วันพฤหัสบดี ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
แพทย์แนะกำหนดค่ามาตรฐานไนโตรซามีนในปล้าร้า  เพื่อผู้บริโภคปลอดภัย ลดสารก่อมะเร็ง

แพทย์แนะกำหนดค่ามาตรฐานไนโตรซามีนในปล้าร้า เพื่อผู้บริโภคปลอดภัย ลดสารก่อมะเร็ง

วันพุธ ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2561, 13.55 น.
Tag : ค่ามาตรฐาน ไนโตรซามีนในปล้าร้า ผู้บริโภคปลอดภัย แพทย์ ลดสารก่อมะเร็ง
  •  

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็ง มข. แนะควรเพิ่มหน่วยงานด้านสาธารณสุขร่วมเป็นคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานปลาร้า เพื่อกำหนดค่ามาตรฐานสารก่อมะเร็ง “ไนโตรซามีน” ให้ปลอดภัยกับผู้บริโภค ลดมะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดีในภาคอีสาน

รศ.นพ.วัชรพงศ์ พุทธิสวัสดิ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดี อดีตผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเผยว่า จากการที่มีประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องการกําหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร : ปลาร้า ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 เพื่อส่งเสริมสินค้าเกษตรให้ได้คุณภาพ มาตรฐาน และปลอดภัย ซึ่งมีผลบังคับใช้หลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมานั้น ตนเห็นว่ายังไม่ครอบคลุมมาตรฐานด้านความปลอดภัยจึงควรมีการพิจารณาเรื่องนี้อีกครั้ง


รศ.นพ.วัชรพงศ์ กล่าวว่า ปลาร้าถือว่าเป็นการถนอมอาหารของคนไทย โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคอีสาน ซึ่งจากการออกประกาศของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในครั้งนี้นั้นมีข้อกำหนดเรื่อง สี กลิ่น กลิ่นรส และความสะอาดแล้ว จึงควรมีการเพิ่มเรื่องมาตรฐานของปลาร้าในส่วนของปริมาณ “สารไนโตรซามีน” ซึ่งเป็นสารที่พบใน ปลาร้า ปลาจ่อม จากงานวิจัยพบว่าสารไนโตรซามีนก่อให้เกิดโรคมะเร็งตับ มะเร็งหลอดอาหาร และมะเร็งกระเพาะอาหาร และหากมีพยาธิใบไม้ในตับในอาหารร่วมกับไนโตรซามีน ก็ยิ่งทำให้เกิดมะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดีมากยิ่งขึ้น โดยในพื้นที่ภาคอีสานมีการบริโภคปลาร้าแบบสุกๆ ดิบๆ มากกว่าภาคอื่นในประเทศไทยจึงมีจำนวนผู้ป่วยมากที่สุด

รศ.นพ.วัชรพงศ์ กล่าวว่า การกำหนดมาตรฐานปลาร้านั้น ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตรควรเพิ่มผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานด้านสาธารณสุขเข้าไปร่วมกำหนดมาตรฐานปลาร้าด้วย เพื่อกำหนดมาตรฐานด้านความปลอดภัยต่อสุขภาพ ไม่ใช่การกำหนดเรื่องลักษณะทางกายภาพ สี กลิ่น กลิ่นรส เท่านั้น

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

โบนัส500ล้าน!จอมพลิกล็อกรับทรัพย์เข้า8ทีมสโมสรโลก

เรือเฟอร์รีมุ่งหน้า'เกาะบาหลี'ล่ม ดับแล้ว 4 ราย สูญหายอีกเพียบ

‘ชัชชาติ’ เผยยอด Traffy Fondue เกือบล้านคือความไว้วางใจ ย้ำ! แก้ปัญหาให้ดี-ไม่ทุจริต

‘หญิงหน่อย’ครวญ! ทำคลอด ‘สส.ทสท.’ มาแท้ๆ สุดท้ายกลายเป็น ‘งู’ ขู่ก๊วนอ้างพรรคดีลแลก รมต. เจอแน่

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved