จึงขอสนับสนุนมาตรานี้

๒.นายชนิสร์ คล้ายสังข์ ผู้อำนวยการกองกฎหมายสวัสดิการสังคม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้กล่าวสรุปว่า กฎหมายนี้ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ ซึ่งในมาตรา ๓๕ อาจจะมีปัญหาในการบังคับใช้อยู่บ้าง แต่หากประสานความร่วมมือกันระหว่างผู้ประกอบการและหน่วยงานของรัฐทำให้เกิดความเข้าใจตรงกันก็จะสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้

๓.ว่าที่ร้อยตรี ภูริพงษ์ วารีศรี นักวิชาการแรงงานชำนาญการ กองพัฒนาระบบบริการจัดหางาน กรมการจัดหางานได้กล่าวสรุปว่า จากกรณีเรื่องร้องเรียน ตามที่ประธานฝ่ายส่งเสริมอาชีพและการจ้างงาน สภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย ได้เคยยื่นต่อกระทรวงแรงงานแล้วนั้น กระทรวงแรงงานได้ลงพื้นที่พร้อมกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบการจ้างงาน หลักฐานการจ่ายเงิน สัญญาจ้าง สิทธิประกันสังคมและสวัสดิการอื่น ๆ ซึ่งพบว่าบริษัทดังกล่าว จัดสวัสดิการให้ลูกจ้างค่อนข้างดี เปิดโอกาสให้คนพิการกว่า ๗๐ คนเข้าทำงาน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนตาบอด บริษัทดังกล่าวให้สิทธิคนพิการสามารถเลือกเวลาทำงานได้ สัญญาจ้างเป็นการจ่ายเงินแบบโอนเงินเข้าบัญชีโดยตรงของคนพิการเช่นเดียวกับพนักงานทั่วไป โดยผลการตรวจสอบพบว่าเป็นการจ้างงานเป็นไปตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ทั้งนี้ หากมีกรณีอื่นๆ เกิดขึ้น ก็สามารถยื่นเรื่องร้องเรียนต่อกรมการจัดหางานเพื่อเข้าไปตรวจสอบข้อเท็จจริงได้เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม มาตรา ๓๕ ถือเป็นการสร้างโอกาสให้คนพิการหรือผู้ดูแลได้เข้าถึงสิทธิ เพื่อให้มีรายได้จากการประกอบอาชีพมาดูแลตัวเองและครอบครัว ส่วนประเด็นปัญหา ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอาจจะเป็นปัญหาในการปฏิบัติ ซึ่งต้องมีการกำกับดูแลอย่างเข้มงวดจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ เพื่อทำให้คนพิการได้รับสิทธิอย่างเต็มที่และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด

๔. นางสาววิจิตา รชตะนันทิกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านการส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ได้กล่าวสรุปว่ามาตรา ๓๕ ถือเป็นนวัตกรรมที่ดีจึงควรมีกระบวนการหนุนเสริมสนับสนุนให้เกิดความสมบูรณ์ ซึ่งต้องมีปรับปรุงกฎระเบียบ มาตรา ๓๕ จากข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วนในการสัมมนาครั้งนี้ ประกอบด้วย ๒ ประเด็นสำคัญ คือ (๑) กลไกปัจจุบัน
มีประสิทธิภาพ ครบถ้วนสมบูรณ์แล้วหรือไม่ อาทิ กลไกคณะอนุกรรมการขจัดการเลือกปฏิบัติ โดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ กลไกคณะอนุกรรมการด้านกฎหมาย และกลไกการทำงานคู่ขนานกันระหว่างหน่วยงานของภาครัฐและองค์กรคนพิการ เป็นต้น (๒) กระบวนการดำเนินงานด้านต่างๆ อาทิ ระบบติดตามตรวจสอบ ระบบการให้ความรู้ความเข้าใจที่ต้องเสริมให้มีการทำงานได้อย่างเต็มที่ ซึ่งเริ่มมีทิศทางการทำงานที่ดีขึ้นระหว่าง พก. และกระทรวงแรงงานแล้ว และระบบการเชื่อมโยงฐานข้อมูลให้มีความชัดเจน

๕.นายสุชาติ โอวาทวรรณสกุล นายกสมาคมสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย ได้กล่าวสรุปว่า การสัมมนาในครั้งนี้ ได้เห็นความสวยงามของมาตรา ๓๕ โดยเฉพาะการทำงานของสถานประกอบการ ซึ่งได้ลงไปสนับสนุนการทำงานของคนพิการในชุมชน ทั้งนี้ ควรช่วยกันทำให้เกิดวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) ในกลุ่มของคนพิการเพื่อให้เกิดความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ระบบสอนงานโดยพี่เลี้ยง (Job Coach) จะช่วยลดปัญหา ทั้งเรื่องการพัฒนาศักยภาพของคนพิการในการทำงาน และลดปัญหาเรื่องความกังวลด้านความปลอดภัยต่อคนพิการในการทำงานในสถานประกอบการได้รวมถึงประเด็นสัมปทานสลากกินแบ่งรัฐบาล ภาครัฐควรนำส่งกลับมากระจายให้กับคนพิการ

๖.นายมณเฑียร บุญตัน รองประธานคณะกรรมาธิการการสังคมฯ คนที่หนึ่ง ได้กล่าวสรุปว่า ดังนี้

(๑) กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ มีทั้ง (๑) มาตรการแบบอ่อนหรือเรียกว่ามาตรการส่งเสริม ตามมาตรา ๓๓ และมาตรา ๓๕ และในส่วนของภาคเอกชนที่เพิ่มมาคือ มาตรา ๓๔ โดยปกติแล้ว มาตรการส่งเสริม หรือ Affirmative Action ภาครัฐต้องจ้างงานคนพิการมากกว่าเอกชน เนื่องจากภาครัฐบังคับใช้ได้โดยระบบคำสั่ง โดยระบบบังคับบัญชาของรัฐอยู่แล้ว ส่วนเอกชนถือเป็นตัวเสริม แต่กฎหมายไทยได้กำหนดสัดส่วนการจ้างงานคนพิการของภาครัฐและเอกชนเท่ากัน คือ คนพิการ ๑ คน ต่อลูกจ้างทั่วไป ๑๐๐ คนซึ่งถือว่าต่ำที่สุดในภูมิภาคนี้ ทั้งนี้ สัดส่วนการจ้างงานคนพิการระหว่างภาครัฐกับเอกชนตามมาตรา ๓๓ เป็นเรื่องสำคัญในต่างประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น อินเดีย และจีนจะกำหนดสัดส่วนให้ภาครัฐต้องจ้างงานคนพิการมากกว่าภาคเอกชนกว่า ๒ เท่า เป็นต้น และ (๒) มาตรการแบบแข็ง ได้แก่ มาตรการห้ามเลือกปฏิบัติต่อคนพิการ โดยกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการได้กำหนดมาตรการเรื่องการห้ามเลือกปฏิบัติไว้แล้ว แต่ยังถูกนำไปใช้ไม่มากนัก ทั้งนี้ หน่วยงานของรัฐหรือเอกชนแม้จ้างงานคนพิการตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกฎหมายแล้วก็ตาม มาตรการห้ามเลือกปฏิบัติต่อคนพิการเกี่ยวกับการจ้างงานก็ยังสามารถบังคับใช้ได้เช่นกัน กฎหมายฉบับนี้จึงเป็นกฎหมายสิทธิมนุษยชนซึ่งมีมาตรการที่สำคัญ คือ การห้ามเลือกปฏิบัติต่อคนพิการ

(๒) มาตรา ๓๕ เป็นเรื่องใหม่ของกฎหมายไทยที่นำต้นแบบมาจากต่างประเทศ จึงต้องเรียนรู้และขยายผลกันต่อไป นานาอารยประเทศที่บังคับใช้กฎหมายประเภทที่จะลดความเหลื่อมล้ำ มักจะเริ่มต้นบังคับใช้กับหน่วยงานของรัฐก่อน เนื่องจากหน่วยงานของรัฐจะนำกฎหมายไปสู่การปฏิบัติได้ง่าย กฎหมายฉบับแรก คือ พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ยังไม่บังคับภาครัฐ แต่ภายหลัง รัฐธรรมนูญปี ๒๕๔๐มีกฎหมายวิธีพิจารณาคดีปกครอง มีการจัดตั้งศาลปกครองขึ้นมาเหตุการณ์เปลี่ยนไป ประกอบกับรัฐธรรมนูญทั้งปี ๒๕๔๐ ปี ๒๕๕๐และปี ๒๕๖๐ เริ่มมีความเข้มข้นมากขึ้นในการกำหนดให้สิทธิของประชาชนเป็นหน้าที่ของรัฐ กฎหมายของไทยจึงมีวิวัฒนาการตามไปด้วย มาตรา ๓๕ จึงถือเป็นเรื่องใหม่ ที่เป็นการทดสอบสังคมไทยในการขับเคลื่อนกฎหมายดังกล่าวด้วย

(๓) มาตรา ๓๕ ถือเป็นนวัตกรรม แต่เมื่อพบปัญหาในทางปฏิบัติก็ควรมีการทบทวนศึกษาและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งนี้ ตามมาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ และมาตรา ๓๕ สิ่งสำคัญที่สุด คือ คนพิการมีงานทำ มีอาชีพอย่างมีศักดิ์ศรีและมีคุณค่า สามารถที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการทางเศรษฐกิจสังคมและการเมือง อย่างเท่าเทียมกับบุคคลอื่น โดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติ และเป็นหุ้นส่วนการพัฒนาของประเทศได้อย่างยั่งยืน ซึ่งข้อเสนอแนะในวันนี้จะได้รวบรวมเพื่อนำไปเป็นส่วนหนึ่งในการเสนอแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ และรวบรวมและจัดทำเป็นข้อเสนอแนะเสนอต่อรัฐบาลต่อไป แม้กฎหมายด้านคนพิการฉบับนี้ของประเทศไทยจะดีที่สุดในอาเซียน แต่ก็ยังมีความบกพร่องอยู่บ้าง เนื่องจากบริบทของสังคมไทย มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่คณะกรรมาธิการการสังคม เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาสสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โทร.๐ ๒๘๓๑ ๙๒๒๕-๖ โทรสาร๐ ๒๘๓๑ ๙๒๒๖

  • Tweet
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
18:28 น. 'ขจิตร'โวยลั่นสภา!! ถูกสวมรอยกดบัตรแทนช่วงโหวตตั้งกมธ.ศึกษาม.44
18:23 น. สรุปมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ประจำวันที่ 11 ธันวาคม 2562
18:19 น. พิธีปิดซีเกมส์ยิ่งใหญ่! ส่งไม้ต่อเวียดนามเจ้าภาพครั้งหน้า
18:18 น. งดใช้ ‘พลาสติก-กล่องโฟม’ ใน ‘อุทยานฯ ทุ่งแสลงหลวง’ ตั้งแต่ 1 ม.ค.63
18:16 น. คลิป เห็นแล้วเสียว! ลุงวัย64นุ่งผ้าขาวม้าผืนเดียวรับจ้างปีนต้นมะพร้าวมือเปล่า
ดูทั้งหมด
‘ดร.อาทิตย์’บอกถ้าปล่อยให้เลือกตั้งตามปกติ ฝ่าย‘ทักษิณ’หวนครองเมือง
เจ้าพ่อใบ้หวยมาแล้ว! พร้อมเลขเด็ดประจำงวดนี้ แนะระวังเลขดัง
หึ่ง'เฉลิมชัย'จ่อไขก๊อกวางมือการเมือง เครียดหนักรับมือจุดหักเห'ปชป.'ครั้งใหญ่
ยิปซี 12 นักษัตร พยากรณ์ ระหว่างวันที่ 8-14 ธันวาคม พ.ศ. 2562
สรุปเหรียญซีเกมส์ครั้งที่30 ไทยอยู่อันดับที่ 3มี91เหรียญทอง
ดูทั้งหมด
บทบาทของกองทัพ : อีกมุมมองหนึ่ง
การปกครองระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงเป็นอย่างไร
เมียกี้ร์โชว์รวยได้ แต่ต้องยึดให้ครบ 42.8 ล้าน ตามคำพิพากษา
ภูเขาไฟ
วัดความอึดสองขั้ว
ดูทั้งหมด

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

'ขจิตร'โวยลั่นสภา!! ถูกสวมรอยกดบัตรแทนช่วงโหวตตั้งกมธ.ศึกษาม.44

‘เต้น’ข้องใจ!‘วิษณุ’ยกที่ดินเขายายเที่ยง เทียบ‘ปารีณา’เล้าไก่

พิธีปิดซีเกมส์ยิ่งใหญ่! ส่งไม้ต่อเวียดนามเจ้าภาพครั้งหน้า

คลิป เห็นแล้วเสียว! ลุงวัย64นุ่งผ้าขาวม้าผืนเดียวรับจ้างปีนต้นมะพร้าวมือเปล่า

นทท.มีเฮ!!! 'เยอรมนี-สวิตเซอร์แลนด์'อนุญาตใช้ใบขับขี่ไทย ขับรถเที่ยวได้

เปิดมติเสียงข้างมาก กกต.'5ต่อ2'ชงศาลรธน.ยุบ'อนาคตใหม่'

  • Breaking News
18:28 น. 'ขจิตร'โวยลั่นสภา!! ถูกสวมรอยกดบัตรแทนช่วงโหวตตั้งกมธ.ศึกษาม.44
18:23 น. สรุปมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ประจำวันที่ 11 ธันวาคม 2562
18:19 น. พิธีปิดซีเกมส์ยิ่งใหญ่! ส่งไม้ต่อเวียดนามเจ้าภาพครั้งหน้า
18:18 น. งดใช้ ‘พลาสติก-กล่องโฟม’ ใน ‘อุทยานฯ ทุ่งแสลงหลวง’ ตั้งแต่ 1 ม.ค.63
18:16 น. คลิป เห็นแล้วเสียว! ลุงวัย64นุ่งผ้าขาวม้าผืนเดียวรับจ้างปีนต้นมะพร้าวมือเปล่า
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

มิชลิน เปิดเวทีเยาวชนประชันภาพวาด ‘สมาร์ทซิตี้’  ผลักดัน Gen Z สะท้อนไอเดีย ‘อนาคตเมืองอัจฉริยะของไทย’

มิชลิน เปิดเวทีเยาวชนประชันภาพวาด ‘สมาร์ทซิตี้’ ผลักดัน Gen Z สะท้อนไอเดีย ‘อนาคตเมืองอัจฉริยะของไทย’

7 ธ.ค. 2562

มหัศจรรย์ !!! เด็กเล่นอิสระความสุขพื้นฐานสู่การพัฒนาสมอง

มหัศจรรย์ !!! เด็กเล่นอิสระความสุขพื้นฐานสู่การพัฒนาสมอง

5 ต.ค. 2562

บราเดอร์ ร่วมปลูกชีวิต ฟื้นคืนพื้นที่ป่าชายเลน ต่อเนื่องเป็นปีที่ 11

บราเดอร์ ร่วมปลูกชีวิต ฟื้นคืนพื้นที่ป่าชายเลน ต่อเนื่องเป็นปีที่ 11

21 ก.ย. 2562

จิตอาสาในสถานสงเคราะห์เด็ก  ‘นางฟ้า’ เติมพลังมหัศจรรย์1,000 วัน

จิตอาสาในสถานสงเคราะห์เด็ก ‘นางฟ้า’ เติมพลังมหัศจรรย์1,000 วัน

7 ก.ย. 2562

การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

31 ส.ค. 2562

การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

24 ส.ค. 2562

การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

17 ส.ค. 2562

แนวทางการจัดบริการสำหรับคนพิการทางจิตสังคม  ตามหลักการของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ

แนวทางการจัดบริการสำหรับคนพิการทางจิตสังคม ตามหลักการของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ

10 ส.ค. 2562

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายประพันธ์ สุขทะใจ ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved