วันอังคาร ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
กระจายอำนาจทางการศึกษา ทางออกปัญหาคุณภาพเด็กไทย

กระจายอำนาจทางการศึกษา ทางออกปัญหาคุณภาพเด็กไทย

วันพุธ ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2561, 06.00 น.
Tag : การศึกษาเด็กไทย One Size Fits All คุณภาพทางการศึกษาเด็กไทย
  •  

“One Size Fits All” แปลเป็นไทยได้ว่า “เสื้อเหมาโหล”เป็นการนำรูปแบบการผลิตเสื้อผ้ามาเปรียบเทียบกับนโยบายการบริหารจัดการ นโยบายแบบเสื้อเหมาโหลเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายเพียงเขียนโครงการกับตั้งงบประมาณเท่านั้นแล้วก็จัดการ “ปูพรม” ส่งงบส่งปัจจัยต่างๆ ลงไปในทุกพื้นที่เหมือนๆ กัน ทว่าในความง่ายนี้เองระยะหลังๆ เสียงวิพากษ์วิจารณ์ก็ดังขึ้นเรื่อยๆ ว่านโยบายแบบนี้หลายครั้งไม่ต่างอะไรกับการ“ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ” เป็นการใช้ทรัพยากรที่สูญเปล่าไม่คุ้มค่าเมื่อเทียบกับผลที่ได้รับ

ทำให้มีการพูดถึงศัพท์ในวงการเสื้อผ้าอีกคำคือ“Tailor Made” หรือแปลว่า “เสื้อสั่งตัด” เป็นการออกแบบนโยบายให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่มหรือแม้แต่บุคคลแต่ละคน ดังที่ฮือฮากันมากกับกรณีของ ประเทศจีน ที่รัฐบาลส่งเจ้าหน้าที่ไปเก็บข้อมูลคนจนแบบทีละคนๆ จนมีฐานข้อมูลอย่างละเอียดถึง 80 ล้านครัวเรือน เพื่อนำไปออกแบบนโยบายที่สอดคล้องกับครัวเรือนหรือชุมชนดังกล่าว นโยบายแบบเสื้อสั่งตัดนี้แม้การดำเนินการจะยุ่งยากกว่า หรืออาจใช้งบประมาณมากกว่าแบบเสื้อเหมาโหล แต่ผลที่ได้มักจะคุ้มค่ากว่าเพราะทำตรงจุด


“การศึกษา” ก็เป็นเรื่องหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายปูพรมหรือเสื้อเหมาโหลเช่นกัน ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ ผู้อำนวยการศูนย์วิชาการและเครือข่ายวิชาการด้านเด็ก เยาวชนและครอบครัว คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ที่ผ่านมานโยบายด้านการศึกษาของไทย “ฟังเสียงจากข้างบนตลอด” โครงสร้างระบบและกฎหมายที่การออกแบบจากบนลงล่างเป็นการสกัดกั้นนวัตกรรมที่จะเกิดขึ้น และหากยังดำเนินไปแบบเดิมจะไม่เกิดประโยชน์อะไรกับประเทศ โดยสิ่งที่ต้องทำในการปฏิรูปการศึกษาของไทย คือ

1.โรงเรียนล่างสู่บน 80:20 ยกเลิกการจัดการศึกษาจากบนลงล่าง ให้โรงเรียนเป็นฐานร้อยละ 80 ผู้กำหนดนโยบายจากข้างบนร้อยละ 20 เนื่องจากโรงเรียนเป็นฐานคิดสามารถสร้างนวัตกรรมเชิงพื้นที่ได้เหมาะสมกับเด็ก 2.ยึดผู้เรียน ชีวิตเด็ก ความต้องการ ความสนใจ ทำให้เด็กเป็นวิถีพลเมืองที่ดีตื่นตัวแก้ปัญหาได้ คิดอย่างเป็นระบบมีเหตุผล ให้เด็กรักผูกพันกับท้องถิ่น โดยครูต้องมีกลอุบายให้เด็กมาเรียนรู้ด้วยกัน ลดช่องว่างระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่ทำให้คนสองวัยอยู่ด้วยกันได้เป็นการส่งต่อระหว่างคนรุ่นต่อรุ่นที่สำคัญมาก

3.กองทุนลดความเหลื่อมล้ำ จะเกิดประโยชน์กับเด็กยากจนด้อยโอกาส ประมาณ 3.17 ล้านคน ทำให้เด็กยากจนได้รับโอกาส หลุดพ้นจากวงจรโง่ จน เจ็บ 4.หลักสูตรเน้นสมรรถนะทักษะมากกว่าความรู้ ออกแบบสมรรถนะในเรื่องเนื้อหาให้น้อยลง และเพิ่มหลักสูตรภูมิสังคม 60:40 เน้นเด็กลงมือปฏิบัติ ซึ่งเหมาะสมกับยุคไทยแลนด์ 4.0 การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 และ 5.กลุ่มโรงเรียนแบบอำเภอจัดการตนเอง ให้อำนาจการตัดสินใจส่วนใหญ่อยู่ที่อำเภอ บริหารจัดการได้ด้วยตนเองเป็นเขตการศึกษาพิเศษ มีอิสระ อำนาจ เสรีภาพมากขึ้น

“จากการที่ลงทำงานกับพื้นที่ 3-4 ปี พบคนในพื้นที่ที่มีความคิดนอกกรอบมีความกล้าหาญทางการศึกษา ซึ่งสามารถค้นพบนวัตกรรมในการแก้ปัญหาได้ แต่การผลักดันนวัตกรรมไปสู่ระดับประเทศมันกลับทำได้ยากมาก” อาจารย์สมพงษ์ กล่าว

ตัวอย่างที่น่าสนใจ โรงเรียนบ้านคูเมือง (อ่อนอนุเคราะห์) อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ที่นี่พัฒนานักเรียนโดยจัดการศึกษาแบบองค์รวม (Holistic Education) มีส่วนร่วมจากองค์กรในชุมชน และพัฒนาระบบการวัดและประเมินผลทางการศึกษาตามสภาพจริง ซึ่งมีการจัดเสวนา “โครงการจัดการศึกษาที่เอาชีวิตเป็นตัวตั้ง สร้างสุขภาวะสู่ความยั่งยืน” ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ไปเมื่อเร็วๆ นี้

โกวิท บุญเฉลียว ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านคูเมือง (อ่อนอนุเคราะห์) เล่าว่า จุดเริ่มต้นคือความคิดที่ว่า “โรงเรียนเป็นองค์กรทางสังคมที่จำเป็นจะต้องมีการพัฒนาให้เกิดการเปลี่ยนแปลง” และไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงเฉพาะตัวผู้บริหารกับครูเท่านั้น ยังรวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหาร ครู นักเรียนและครอบครัว ด้วยโรงเรียนแตกต่างจากองค์กรบริการอื่นๆ ตรงที่เป้าหมายในการทำงานหรือผลผลิตของโรงเรียนคือการพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพตามจุดประสงค์ของหลักสูตร สะท้อนความคาดหวังของครอบครัวและสังคม

โดยครูคือกุญแจสำคัญเพราะเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการทำงานตามความต้องการของหลักสูตรและโรงเรียน รวมทั้งต้องปฏิบัติและเชื่อมโยงความคิดรวบยอดจากหลักสูตรเพื่อถ่ายทอดในการจัดการเรียนรู้ ดังนั้น “การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในโรงเรียนจึงต้องอาศัยพลังจากทุกภาคส่วนมาร่วมกัน ทั้งครอบครัว ชุมชนและสังคม” ซึ่งการจัดการศึกษาที่เอาชีวิตเป็นตัวตั้ง สร้างสุขภาวะสู่ความยั่งยืน เป็นจุดเริ่มต้นในการแก้ไขสารพัดปัญหาที่กระทบต่อความตั้งใจเรียนของเด็กและเยาวชน

“พ่อแม่หย่าร้าง ยาเสพติด ท้องในวัยเรียน การเปลี่ยนแปลงของสังคมยุคปัจจุบันซึ่งเกิดจากสื่อออนไลน์ ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลต่อนักเรียนทำให้เกิดปัญหาไม่สามารถเรียนในระบบได้ เชื่อว่าหลายโรงเรียนประสบปัญหาดังที่กล่าวมาจึงเกิดการรวมตัวกันขึ้นเพื่อคิดหาแนวทางการแก้ปัญหาเพื่อจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียนให้มากที่สุด การดำเนินโครงการใช้เวลา 1 ปี แก้ปัญหานักเรียนเป็นรายบุคคล ส่งผลให้เด็กมีความสุข มีทักษะในการใช้ชีวิตประจำวันได้ สิ่งที่เห็นเป็นที่ประจักษ์คือนักเรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข ครอบครัวก็เป็นสุขด้วย” ผอ.โกวิท ระบุ

เช่นเดียวกับ เพ็ญพรรณ จิตตะเสนีย์ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านเด็ก เยาวชนและครอบครัว สสส. กล่าวเพิ่มเติมว่า ทุกโครงการที่ลงมาที่โรงเรียนมีลักษณะเป็นโครงการ ซึ่งมาจากกระทรวง องค์กร หน่วยงานต่างๆ เพราะทุกคนมองว่าโรงเรียนคือฐานการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเยาวชนซึ่งแม้ไม่ผิดแต่ก็ไม่ยั่งยืน ต้องทำให้โรงเรียนที่มีศักยภาพอยู่แล้ว ได้มีโอกาสในการทำงานด้วยวิธีคิดของตนเองโดยมุ่งที่เป้าหมายเดียวกัน สสส. เองก็รณรงค์ร่วมกับโรงเรียนมาหลายเรื่องทั้งเหล้า บุหรี่ อาหาร ออกกำลังกาย อุบัติเหตุ ฯลฯ แต่ก็คิดแบบเป็นเรื่องๆ และได้ผลเพียงระยะสั้น

“หลักการของโรงเรียนสุขภาวะในระยะหลังจะไม่เป็นการทำงานเชิงประเด็นกับโรงเรียน แต่จะให้โรงเรียนใช้กระบวนการทั้งระบบในการพัฒนาโรงเรียน ทั้งการเรียนการสอน กิจกรรมนักเรียนและการออกแบบการพัฒนา โดยโครงการนี้ เป็นโมเดลการพัฒนาโรงเรียนโดยตัวโรงเรียนกับเครือข่าย ดังนั้น วิธีคิดของ สสส. ขณะนี้ จะพยายามไม่ทำให้เรื่องสุขภาพเป็นงานเชิงประเด็น แต่ต้องการให้โรงเรียนได้มีโอกาสจัดกระบวนการพัฒนาโรงเรียนเอง แต่วัดผลการเปลี่ยนแปลงที่ตัวเด็กและเยาวชน” เพ็ญพรรณ กล่าวทิ้งท้าย

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

(คลิป) FCส้มเดือดพลั่ก!! บุกสภาฯ รุมสาป‘สส.กฤษฎิ์’แถลงแยกทาง‘ปชน.’ซบ'กล้าธรรม'

(คลิป) เตือน!! ข่าวลือระวังเป็นข่าวจริง 'แดง-น้ำเงิน' ตีกัน ขู่! คว่ำร่างพรบ.งยประมาณ

‘ฮั้ว สว.’บาน! ‘ดีเอสไอ’เผยพบเครือข่ายขบวนการ‘อั้งยี่ฟอกเงิน’ 1,200 รายทั่วประเทศ

‘ดูเตอร์เต’อดีตผู้นำปินส์ชนะเลือกตั้งท้องถิ่น แม้ถูกคุมตัวตามหมายจับศาลโลก

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved